เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ จับกุมขบวนการลักลอบตัดหินพระธาตุในถ้ำมังกร 6 คน หลบหนีอีก 2 คน พร้อมของกลางอุปกรณ์หลายรายการ ผู้ก่อเหตุรับนำไปแกะสลักทำเครื่องประดับ ของที่ระลึก และพระพุทธรูปขาย 1 ใน 6 คนอ้างว่าเป็นนักข่าวของสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง ให้การว่าเดินขึ้นไปเที่ยวเท่านั้น เจ้าหน้าที่ไม่ปักใจเชื่อเพราะไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว การเดินขึ้นลงเจ้าหน้าที่ยังต้องใช้เวลา5-6 ชม.
( เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2567) นายพงศธร พร้อมขุนทด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายสุพิน สำแดงเดช หัวหน้าชุดลาดตระเวน อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ระหว่างลาดตระเวนกับเจ้าหน้าที่อีก 5 นายอยู่บนเทือกเขาสามร้อยยอด อยู่นั้นพบว่ามีกลุ่มคนขึ้นไปลักลอบตัดหินพระธาตุ บนเทือกเขาสามร้อยยอดบริเวณถ้ำมังกร ท้องที่หมู่ที่ 5 บ้านเกาะไผ่ ต.ไร่ใหม่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ จึงรายงานให้รับทราบ กระทั่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด แจ้งของกำลังเสริมจากเจ้าหน้าที่สวยตรวจป้องกันและปราบปราม สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี และตำรวจ ปทส. เพื่อให้มาช่วยสนับสนุนเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนซึ่งมีอยู่เพียง 6 นายเท่านั้น
จนเวลาต่อมามาเจ้าหน้าที่ฯ ซึ่งเดินทางมาถึงส่วนหนึ่งควบคุมพื้นที่ด้านล่างบริเวณสำนักสงฆ์เกาะไผ่เพราะเป็นห่วงความปลอดภัยและเกรงว่าจะมีมวลชนเข้ามา และสั่งการให้ชุดลาดตระเวนด้านบนแบ่งกำลังออกเป็น 2 ชุด ๆละ 3 นาย เข้าจับกุมผู้ลักลอบตัดหินในถ้ำมังกร ได้จำนวน 6 คน ส่วนอีก 2 คน หลบหนีอยู่ภายในถ้ำตลอดจนตรวจยึดของกลางและผู้กระทำความผิด
โดยระหว่างที่นายสุพิน สำแดงเดช หัวหน้าชุดลาดตระเวน ได้เข้าจับกุมแต่กลุ่มผู้กระทำความผิดนอนหมอบลงกับพื้นแต่ทางผู้กระทำความผิดไม่ยอม บางส่วนพยามใช้ก้อนหินกว้างปาเข้าใส่เจ้าหน้าที่ จึงตัดสินใจใช้อาวุธปืนสั้นยิงขึ้นฟ้าหลายนัด กระทั่งยอมให้จับกุม 6 คน ส่วนอีก 2 คนหลบหนีอยู่ภายในถ้ำมังกร เนื่องจากใกล้เวลามืดค่ำเกรงจะเกิดความไม่ปลอดภัยกับเจ้าหน้าที่ จึงต้องควบคุมตัวลงมา 6 คน พร้อมของกลางที่ใช้ในการตัดหิน ตลอดจนเสบียงต่างๆจำนวนมาก โดยใช้เวลาเดินลงมานาน 3 ชั่วโมงเต็ม แต่ไม่สามารถแบกหินลงมาได้ในวันนี้เนื่องจากมืดค่ำก่อนและน้ำหนักหินแต่ละก้อน20-30ก็มี ที่ถูกตัดไว้มีทั้งที่เป็นสี่เหลี่ยมมีน้ำหนักมากเกือบ 10 แท่ง โดยนำผู้ต้องหาทั้งหมดมาทำการสอบปากคำเบื้องต้น ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด โดยมีการแยกกันให้เจ้าหน้าที่อุทยาน ตำรวจ ปทส.ร่วมกันสอบปากคำ
นายพงศธร พร้อมขุนทด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กล่าวว่าทางเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนระหว่างการเข้าจับกุมนั้นได้มีการบันทึกภาพถ่ายและภาพวีดีโอ เป็นหลักฐานไว้แล้ว ส่วนหินของกลางคงต้องขึ้นไปเอาในช่วงกลางวันต่อไป ส่วนการสอบปากคำเบื้องต้นนั้น 5 คนที่ถูกจับได้เป็นชาวบ้านเกาะไผ่ ต.ไร่ใหม่ อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยบอกว่าเป็นการขึ้นไปครั้งแรกเพื่อนำเอาเศษหินมาแกะเป็นของที่ระลึก เครื่องประดับและพระพุทธรูปขนาดเล็กเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อเพราะจับได้ขณะที่บางคนใช้เครื่องตัดหญ้า เปลี่ยนใบตัดหิน ซึ่งครั้งนี้เชื่อว่าคนกลุ่มนี้รู้จักเส้นขึ้นไปยังถ้ำมังกร ซึ่งเป็นบ่อหินที่มักมีการลักลอบขึ้นไปตัดเนื่องจากมีชั้นหินสีสวยงาม และมีออเดอร์เข้ามาเป็นที่ต้องการของผู้ที่ชื่นชอบหินพระธาตุ ส่วนอีก 1 ราย บอกว่าไม่เกี่ยวข้องและให้การว่ามาทำบุญที่สำนักสงฆ์และเดินขึ้นไปเที่ยวด้านบน พร้อมบอกว่าตนเองเป็นนักข่าว พร้อมส่งบัตรนักข่าวให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดดู แต่ไม่ปักใจเชื่อเนื่องจากบนเทือกเขาสามร้อยยอด บริเวณด้านบนไม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปแต่อย่างใด เพราะบุคคลอื่นไม่สามารถขึ้นไปได้อยู่แล้วหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
โดยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กล่าวว่าการเดินขึ้น-ลงหากเป็นเจ้าหน้าที่ใช้เวลาขึ้นลงอย่างน้อย 5 ชม. เนื่องจากเป็นเทือกเขาสูงมีความชันแต่หากเป็นบุคคลที่ไม่เคยขึ้นจะต้องใช้เวลาขึ้นลงนานมากและหากไม่รู้เส้นทางก็จะต้องหลงทาง แต่พวกที่ลักลอบขึ้นไปตัดหินพวกนี้จะรู้เส้นทาง มีคนคอยดูต้นทางทั้งด้านล่างและด้านบน ว่ามีเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนหรือไม่ อย่างไรก็ตามเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน สภ.สามร้อยยอด ต่อไปที่จะสอบบุคคลเหล่านี้เพิ่มเติม รวมถึงส่วนที่หลบหนีไปเป็นใครบ้างอีก 2 คน โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ทางเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนก็จับได้ 7 คนหลบหนีไปได้ 2 คนที่บริเวณถ้ำมังกรแห่งนี้เช่นกัน
หัวหน้าอุทยานได้แจ้งข้อหาการกรำความผิด ทั้ง 6 ราย ตามความผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ปี 2562 ตามมาตรา 19 (1)(2)(6) มาตรา 41 ทาตรา 42 และมาตรา 44 ซึ่งมีบทลงโทษค่อนข้างหนัก โดยมีความผิดทั้งเก็บนำพาหรือแผ้วถาง ซึ่งครั้งนี้ได้อุปกรณ์ในการทำความผิดจำนวนหลายรายการทั้งเครื่องเลื่อย เครื่องตัด มีดเหน็บด้ามยาว และอุปกรณ์อีกหลายรายการรวมทั้งหินของกลาง มีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปีถึง 20 ปี หรือทั้งจำและปรับตั้งแต่ 4 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท รวมทั้งบทลงโทษในการเข้ามาในอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยหลังทำบันทึกและทำบัญชีของกลางและแจ้งขอหาความผิดแล้ว ได้นำส่งผู้ต้องหาทั้ง 6 คนให้พนักงานสอบสวน สภ.สามร้อยยอด ดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: