กลุ่มอนุรักษ์ทะเลและชายหาดปากน้ำปราณร่วมกับหลายองค์กรทำกิจกรรม ทำบุญบวชดอนทรายเพื่อเป็นแหล่งอาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำ ปลูกหญ้าทะเลเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนเป็นการสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหารและปล่อยปลากะพง หอยหวาน เป็นการเพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำให้มากขึ้น
21 พฤษภาคม 25614 ที่บริเวณชายหาดปากน้ำปราณ ข้างศาลกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ หมู่ที่ 2 ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายพิษณุพงษ์ เหล่าลาภผล ประธานกลุ่มฅนรักษ์ทะเลและชายหาดปากน้ำปราณ, มูลนิธิศาลเสด็จเตี่ย ,ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอำเภอปราณ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งศาลเสด็จเตี่ย. เจ้าหน้าที่สำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลลายฝั่งที่ 4 เพชรบุรี , ศูนย์สิรินาถราชินีฯ ผู้ประกอบการโรงแรมเอวาซอน, ร้านอาหาร ,ชาวประมงพื้นบ้าน, นักเรียนนักศึกษา และจิตอาสา ร่วมกิจกรรมทำบุญเปิดศูนย์ศึกษาเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยทางกลุ่มได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร และประกอบพิธีบวชดอนทรายเพื่อเป็นแหล่งอาศัยหลบภัยของสัตว์น้ำ ปลูกหญ้าทะเลช่วยกันปล่อยสัตว์น้ำและเพื่อเป็นการสร้างแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหาร เป็นการร่วมมือร่วมใจของชุมชนในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้กลับมาสมบูรณ์ หลังจากที่สัตว์น้ำบางชนิดที่หายไปเริ่มกลับเข้ามา การปลูกหญ้าทะเลครั้งนี้เป็นการทดลองปลูกเป็นครั้งแรกในพื้นที่ ซึ่งเป็นการทดลอง โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อส่งเสริมการทำประมงเชิงอนุรักษ์ สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ เพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ยั่งยืน
นายพิษณุพงษ์ เหล่าลาภผล ประธานกลุ่มฅนรักษ์ทะเลและชายหาดปากน้ำปราณ กล่าวว่าทำไมต้องใช้คำว่าบวชดอนทรายก็อยากจะทำอะไรให้มีความเชื่อมโยงพุทธศาสนากับคนไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกันมานานแล้ว การบวชเป็นการเพิ่มสิ่งศักดิ์สิทธิให้รู้สึกเชื่อและศรัทธามากขึ้นอาจจะมีการขอความร่วมมือกับพี่น้องไม่ให้เข้าไปรบกวนพื้นที่ที่อยากให้เป็นเขตอภัยทานในการห้ามล่า
ในส่วนวันนี้ซึ่งเลือกที่ร่วมกันทำบุญและปลูกหญ้าทะเลในพื้นที่ตำบลปากน้ำปราณ เริ่มต้นจากมองเห็นถึงควเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ มันถึงเวลาที่เราจะต้องร่วมกันฟื้นฟู ซึ่งการฟื้นฟูต้องมีระดับ ขั้นตอนหลายขั้นตอนการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนขึ้นมาเราไม่มีพื้นที่ปลอดภัยที่จะนำไปปล่อยมันก็ไม่เกิดประโยชน์ การปลูกหญ้าทะเลก็ถือว่าหญ้าทะเลเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหารทั้งหมด การมีหญ้าทะเลก็จะมีสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่นแพลงตอน ลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกหมึกหรือลูกหอยตัวเล็กๆอยู่ในนั้นเต็มไปหมด เป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ก็เหมือนสัตว์ใหญ่มากินสัตว์น้อยสร้างระบบนิเวศให้สมบูรณ์
สำหรับพื้นที่ปากน้ำปราณไม่เคยมีหญ้าทะเล การปลูกจะสร้างความอยากลำบากหรือว่าจะทำให้หญ้ามันตาย ถึงว่าโอกาสถึงจะมีน้อยก็ต้องลองคือมันคุ้มที่จะลอง ในเฟสแรกเราทดลองเอาพันธุ์หญ้าทะเลมาจาก คลองวาฬ มาปลูก จากนั้นก็จะมีพื้นที่ที่เราเพาะเป็นสถานที่เพาะหญ้าทะเลเพื่อนำมาปลูกเอง โดยนำหญ้าทะเล 3 พันธ์หลัก มีหญ้าคาทะเล เป็นหญ้าที่อึดและทนมากที่สุด หญ้าใบมะกรูดที่พะยูนชอบ และหญ้ากุยช่ายเข็มซึ่งเป็นหญ้าขนาดเล็กแต่ว่ายึดพื้นดินได้ดี นำมาทดลองปลูกจำนวน 200 ต้น หลังจากนั้นก็นำสัตว์น้ำเป็นปลากะพงขาว ได้มาจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) จ.ชุมพรนำมาให้ปล่อย 5,000ตัว และกลุ่มประมงพื้นบ้านได้นำปูม้าและหอยหวานมาปล่อยในพื้นที่อีกด้วย
วันนี้ได้นำเด็กๆมาร่วมกิจกรรมเนื่องจากว่าเด็กสำคัญมาก เราจะได้ยินว่าผู้ใหญ่ไม้แก่ดัดยาก ซึ่งเด็กๆเป็นความหวังใหม่ของเรา เราสร้างจิตสำนึกให้เด็กๆช่วยกันเก็บขยะบนชายหาดทุกอาทิตย์อยู่แล้ว เขาจะรู้สึกคุ้นชินในการทำจิตอาสาเพื่อร่วมกันอนุรักษ์
นายเจือ แคใหญ่ ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านปากน้ำปราณ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมทำบุญและปลูกหญ้าทะเลและปล่อยสัตว์น้ำ เป็นสิ่งที่ดี ทำให้มีแหล่งที่อาศัยของสัตว์น้ำใหม่ขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง และเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในชุมชนด้วยและชาวประมงพื้นบ้าน ในอนาคตซึ่งจริงๆแล้ว ในปัจจุบันเราก็มีการทำซั้งกอ (บ้านปลา) กันอยู่แล้วซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ไกล ซึ่งครั้งนี้มีทำด้านในก็ถือว่าดีสัตว์น้ำที่อยู่น้ำลึกจะได้เข้ามาอยู่ในน้ำตื้นอีกด้วย ส่วนสถานการณ์สัตว์น้ำในพื้นที่ เริ่มดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร ปูม้า ปลาทู จากเมื่อปี 2559 หมดไป เริ่มมีกลับมาบ้างแล้ว สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ ต้องมีการให้มีส่วนร่วมมากที่สุดในการสร้างความสามัคคีในชุมชน
ด้าน ดช.ทัตพงศ์ ประกอบชาติ 14ปีกล่าวว่า วันนี้รู้สึกดีที่ได้มีส่วนร่วมในชุมชนช่วยพัฒนาชุมชน ช่วยกันไม่ล่าในบริเวณที่กำหนดไว้ และไม่ทิ้งขยะลงทะเล สำหรับหญ้าทะเลมีประโยชน์จะเป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำให้เติบโตสมบูรณ์แล้วทำให้ชาวประมงมาเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำได้
ส่วน ด.ช.พีรณัฐ พงษ์พันธ์ 14ปีกล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม ช่วยกันปลูกหญ้าทะเลและปล่อยสัตว์น้ำ ในส่วนตัวจะช่วยเก็บขยะตามชายทะเล และรู้สึกดีมากที่ทุกคนยังเห็นคุณค่าของทะเล
น.ส.มาสมาตา ฉายวิเชียร นักศึกษาเป็นจิตอาสา กล่าวว่า มาเป็นจิตอาสามาช่วยปล่อยปลา และปลูกหญ้าทะเล ไม่เคยเห็นรู้สึกดีใจมากอยากจะบอกให้ช่วยกันอนุรักษ์ทะเล หรือปลูกป่า หรือการปลูกป่าชายเลนก็ได้เช่นกัน
ข่าว/ภาพ. สมบัติ ลิมปจีระวงษ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: