สาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปรับแผนเดินหน้าควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสซิกา ในอำเภอหัวหิน หลังพบผู้ป่วยแล้ว 10 ราย
(วันที่ 14 ธันวาคม 2566) ที่ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายแพทย์วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานเปิดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดมี นายเจนวิท ผลิศักดิ์ สาธารณสุขอำเภอหัวหิน ,นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน เจ้าหน้าที่จาก ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 5.3 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ,งานควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลหัวหิน ,กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองหัวหิน ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9 แห่ง, อสม. และประธานชุมชนในพื้นที่เกิดโรคระบาด เข้าร่วม
ข่าวน่าสนใจ:
- เอเย่นต์ยาบ้าร้องไห้โฮ หลังชุด ฉก.ปกครองบุกจับ ตรวจพบของกลางกลับโทษภรรยา ไม่ยอมซุกซ่อนยาเสพติดให้ดี จ.สระแก้ว
- พิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- เจ้าหน้าที่ตำรวจ-สาธารณสุขและฝ่ายปกครอง บุกพบหนุ่มป่วน.
- สงขลา M79 ถล่มเเคมป์คนงานสร้างเจ้าแม่กวนอิม บาดเจ็บ 3 ราย พื้นที่ อ.เทพา
นายแพทย์วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ปี 2566 มีรายงานพบติดเชื้อไวรัสซิกาในหลายจังหวัด กรณีตรวจพบเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์อาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ซึ่งสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกทางสายสะดือ ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะเสี่ยงศีรษะเล็กตั้งแต่แรกเกิด มีผลต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญาในระยะยาว
โดยในส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีรายงานพบผู้ป่วยรายแรกตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม จนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยแล้ว 10 รายกระจายอยู่ใน 3 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลหัวหิน 7 ราย,ตำบลหนองแก 2 ราย และตำบลหินเหล็กไฟ 1 ราย ในจำนวนนี้เป็นหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย ขณะนี้สถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสซิกายังถือว่าควบคุมได้ ตัวโรคไม่มีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิต แต่ต้องเร่งปรับมาตรการการควบคุมโรคให้ครอบคลุมในทุกด้านโดยเร็ว ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนในการเฝ้าระวังไม่ให้ยุงกัด และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวอีกว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ติดต่อโดยยุงลายเป็นพาหะนำโรค ชนิดเดียวกับ โรคไข้เลือดออก และ ชิคุนกุนยา สิ่งสำคัญต้องควบคุมพาหะนำโรคให้ได้ ซึ่งวันนี้ได้วางมาตรการออกเป็น 3 ด้าน คือ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ,ในพื้นที่ชุมชนที่พบผู้ติดเชื้อจะต้องพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงตัวแก่ในรัศมี 500 เมตร – 1 กิโลเมตร และในส่วนของประชาชนทั่วไปจะต้องระวังไม่ให้ยุงกัด ป้องกันตนเอง หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดใน 3 มาตรการนี้ได้ จะควบคมสถานการณ์ได้และตัดวงจรการแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น และจะสามารถควบคุมได้ 3 โรค คือ ไข้ซิก้า,ไข้เลือดออก และไข้ซิคุนกุนยาด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: