กระบี่-สส.สาคร ดัน เกาะพีพี ผลิตน้ำระบบ RO แก้ปัญหา ขาดแคลนน้ำหน้าแล้ง
วันที่ 8 มี.ค.63 นายสาคร เกี่ยวข้อง สส.ปชป.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ ได้เปิดเผยภายหลัง ลงพื้นที่รับฟังปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ว่า ทางคณะอนุกรรมาธิการฯได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการ ในพื้นที่อ่าวไร่เล และเกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ ว่าได้รับความเดือดร้อนจากปัญหา น้ำดื่ม น้ำบริโภคไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งนี้ ตั้งแต่เดือน ก.พ.-พ.ค.เนื่องจากไม่มีแหล่งต้นทุน อย่างอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากพื้นที่เป็นเกาะ ต้องซื้อน้ำจากเอกชนในราคาที่แพงมาก คิวละ 250-300 บาท
ข่าวน่าสนใจ:
- ระทึก ไฟไหม้โรงงานผลิตกล่องโฟมใส่อาหารหวิดวอดหมดหลัง
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
- คอกาแฟแห่เที่ยวงานพังงาคอฟฟี่เจอร์นี่ ซีซั่น 3 ภายใต้รูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Coffee in the Park ในสวนสมเด็จฯพังงา
- บุรีรัมย์ คริสตจักรเมืองบุรีรัมย์ จัดงานเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส ส่งความสุขก่อนปีใหม่อย่างยิ่งใหญ่
สส.สาคร กล่าวด้วยว่า สำหรับเกาะพีพี การแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ จะต้องใช้นวัตกรรมการผลิตน้ำเค็มเป็นน้ำจืด หรือระบบ RO เท่านั้นจึงจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคหรือบริโภคได้ เนื่องจากไม่มีแหล่งน้ำต้นทุน ส่วนที่อ่าวไร่เล อยู่ใกล้ฝั่งสามารถที่วางท่อประปาลงมาได้ แต่ต้องผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้องมีการวางท่อลงในทะเล เข้ามายังอ่าวไร่เล แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะปัจจุบัน ชาวบ้านต้องเจาะบาดาลดึงน้ำขึ้นมาใช้ ในระยะยาวเกรงว่าจะมีผลกระทบกับพื้นที่ได้ โดยจะรวบรวมปัญหา เสนอ ต่อสภาฯและรัฐบาลต่อไป เนื่องจากคณะที่มามีด้วยกันทุกฝ่ายทั้งผู้รู้และนักวิชาการ
ด้านนายประเสริฐ วงษ์นา รองนายก อบต.อ่าวนาง และชาวบ้านในพื้นที่เกาะพีพี กล่าวว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และซื้อน้ำแพงจากเอกชน ในช่วงหน้าแล้ง ชาวเกาะพีพี ต้องประสบทุกปี เนื่องจากเกาะพีพี ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ มีเฉพาะบ่อน้ำตื้น เมื่อเข้าสู่หน้าแล้งเกาพีพี ขาดน้ำทุกปี จึงอยากให้รัฐบาล ได้เห็นความสำคัญของเกาะพีพี ด้วย เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของโลก และเป็นแหล่งที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาลในแต่ละปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: