จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จับมือ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเดินหน้าจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าครอบครัว จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2564 และ ปี2566 รวม 18 แห่งในพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อเนื่องหวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวในครอบครัว ชุมชน สืบสานปณิธานพ่อ สานต่อเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการนำผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร อาหารพื้นท้องถิ่น มาต่อยอดทำการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก ในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทาง
(วันที่ 23 เมษายน 2566) นายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าด้วยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการส่งเสริมการยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมหลัก ป่าครอบครัว สืบสานปณิธานพ่อ สานต่อเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมย่อย ป่าครอบครัวสืบสานปณิธานพ่อ สานต่อเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีเป้าหมาย คือ เพิ่มพื้นที่สีเขียว จำนวน 112,000 ต้น จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าครอบครัว ตั้งแต่ปี 2564 และ 2566 รวม 18 แห่ง ใน 8 อำเภอ และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ป่าครอบครัว เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้ความรู้ชุมชนลดปริมาณขยะนำไปสู่ชุมชนไร้ถังขยะ การส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากชุมชน ในป่าครอบครัวและการต่อยอดไปยังการท่องเที่ยวของชุมชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 18 หมู่บ้านอาทิ บ้านหนองเหียง ต.หินเหล็กไฟ อ.หัวหิน,บ้านเขาราง ต.สามกระทาย อ.กุยบุรี บ้านเขาแดง ต.เขาแดง อ.กุยบุรี บ้านทุ่งพุฒิ ต.อ่าวทอง อ.ทับสะแก หมู่ 5 ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน และ บ้านหินปิด อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีการดำเนินการสำรวจและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าครอบครัว และมีการจัดกิจกรรมปลูกป่า และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนในป่าครอบครัวแต่ละแห่ง รวมทั้งให้ความรู้มาตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมาและในปี 2566 มีการดำเนินการต่อเนื่องอีก 12 แห่ง
นายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับ”ป่าครอบครัว” เป็นแนวคิดที่ครอบครัวนำพืชที่ชอบรับประทานหรือใช้ประโยชน์ พืชสมุนไพร หรือไม้ยืนต้นตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาปลูกในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่สวน ไร่ ปลูกแซมหรือปลูกเสริมก็ได้ โดยปลูกไม่เป็นแถวเป็นแนวลักษณะเรียบแบบธรรมชาติ มีการเพาะปลูกให้เหมาะสมตามลักษณะและข้อจำกัดของพืชแต่ละชนิด ซึ่งเมือระยะเวลาผ่านไป จะมีการพัฒนาการตามธรรมชาติในพื้นที่ปลูกไปสู่ระบบนิเวศอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น มีพรรณพืชใหม่ที่เกิดขึ้นอีกหลายชนิด จนกลายเป็นป่าครอบครัว ซึ่งจากระบบนิเวศสมบูรณ์ดังกล่าว จะทำให้แต่ละครอบครัวมีแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร และแหล่งไม้ใช้สอบที่สมบูรณ์อย่างเพียงพอ สร้างระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถนำผลิตผลที่เหลือจากการบริโภคของครอบครัวมาขายหรือนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: