#77 ข่าวเด็ดประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ออกสำรวจและติดตามสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ บริเวณชายฝั่งทะเล สมุทรสงคราม พบวาฬบรูด้าคู่แม่ลูก เข้ามาอาศัย หากิน และเลี้ยงลูก จากการตรวจสอบอัตลักษณ์จากภาพถ่าย (Photo ID) คือ แม่วันดี และลูกตัวใหม่ โดยลูกตัวนี้เป็นลูกตัวที่ 3 ของแม่วันดี (ภาพ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก)
วันที่ 26 ตุลาคม 2562 นายสุรศักดิ์ ทองสุกสี ผอ.ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก กล่าวว่า (เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา) เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ออกสำรวจและติดตามสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ บริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามและเพชรบุรี พบวาฬบรูด้าคู่แม่ลูก เข้ามาอาศัย หากิน และเลี้ยงลูก จากการตรวจสอบอัตลักษณ์จากภาพถ่าย (Photo ID) คือ แม่วันดี และลูกตัวใหม่ โดยลูกตัวนี้เป็นลูกตัวที่ 3 ของแม่วันดี ซึ่งตัวลูกมีเหาฉลาม (Remora sp.) เกาะอยู่บริเวณผิวหนัง ทำให้พบพฤติกรรมกระโดดอยู่บ่อยครั้ง และครีบหลังของแม่วันดีมีรอยเว้ามากขึ้น พบเเม่วันดีเเละลูกบริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลบางแก้ว จังหวัดสมุทรสงคราม ห่างจากชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก
ข่าวน่าสนใจ:
อีกทั้งในช่วงเดือนตุลาคม จะพบว่าวาฬบรูด้า ว่ายเข้ามาหากินอาหารในพื้นที่ฝั่งทะเลอ่าวไทยแถบ จ.เพชรบุรี อย่างต่อเนื่องทำให้นักท่องเที่ยวที่นั่งเรืออกมาชมวาฬได้มีโอกาสพบเห็นวาฬบรูด้า กันรวมทั้งที่ผ่านมา (เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562) นายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมคณะก็ได้นั่งเรือลงไปสำรวจวาฬบรูด้าพื้นที่บริเวณทะเลในจังหวัดเพชรบุรี มาแล้วและได้มีการประชุมร่วมหารือกับผู้ประกอบการเรือที่พานักท่องเที่ยวชมวาฬ กลุ่มอนุรักษ์ เทศบาลหาดเจ้าสำราญ กรมเจ้าท่า ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตำแนะนำวิธีการชมวาฬที่ถูกต้อง และเพื่อเป็นการช่วยกันอนุรักษ์วาฬบรูด้า
ที่ผ่านมาทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการสำรวจและตั้งชื่อวาฬบรูด้าในพื้นที่แถบนี้ไว้ โดยทาง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก ก็มีการสำรวจในทุแกๆปีและมีการเก็บข้อมูลจากการพบเห็นวาฬบรูด้า จากทั้งชาวประมงและเรือนำเที่ยวต่างๆในพื้นที่ทั้งฝั่งอันดามัน ลงมาถึงชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สามร้อยยอด เรื่อยลงมาจนถึงเพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยเฉพาะในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน ช่วงเวลาที่พบวาฬบรูด้าบ่อยจะอยู่ระหว่างเดือนเมษายน-เดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งปลากระตัดและกุ้งเคยอุดมสมบูรณ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: