1 ปี หมอกระบี่ ใช้มีดผ่าตัดสมอง นับพันราย สาเหตุมาจากอุบัติเหตุรถ จยย.ล้ม ถึงเวลาสวมหมวกกันน๊อคกันอย่างจริงจังหรือยัง
วันที่ 7 ธ.ค.62 ปัญหาอุบัติภัยจากการจราจรทางถนนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านปริมาณและความรุนแรง สำหรับประเทศไทยอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุการบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี สำหรับสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนถนนนั้นได้มีนักวิชาการหลายสาขาได้ศึกษาถึงสาเหตุของอุบัติเหตุที่สำคัญ 2 ประการคือ เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยได้แก่พฤติกรรมต่างๆ อันอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่นความประมาท การฝ่าฝืนกฎระเบียบ เป็นต้น และเกิดจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น ถนนช่ำรุดแสงสว่างไม่เพียงพอ ทางโค้ง เป็นต้น
จากข้อมูล โรงพยาบาลกระบี่ พบว่าผู้ป่วยจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่เข้ารับการรักษาผ่าตัดทางสมองในโรงพยาบาลกระบี่ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุการขับมอเตอร์ไซต์ ไม่สวมหมวกกันน๊อค เป็นหลัก ภาพรวมการผ่าตัดรายปี จากอุบัติเหตุจาจร ที่กระทบกับสมอง ตั้งแต่ เดือน ต.ค.61-ต.ค.62 จำนวนประมาณ 1,517 ราย เสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 19 เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ยประมาณ 6 คนต่อวัน ผลการผ่าตัด ดีขึ้นประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ไม่ดี 1 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิต 23 เปอร์เซนต์
แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิต ไม่ใช่เฉพาะ ได้รับบาดเจ็บจากสมองอย่างเดียวที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ แต่มีอย่างอื่นแทรกซ้อนมาด้วย อาทิ ตับแตก ปอดแตก ม้ามแตก กระดูกหักขาหัก โดยพบว่าช่วงอายุ ส่วนใหญ่ ระหว่าง 20-30 ปี และเป็นผู้ชายมากกว่า ผู้หญิง สาเหตุ เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน๊อค ขับย้อนศร ซึ่งแต่ละเคส จะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-5 ชั่วโมง และถึงแม้ว่าเครื่องมือของโรงพยาบาลกระบี่พร้อม แต่ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับคนหนึ่งคนใด ทางที่ดีผู้ที่ขับขี่ หรือใช้ถนน ต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และต้องสวมหมวกกันน๊อคทุกครั้ง“อย่าคิดว่า ใกล้นิดเดียวไม่เป็นไร”เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที
นายแพทย์ฉัตรชัย สีสรรพ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลกระบี่ กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทางสมอง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยจากอุบัติเหตุขับขี่รถมอเตอร์ไซต์ล้ม ไม่สวมหมวกกันน๊อค มีเคสตัวอย่างในการรักษา ผ่าตัด เป็นผู้หญิงวัย 17 ปี ขับรถล้มเอง โดยก่อนมาถึงโรงพยาบาลกระบี่ ได้ถูกส่งตัวมาจาก รพ.ชุมชน มาถึงโรงพยาบาลกระบี่ ประเมินครั้งแรกคนไข้ไม่รู้สึกตัว อาการหนัก ต้องใสเครื่องช่วยหายใจ และเมื่อทำการเอกซ์เรย์สมอง พบว่าเลือดคั่งในสมองค่อนข้างใหญ่
จึงได้รีบนำเข้าห้องผ่าตัดเป็นการด่วน หลังการผ่าตัดเสร็จ อยู่ห้องไอซียู 3 วัน แล้วทำการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลต่ออีก 7 วัน กลับไปอยู่บ้านผลการรักษาค่อนข้างดีมาก โชคดี ที่คนเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเร็ว ภายใน 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นคนไข้ก็กลับบ้าน และได้ติดตามอาการ โดยนัดดูอาการ 2 อาทิตย์ พบว่าคนไข้ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ต้องนัดปิดกะโหลกเทียม เพราะแผลกะโหลกบวมมาก
ภาพรวมการผ่าตัดรายปี จากอุบัติเหตุจาจร ตั้งแต่ เดือน ต.ค.61-ก.ย.62 จำนวนอุบัติเหตุทางสมอง ประมาณ 1,517 ราย ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง ทำการผ่าตัดเฉลี่ยประมาณ 6 เคส ต่อวัน ผลการผ่าตัด ดีขึ้นประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ คงที่ 1 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิต 23 เปอร์เซนต์ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิต ไม่ใช่เฉพาะ สมองอย่างเดียวที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ แต่มีอย่างอื่นแทรกซ้อนมาด้วย อาทิ ตับแตก ปอดแตก ม้ามแตก กระดูกหักขาหัก
โดยพบว่าช่วงอายุ ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น อายุระหว่าง 20-30 ปี และเป็นผู้ชายมากกว่า ผู้หญิง สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ มาจากเมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน๊อค ขับย้อนศร ไม่เคารพกฎจราจร สำหรับการผ่าตัดทางสมอง โชคดี รพ.กระบี่ มีทีมพร้อมตั้งแต่ก่อนเข้ารับการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด ไปจนถึงการฟื้นฟู ซึ่งแต่ละเคส จะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-5 ชั่วโมง โดยเคสที่มาพร้อมกัน ต้องเลือกผ่าเคสที่หนักกว่าก่อน แต่หากเลือกไม่ได้ต้องผ่าตัดพร้อมกัน ก็สามารถทำได้ เพราะทีมที่มีแพทย์ มีความชำนาญด้านการผ่าตัดทางสมอง มีด้วยกันถึง 2 ทีม
นอกจากนี้นายแพทย์นายแพทย์ฉัตรชัย ยังได้กล่าวถึงโครงการ pre hospital ของโรงพยาบาลกระบี่ ที่ตนเองได้จัดตั้งขึ้น มีเจ้าหน้าที่ครบทุกแผนก ของโรงพยาบาล ทำเป็นระบบทีม ออกไปรณรงค์ป้องกัน และการจัดการ สร้างเครือข่ายเพื่อนำผู้ที่ประสบอุบัติเหตุให้มาถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ทันท่วงที ในสวนของโรงพยาบาลเองได้ติดป้านรณรงค์สวมหมวกกันน๊อค 100 เปอร์เซ็นต์ สาเหตุที่ผู้ประสบอุบัติเหตุ ต้องเข้ารับการผ่าตัดทางสมอง เมื่อประสบอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากไม่สวมหมวกกันน๊อค การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการสวมหมวกกันน๊อคทุกครั้ง
การแก้ปัญหาเพื่อลดจำนวนผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดทางสมอง 1.จะต้องมีการรณรงค์กันอย่างจริงจัง พร้อมกับปลูกฝังกันตั้งแต่ในโรงเรียน และ 2.อาจจะต้องลงลึกไปถึงตามชุมชนและหมู่บ้าน ในการให้ความรู้และสร้างจิตสำนึก ตนในฐานะที่เป็นแพทย์ผ่าตัดทางสมอง อยากย้ำเตือนให้ทุกคนหันมาใส่ใจในการป้องกันตนเองให้มากขึ้น ในการใช้รถใช้ถนน และอย่าลืม ผู้ใช้ จยย.ต้องสวมหมวกกันน๊อคทุกครั้ง แค่นี้ก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระของแพทย์ในการต้องรับหน้าที่ผ่าตัดสมองได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: