X

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี พร้อมทีมสัตวแพทย์ เร่งช่วยช้างป่าบาดเจ็บ

จากกรณีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2567 นายอรรถพงษ์ เภาอ่อน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ปรากฏพบความผิดปกติของช้างป่า เพศผู้ 1 ตัว น้ำหนักประมาณ 3,000 กิโลกรัม อายุประมาณ 25-30 ปี ซึ่งช้างป่ามีอาการบวมและอักเสบอย่างรุนแรง บริเวณโคนหางและอวัยวะเพศ และพบดวงตาด้านซ้าย มีลักษณะเป็นฝาขาว ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ดำเนินการดูแลช้างป่าอย่างใกล้ชิด ติดตามอาการ ให้ยาแก้ปวด ยาอักเสบ โดยใส่กล้วยน้ำว้า และขนุน โดยให้การดูแล บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ท้องที่ หมู่ที่ 9 บ้านย่านซื่อ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


วันนี้ (9 มกราคม 2567) สัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี และสัตวแพทย์ กลุ่มงานสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ดำเนินการประชุมวางแผนการรักษา ช้างป่าตัวดังกล่าวในช่วงเช้า ของวันที่ 9 มกราคม 2566 แต่เนื่องด้วยเช้าวันนี้ ช้างป่าตัวดังกล่าวได้เดินออกนอกนอกพื้นที่ เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันตามหา และผลักดันกลับมายังสถานที่ที่เตรียมไว้เพื่อการรักษา จนกระทั่ง เวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่ได้ผลักดันกลับมาจนสำเร็จ ทีมสัตวแพทย์จึงได้ยิงยาซึมเพื่อทำการรักษา ต่อไป


การรักษาช้างบาดเจ็บอุทยานแห่งชาติกุยบุรี วันที่ 9 มกราคม 2557 เป็นช้างป่าเพศผู้ อายุประมาณ 20 ปี โดยมีบาดแผลที่คงห่างและบริเวณอวัยวะเพศมีลักษณะเป็นแผลเปิดมีหนองไหลออกมาและมีกลิ่นเหม็น จึงได้เริ่มยิงยาซึมเวลา 17.04 นช้างเดินออกจากจุดที่ยิงยาประมาณ 200 เมตรและหยุดนิ่งเวลา 17:38 น เข้าเช็คเพื่อดูว่าสามารถจะเริ่มปฏิบัติงานได้ไหมเมื่อเข้าเช็คแล้วพบว่าสามารถเข้าปฏิบัติงานได้จึงเริ่มเข้าเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อเช็คสุขภาพที่ใบหูให้น้ำเกลือและยาปฏิชีวนะเข้าทางเส้นเลือดที่ใบหูรวมถึงให้กรดอะมิโนแอสิดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ช้างป่าที่บาดเจ็บหลังจากนั้นฉีดยาปฏิชีวนะ ยาลดปวดและวิตามินพร้อมกันกับทำแผลโดยทำการล้างบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและน้ำเกลือล้างแผลหลังจากที่รอให้ยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดจนหมดจึงได้ทำการให้ยาแก้เวลา 18.53 นและหลังจากที่ให้ยาแก้ 2 นาทีช้างสามารถกลับตัวและขยับตัวได้ ขณะนี้ได้ใช้โดรนบินแบยเทอร์มอลเพื่อติดตามอาการช้างป่าอย่างใกล้ชิด และหลังจากนี้จะมีการให้ยาปฏิชีวนะและยาลดอักเสบแบบกินอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยจนถึงระยะเวลา 14 วันและดูบาดแผลร่วมกับประเมินอาการสัตว์อีกครั้งหนึ่ง

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน