X

นักวิชาการ ทช.เก็บข้อมูล “ตะลึงชาวประมงเขาเต่าโชว์ภาพฉลามหัวบาตรตัวใหญ่”ติดอวน

นักวิชาการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการพบฉลามจากชาวประมงอำเภอชะอำ หัวหิน และปราณบุรี เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการศึกษาวิจัยฉลาม ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงาน ร่วมเป็นคณะทำงาน เบื้องต้นชาวประมงระบุตรงกันว่าระยะ 10 ปี พบฉลามหัวบาตรว่ายเข้ามาหากิน และเริ่มมีจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะที่บริเวณหาดเขาเต่า เตรียมเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากภาคประชาชน เรื่องการวางทุ่นตาข่าย

                       24 เมษายน 25614  นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผอ.สำงานบริหารพื้นที่จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 เพชรบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร ) และเจ้าหน้าที่ในสังกัด ลงพื้นที่พบชาวประมงพื้นบ้าน ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเก็บข้อมูลการพบเห็นฉลามจากชาวประมง เพื่อนำข้อมูลจากชาวประมง ไปรวบรวมข้อมูลการสำรวจฉลามของ นักวิชาการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร )  นำเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาวิจัยฉลาม ซึ่งมี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธาน และมีนายโสภณ ทองดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)หัวหน้าคณะ พร้อมด้วย ผู้ทรงวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านฉลาม  และนักวิชาการจากหลายหน่วยงานร่วมเป็นคณะทำงาน โดยการเก็บข้อมูลครั้งนี้ นักวิชาการได้ได้นำแผนที่ รูปถ่ายฉลาม และแบบสอบถาม ไปสอบถามข้อมูลจากชาวประมงใน 3 อำเภอ

                  ทั้งนี้นายปราโมทย์ สุวรรณชาติ ประธานกลุ่มประมงเรือเล็กบ้านเขาเต่า ตลอดจนชาวประมงพื้นบ้านหาดเขาเต่า ระบุตรงกันว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี พบเห็นฉลามว่ายหากินในท้องทะเลแห่งนี้ ห่างจากฝั่งไม่เกิน 5 กิโลเมตร โดยฉลามที่พบยืนยันได้ว่าเป็นฉลามหัวบาตร และฉลามครีบดำ แต่ในระยะ 5 ปีหลัง พบเห็นฉลามหัวบาตรมาว่ายหากินปลาเล็ก โดยเฉพาะปลากระบอกบริเวณชายฝั่งตั้งแต่หาดหน้าวัดเขาเต่า วัดถ้ำเขาเต่า หาดทรายน้อย และหาดทรายใหญ่มากขึ้น  เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตพระราชฐานห้ามทำการประมง ทำให้มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งสภาพพื้นที่มีทั้งโขดหินใต้น้ำและแนวโขดหินรอยต่อกับหาดทรายน้อย    ถือว่าบริเวณพื้นที่หาดทรายใหญ่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยฉลามหัวบาตรที่พบจะมีความยาว 1-2.5 เมตร

นอกจากนั้นยังได้นำภาพที่ฉลามหัวบาตรติดอวนปลากระเบนขึ้นมาโชว์ให้เจ้าหน้าที่กรม ทช. ที่ลงพื้นที่มาพบปะทำการเก็บข้อมูล รวมทั้งสื่อมวลชน ซึ่งเป็นมื่อปี 2560    ที่ผ่านมายอมรับว่ามีฉลามว่ายเข้ามาติดอวนปลากระเบน น้ำหนักประมาณ 40-50 กิโลกรัมจำนวน 2 ตัว    ได้สร้างความตะลึงให้กับเจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก

                             โดยชาวประมงพื้นบ้านในแถบนี้และฉลามหัวบาตร อยู่ร่วมกันมาโดยตลอด เมื่อพบเห็นฉลามหัวบาตรมันจะว่ายหนีเรือ ไม่เข้ามาทำร้ายคนแต่อย่างไรก็ตามการจุดวางทุ่นและวางตาข่ายที่บริเวณหาดทรายน้อยก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ก๋เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว  ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าฉลามหัวบาตร ที่อาศัยว่ายหากินอยู่แถบนี้น่าจะมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีการผสมพันธุ์และออกลูกรวมทั้งพื้นที่ก็มีความสมบูรณ์ ดังนั้นเห็นว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)  คงต้องมีการศึกษาและวิจัยฉลามในพื้นที่แถบนี้ต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลและสถานะของประขากรฝูงฉลามหัวบาตร เหมือนกับที่มีการสำรวจฉลามวาฬ และมีการตั้งชื่อ

                              นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผอ.สำงานบริหารพื้นที่จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 เพชรบุรี กล่าวว่า วันนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลการพบเห็นฉลามใน 3 พื้นที่  โดยในส่วนของชาวประมงพื้นที่ชายฝั่งทะเลเขาเต่า  ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจ เรื่องการจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากภาคประชาชนในพื้นที่ เรื่องการวางทุ่นตาข่ายป้องกันลามในวันที่ 25 เมษายน 2561 ที่โรงเรียนเทศบาลบ้านเขาเต่า  ในช่วงเย็น และจะมีการการวางทุ่นไข่ปลาทดลองหาดทรายน้อย เพื่อเป็นแนวจำลองเป็นตัวอย่างก่อนการติดตั้งทุ่นตาข่าย ประชาชนสามารถไปดูตัวอย่างได้ และหากมีข้อสงสัย ข้อชี้แนะก็สามารถนำมาเสนอได้เช่นกัน

สำหรับทุ่นตาข่ายที่จะนำมาติดตั้งที่หาดทรายน้อย ผลิตจากวัสดุโพลีเอสเตอร์ สีดำ ซึ่งมีความแข็งแรง เป็นเส้นใยกระด้าง ซึ่งจะไม่ติดตัวปลา เมื่อปลามาสัมผัสตาข่ายจะไม่ติดตาข่าย  โดยขนาดของตาข่ายจะมีขนาดกว้าง 2.5 นิ้ว ซึ่งปลาเล็กสามารถว่ายลอดผ่านได้  สำหรับตาข่ายลักษณะเช่นนี้เคยติดตั้งที่หาดละไม เกาะสมุย ซึ่งมีการการดำน้ำสำรวจบำรุงตาข่าย ก็ไม่พบปลาติดตาข่าย และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหาดทรายน้อย

                                 ในส่วนของการติดตั้งตาข่าย  จะติดตั้งขนานแนวชายหาดทรายน้อย และตั้งฉากขนานออกไปประมาณ 50 เมตร ที่ความลึกประมาณ 3 เมตร บริเวณโขดหินจะเว้นไว้ระยะไว้เพื่อเป็นแหล่งหากินของสัตว์น้ำ และติดป้ายห้ามเล่นน้ำโดยเด็ดขาด โดยความลึกของตาข่ายอาจจะสูง ประมาณ 5 เมตร เผื่อระดับน้ำขึ้นน้ำลง  สามารถกันได้ทั้งปลาฉลาม และแมงกระพรุน และจะมีการบำรุงรักษาเป็นระยะ โดยในส่วนของช่วงมรสุมอาจจะต้องเก็บตาข่ายขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูกพายุซัดตาข่ายขึ้นมาเสียหาย และจะต้องติดตั้งป้านประกาศเตือนห้ามเล่นน้ำ ทั้งหาดเขาเต่า และหาดทรายน้อย เป็นต้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน