(วิมล ทับคง รายงาน) นายอำเภอหัวหิน เรียกประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่า ระดมสมองกำหนดแผนแม่บทเสนอผู้ว่าฯประจวบคีรีขันธ์ ภายใน 3 สัปดาห์ และเตรียมจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากช้างป่า แก้ปัญหาเบิกจ่ายงบประมาณของทางราชการล่าช้า พร้อมแจ้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประสานกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดพิจารณาการเคลื่อนย้ายช้างเกเรไอ้ด้วน หรือพลายบุญมี ออกจากพื้นที่ไปอยู่ที่ห้วยคมกริช เนื่องจากชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนัก ขณะที่ คกก.แก้ไขปัญหาช้างป่า แนะยึดหลักพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 แก้ไขปัญหาคนกับช้าง
( กันยายน 2562)ที่ห้องประชุม อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอหัวหิน เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่า ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ โดยมี นางสุนันทา พิมพ์ไทย นายก อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่,นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน,นางสาวพรเพ็ญ สบเหมาะ ผอ.ศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าละอู หนองพลับ ตามพระราชดำริ , นางสาวรัตติญา งามระบำ เกษตรอำเภอหัวหิน, นายกิตติชัย ศรีทองช่วย ปลัดอำเภอหัวหิน ,พันตำรวจโทสุวิทย์ มณีวงษ์ ผู้บังคับกองร้อยหน่วยเฉพาะกิจ กองกำกับการ 1 ตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวร ,ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 145 กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่,,เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เพชรบุรี ,สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทยไทย .ทหารชุดเฉพาะกิจจงอางศึก, เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ,ชาวบ้านในพื้นที่และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุม
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- นนทบุรี กระบะเลี้ยวตัดหน้า จยย.พุ่งชน ร่างหนุ่มชาวลาวลอยก่อนตกกระแทกพื้นดับ
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
- จัดกิจกรรม โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน พื้นที่ อ.คลองหาด
การประชุมคณะกรรมการฯในครั้งนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันเสนอแนะแนวทางต่างๆมีการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอเหตุผลขึ้นมาประกอบ โดยเฉพาะประเด็นการสร้างแนวรั้วกันช้างกึ่งถาวรซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ช้างป่าเกิดอาการเครียดและมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป รวมทั้งกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาช้างป่าที่ออกมาบุกรุกทำลายพืชสวน ผลผลิตของเกษตรกร และทำลายอาคารบ้านเรือนจนได้รับความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะเกิดบ่อยขึ้น และความเสียหายของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา มาตรการต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งการสร้างแนวรั้วกันช้าง การจัดชุดเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า และการเยียวยาชาวบ้านผู้ประสบภัยยังเป็นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วนที่ชาวบ้านต้องการให้ดำเนินการโดยเร็วคือ การเคลื่อนย้ายช้างป่าตัวเกเร สร้างความเดือดร้อนออกจากหมู่บ้านไปอยู่ในป่าลึกห่างไกลชุมชน เพื่อลดแรงกดดันระหว่างคนกับช้าง
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอข้อมูล และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นระว่างคนกับช้าง พบว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านเกิดปัญหาช้างป่าเข้ามาบุกรุกทำลายทรัพย์สินและพืชสวนของเกษตรกรจำนวน 14 ราย ทาง อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ ได้จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือชาวบ้านไปแล้วจำนวน 8 ราย อยู่ระหว่างรอรับการช่วยเหลือเยียวยา 6 ราย เนื่องจากติดปัญหางบประมาณหมด ซึ่งล่าสุดนายอำเภอหัวหิน จะเสนอทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อขออนุมัติงบประมาณกรณีเกิดภัยพิบัติ เพื่อนำมาเบิกจ่ายช่วยเหลือชาวบ้าน ในส่วนของการจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังและผลักดันช้าง ขณะนี้ได้มีการปรับแผน จัดชุดเฝ้าระวังบริเวณซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้าน ตลอดทั้งคืน
ซึ่งในที่ประชุมได้มีการเสนอปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายช้างเกเรออกจากหมู่บ้านไปอยู่ในผืนป่าแห่งใหม่ ปัญหาแนวรั้วกันช้างกึ่งถาวร ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ และบางจุดเสียหายจากช้างป่าดันรั้ว อยากให้มีการวางแนวทางสร้างรั้วธรรมชาติ และรั้วเหล็ก รวมทั้งการสร้างแหล่งอาหาร แหล่งน้ำให้ช้างป่า เพื่อป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาหากินในหมู่บ้าน
นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอหัวหิน กล่าวว่า จากการประชุมในวันนี้ มีเรื่องที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน และเรื่องที่ต้องวางแนวทางแก้ไขในระยะยาว กำหนดเป็นแผนแม่บท หรือ Road map เช่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเฝ้าระวัง ที่จะต้องมีการเอาเทคโนโลยีมาใช้ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้องเอ็นแค๊บ(NCAPS) กล้องซีซีทีวี เพิ่มสัญญาณโทรศัพท์ และไฟฟ้าแสงสว่าง จะต้องมีการสร้างแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร โป่งเทียม ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้เสนอพื้นที่บริเวณบ้านทุ่งกระทิง และ หุบปลากั้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อให้ช้างป่าไม่ออกมาในหมู่บ้าน ในส่วนของมาตรการเยียวยาจะมีการตั้งกองทุนเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้รวดเร็วทันท่วงทีกว่างบประมาณของทางราชการ
ในส่วนของการเคลื่อนย้ายช้างเกเรออกจากพื้นที่นั้น จากการสำรวจพบว่ามีช้างป่าที่มีพฤติกรรมเกเรประมาณ 3-4 ตัว โดยเฉพาะช้างป่าที่ชื่อว่า ไอ้ด้วน หรือพลายบุญมี ออกมาสร้างความเดือดร้อนแทบทุกคืน ชาวบ้านอยากให้เคลื่อนย้ายออกไปก่อนเป็นตัวแรก โดยแผนแม่บทให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบแผนของแต่ละหน่วยเร่งเสนอรวมรวมมายังอำเภอหัวหิน ภายใน 3 สัปดาห์เพื่อเร่งสรุปนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาช้างป่าที่เป็นรูปธรรมชัดเจนต่อไป สำหรับในส่วนของการเสนอตัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากช้างป่า นั้นตรงนี้คงต้องมีการจัดกิจกรรมขึ้นมาอาจะเป็นการเดิน – วิ่ง ในพื้นที่ป่าละอูเพื่อมาเป็นรายได้การจัดตั้งกองทุน และเมื่อตั้งกองทุนแล้วต้องมีคณะกรรมการที่สามารถเบิกจ่ายเงินมาช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบจากช้างป่าด้วย
ซึ่งนายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กล่าวในที่ประชุมว่าได้ทำการสำรวจพื้นที่ไว้แล้วคือพื้นที่ ห้วยคมกริช ป่าแก่งกระจานชั้นในมีพื้นประมาณ 600 ไร่ อยู่ในป่าลึก พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งแปลงหญ้า บ่อน้ำ โป่งอาหาร และไม่รบกวนช้างป่าเจ้าถิ่นซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 ตัว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติจากอธิบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เนื่องจากต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ,ทีมสัตวแพทย์ และงบประมาณในการเคลื่อนย้าย ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีการเสนอเป็นกรณีเร่งด่วนไปแล้ว อาจจะต้องให้ทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประสานงานไปยังกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้เร่งพิจารณาดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะตอนนี้ชาวบ้านเดือดร้อนแทบทุกวัน
ด้านนายอภิชาติ หงษ์สกุล หนึ่งในคณะกรรมการแก้ไขปัญหาช้างป่า ตัวแทนสื่อมวลชน กล่าวว่า อยากให้คณะกรรมการทุกท่านพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาคนกับช้าง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ โดยอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการฯน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ให้ไว้ในการแก้ไขปัญหาคนกับช้าง เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2542 ว่า”ช้างป่าควรอยู่ในป่าเพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆและกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่าต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า” ถึงแม้พื้นที่ป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะเป็นละพื้นที่กันก็ตามแต่หากยึดหลักของพระองค์ท่านในการแก้ปัญหา เชื่อว่าคนกับช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้ ดังจะเห็นความสำเร็จจากผืนป่ากุยบุรี นอกจากนั้นการนำแนวทางอื่นๆมาแก้ไขปัญหาก็สามารถทำได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแนวรั้วกันช้างกึ่งถาวร การขุดคู การเฝ้าระวัง และอีกหลายแนวทางวิธี ที่ผ่านมาปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ เกิดมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปีแล้ว อีกทั้งจะเห็นได้ว่าประชากรช้างป่าในพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: