X

กระบี่-อธิบดี ปภ.สั่งตรวจสอบเหตุสัญญาณเตือนภัยไม่ดังในพื้นที่กระบี่ (ชมคลิป)

กระบี่-อธิบดี ปภ.สั่งตรวจสอบเหตุสัญญาณเตือนภัยไม่ดังในพื้นที่กระบี่ พบบางพื้นที่อุปกรณ์ชำรุด

จากกรณีที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้มีการทดสอบเสียงสัญญาณเตือนภัยสึนามิ ด้วยการเปิดเพลงชาติ หลังเคารพธงชาติ ทุกวันพุธ ผ่านหอเตือนภัย ที่ตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย 6 จว.อันดามัน ในส่วนของ จ.กระบี่ ตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ จำนวน 32 หอ และจากการทดสอบเสียงสัญญาณเตือนภัย เมื่อวันพุธ ที่ 25 ธ.ค.62 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าเสียงสัญญาณเตือนภัย ในพื้นที่ จ.กระบี่ ดังไม่ครอบคลุมทุกจุด และสื่อได้มีการนำเสนอข่าวไปก่อนหน้านั้น ขณะภาคเอกชนออกมาระบุว่า หากหอเตือนภัยใช้การไม่ได้ก็ควรจะทุบทิ้ง อย่าสร้างให้เป็นอนุสาวรีย์

ล่าสุดวันที่ 3 ม.ค.62 นายชัยวุฒิ พวงสุวรรณ ผอ.สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ทางนายสุวัฒน์ พลับเพลิง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ รักษาการ ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบกล่องส่งสัญญาณที่ติดตั้งอยู่ภายในห้องส่งสัญญาณวิทยุ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถนนท่าเรือ ต.ปากน้ำ อ.เมืองกระบี่ ไม่ดังเมื่อวันพุธ ที่ 25 ธ.ค.62 ขณะทดลองส่งสัญญาณเสียงเพลงชาติ พบว่าไม่ดัง สร้างความกังวลให้นักท่องเที่ยวและประชาชน

นายสุวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า ช่วงที่เกิดเหตุนั้น ทางทีมดูแลหอเตือนภัย ทราบเรื่องและไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ช่วงนั้นติดภารกิจอยู่ทางภาคเหนือ หลังจากเสร็จภารกิจได้ส่งทีมช่างลงมาตรวจสอบหอและอุปกรณ์เตือนภัยในกระบี่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยได้รับคำสั่งจากนายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดี ปภ.เร่งหาสาเหตุ เสียงสัญญาณเตือนภัยไม่ดัง ขณะทดลองสัญญาณเสียงเมื่อช่วงวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยจากการลงตรวจสอบพบว่า มี 5 จุด จุดแรก ที่ สวท.กระบี่ ไม่พบอุปกรณ์ชำรุดแต่อย่างใด ขณะนี้ส่งสัญญาณได้เป็นปกติ

จุดที่สองบ้านแหลมกรวด พบปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม เป็นขี้เกลือ ไม่มีไฟไปเลี้ยงระบบ เป็นสาเหตุที่ไม่ดัง นอกจากนี้จุดที่สามและสี่ โรงเรียนบ้านปากคลอง เกาะลันตา และที่อบต.เกาะลันตา ปัญหาเดียวกัน คือ อุปกรณ์กันไฟกระชากชำรุด ได้แก้ไขเป็นปกติ จุดที่ 5 เกาะรอกเตรียมเข้าดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง เนื่องจากติดปัญหาการเดินทาง

( นายสุวัฒน์ พลับเพลิง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ รักษาการ ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ล  )

นายสุวัฒน์ เปิดเผยอีกว่า ทั้งนี้ระบบส่งสัญญาณเสียง เมื่อกดส่งสัญญาณระบบจะวิ่งไปยังผู้ให้บริการดาวเทียม แล้วดาวเทียมจะส่งต่อไปยังจานรับพื้นที่ต่างๆที่มีการติดตั้ง หลังจากนั้นจะส่งสัญญาณเข้ากล่องรับสัญญาณเสียง ส่งออกลำโพง ส่วนสาเหตุที่เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมาสัญญาณเสียงไม่ดังนั้น เนื่องจากระบบส่งสัญญาณส่งผ่านดาวเทียม ไม่ใช่ระบบอินเตอร์เน็ต อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น บางพื้นที่สภาพอากาศไม่อำนวยอาจมีเมฆปกคลุมมากก็จะมีผลต่อการส่งสัญญาณ นอกจากนี้การส่งข้อมูลขึ้นไปเยอะๆพร้อมๆกัน การที่ดาวเทียมจะส่งกลับลงมาอาจจะมีค่าเออเร่อบ้าง ซึ่งวันดังกล่าวอาจจะเกิดการเออเร่อกับเครื่องจุดนี้จึงไม่มีเสียงดังออกมา หรืออีกสาเหตุในขั้นตอนการเรียงโค๊ตที่จะส่งสัญญาณอาจจะตกหล่นก็เป็นได้อีกหนึ่งสาเหตุ เพราะส่งทั่วประเทศเกือบ 1 พันชุด ซึ่งหอเตือนภัยที่รับสัญญาณมีกว่า 340 หอ สถานีแม่ข่ายอีก 600 กว่าหอ และอื่นๆอีกประมาณ 100 กล่องรับสัญญาณ

ส่วนการดีเลย์ของสัญญาณนั้น จะดีเลย์แค่อึดใจเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เวลาเกิดคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหวในทะเล หน่วยงานที่ตรวจสอบแผ่นดินไหวในทะเลจะรับรู้ได้ไม่เกิด 5 นาที หลังจากนั้น 7-8 นาทีก็จะส่งสัญญาณมาถึงศูนย์เตือนภัย หลังจากนั้นศูนย์เตือนภัยมีหน้าที่วิเคราะห์ไม่เกิน 12 นาทีก็สามารถแจ้งเตือนได้ทันที อย่างแผ่นดินไหวที่เคยเกิด และเกิดคลื่นสึนามิ ใช้เวลาในการเดินทางมาค่อนข้างนานกว่าจะมากระทบทุ่น มีเวลาเตือนภัยที่เพียงพอ สำหรับสัญญาณเตือนภัยเหล่านี้ เป็นอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งปัจจุบันนี้มีการแจ้งเตือนที่หลากหลายโดยเฉพาะโลกโซเชียลที่ไวและทันเหตุการณ์ เพราะฉะนั้น นทท.และประชาชนมีความเชื่อมั่นได้อย่างแน่นอน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน