X

ชาวบ้านเขาราง สามกระทาย กุยบุรี รวมกลุ่มสานหวายเทียมจำหน่ายสร้างรายได้เสริม

ชาวบ้านเขาราง ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี ใช้เวลาว่างจากการทำสวน รวมกันตั้งกลุ่มเกษตรกรแม่บ้านเขาราง ทำผลิตภัณฑ์จักรสานจากหวายเทียม จำหน่ายเป็นรายได้เสริม ล่าสุกเตรียมต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ไม้กวาดทางมะพร้าว และต้นธูปฤาษี ด้านผู้ใหญ่บ้านเขาราง มุ่งหวังให้”บ้านเขาราง”เป็นที่รู้จักเป็นทั้งท่องเที่ยวชุมชน เรียนรู้เรื่อป่าครอบครัว ผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารท้องถิ่น และวิถีเกษตรพอเพียง

(วันที่ 3 พฤษภาคม 2566) นางอุไร(ป้าแป้ว) ถือแก้ว  อายุ 62 ปี) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านเขาราง ต.สามกระทาย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์  กล่าวว่าใช้เวลาว่างจากการทำสวนเกษตร รวมตัวตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จักรสานจากหวายเทียมจำหน่ายสร้างรายได้เสริมตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2565 ที่ผ่านมา   ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการศึกษานอกโรงเรียน ที่เข้ามาเป็นวิทยากรสอนให้ชาวบ้านได้เรียนรู้การจักรสาน และการออกแบบลวดลาย โดยใช้บ้านของตนเองมาเป็นสถานที่สานกันใครว่างเว้นจากการทำสวนก็มาทำ  หรือจะทำที่บ้านก็ไม่เป็นไร โดยที่บ้านก็จะเป็นศูนย์เรียนรู้ฯคือเรียกง่ายๆบางทีมีหน่วยงานต่างๆพาคนมาดูงานจักรสาน ก็ใช้ที่นี่    หลังจากตั้งกลุ่มฯมา ออกงานแรกนำผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มทำขึ้นมาโชว์และวางจำหน่ายของงาน สภากาแฟของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จัดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกร  ซึ่งก็ทำให้เป็นที่รู้จักของส่วนราชการต่างๆ ถือเป็นการก้าวครั้งแรกที่ได้ออกจากหมู่บ้านไปภายนอก และต่อมาก็ยังมีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียมไปออกงานที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ในเวลาต่อมาทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก็เชิญให้ทางกลุ่มนำผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายที่อำเภอปราณบุรี  และต่อมาได้ไปออกงานจำหน่ายที่งานวัดหลวงพ่อในกุฏ อ.กุยบุรี  ซึ่งงานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จถึง 90% เพราะผลิตภัณฑ์จากหวานเทียม ที่กลุ่มเราทำไปจำหน่ายได้เกือบหมด  ซึ่งทางกลุ่มยังได้โอกาสที่หน่วยงานที่เห็นความสำคัญเชิญให้เข้าร่วมอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์หวายเทียม ต่อเนื่องจนกระทั่งตนเองได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรเกี่ยวกับการจักสานหวายเทียมสอบให้กลุ่มผู้สูงอายุในเวลาต่อมาอีกด้วย โดยรายได้ที่ได้เข้ามาก็นำมาไว้ใช้ในกิจกรรมของกลุ่มทั้งจัดซื้อวัตถุดิบ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆของกลุ่ม ซึ่งก็สร้างความแข็งแรงให้กับกลุ่มมมากเพิ่มขึ้น และเริ่มเป็นที่รู้จักของหน่วยงานต่างๆ

นางอุไร(ป้าแป๊ว) ถือแก้ว  ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านเขาราง กล่าวว่าเริ่มต้นทางกลุ่มเรามีการรวบรวมเงินกันเองจากสมาชิก 1 5 ครอบครัว เพื่อไว้ใช้ภายในกลุ่มได้ 4000-5000 บาท ตอนนี้เรามีทุนเพิ่มกว่า 1 หมื่นบาทจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มาถึงวันนี้เรายังไม่มีการปันผลให้กับสมาชิกในกลุ่มกันแต่อย่างใด ซึ่งตนเองที่ก้าวมาถึงตอนนี้และสามารถทำผลิตภัณฑ์งานฝีมือออกสู่สายตาภายนอกได้ ซึ่งยอมรับรู้สึกภูมิใจกับกลุ่มเกษตรกรบ้านเขาราง ที่เรารวมตัวกันเป็นอย่างมาก

โดยผลิตภัณฑ์จักรสานตะกร้าหวายเทียมของกลุ่มที่ทำขึ้นมาทั้งขนาด เล็ก กลาง และใหญ่ และที่ใส่แก้วน้ำ ราคาเฉลี่ยนของแต่ขนาดตั้งแต่ 200-800 บาท ซึ่งขณะนี้เริ่มมีออเดอร์สั่งผลิตภัณฑ์เข้ามา  โดยต่อไปทางกลุ่มมีเป้าหมายที่จะต่อยอดจากพืชเกษตรในท้องถิ่นป่าครอบครัว ที่มีอยู่อย่างเช่นทางมะพร้าว และธูปฤาษี  จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของบ้านเขารางต่อไป ซึ่งผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ป้าแป้ว 063 8541550

นางสาว เนตรชนก พิมลมิตร  สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านเขาราง กล่าวว่าตนเองที่มาเข้าร่วมกลุ่มฯก็เพราะต้องการใช้เวลาลาว่างให้เป็นประโยชน์ เข้ามาร่วมกลุ่มประมาณ 6 เดือนแล้ว  โดยตนเองได้รับการเรียนรู้จากสมาชิกในกลุ่มที่สอนให้ จากที่เราเองไม่เป็นอะไรเลยเมื่อก่อนเริ่มต้น 1 สัปดาห์สานตะกร้าได้1 ใบ เดี่ยวนี้วันละ 7 ใบทำได้  ขณะนี้สามารถสานตะกร้าได้แล้ว  และนำผลิตภัณฑ์จากฝีมือตนเองจำหน่ายได้ไปแล้ว 6 ใบในราคาใบละ 600 บาท ทำให้รู้สึกภูมิใจที่เราเองใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สิ่งสำคัญการรวมกลุ่มทำได้มิตรภาพ ได้เรียนรู้ ได้แบ่งปัน และมีรายได้เสริมให้กับเราด้วยถึงแม้จะไม่มากก็ตาม

ด้านนายมนตรี บูรณนัช ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้านเขาราง ต.สามกระทาย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์  กล่าวว่าปัจจุบันนี้การเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆที่มีอยู่ในหมู่บ้านเป็นสิ่งที่ดีเกิดประโยชน์กับชาวบ้านในชุมชน ที่นี่มีศูนย์เรียนรู้ป่าครอบครัว ด้านเกษตรพอเพียงและแปรรูปผลผลิตจากป่าชุมชน ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2564 อยู่แล้วซึ่งในแต่ละครอบครัวทำการเกษตรปลูกไม้ต่างๆมีสวน มีไร่อยู่แล้ว ตลอดจนพืชผัก สมุนไพร มีสวนมะพร้าว  ตาล ทำนา  ทำสวนเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง มีอาหารพื้นถิ่น รวมทั้งกลุ่มแม่เกษตรกรบ้านเขาราง  ก็ตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาสร้างรายได้สู่ครัวเรือน ซึ่งเราก็สามรถนำศูนย์เรียนรูป่าครอบครัว กลุ่มเกษตรกรแม่บ้าน ศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เหล่านี้มาเชื่อมโยงเปิดหมู่บ้านเขารางให้เป็นที่รู้จัก เข้ามาเที่ยวชมได้ เรียกว่าเป็นการส่งเสริมท่องเที่ยวเกษตรชุมชน อาหาร และผลิตภัณฑ์ ชาวบ้านก็จะมีรายได้เสริมอีกทาง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน