กระบี่-ประเมินทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจากฝ่ายคัดค้านและสนับสนุน
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ศาสตร์จารยด๊อกเตอร์ จำลอง โพธิ์บุญจากศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์ พร้อมด้วยคณะเปิดเวทีการสานเสวนารอบที่ 2 / 1 ครั้งที่ 3 ในการประเมินทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าใน
ภายใต้โครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ระหว่างวันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2563 ที่ห้องประชุมโรงแรมเดอะไพน์แอพเพิลจังหวัดกระบี่ โดยในวันแรกเป็นการรับฟังและประเมินจากฝ่ายไม่เห็นด้วย และวันที่สองเป็นการรับฟังและประเมินจากฝ่ายสนับสนุน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมวันละ 100 คน
ในการประเมินครั้งนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มุ่งหวังต่อการพัฒนาให้เกิดความสมดุลระหว่าง 3 มิติของการพัฒนาประเทศคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นภายใต้บันทึกข้อตกลงกับกลุ่มผู้คัดค้านและกลุ่มผู้สนับสนุน เกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เปรียบเทียมความเหมาะสมระหว่างการก่อสร้างกับการไม่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมทั้งทางเลือกอื่นในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ โดยศึกษาผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง ประเภทฟอสซิลได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิง เทคโนโลยีประเภทพลังงานหมุนเวียน ได้แก่แสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ลม น้ำ และขยะมูลฝอย ซึ่งทั้งสองมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป และมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าต่างกันออกไปเช่นกัน
เปิดเวทีการสานเสวนารอบที่ 2 / 1 ครั้งที่ 3 ในการประเมินทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ ภายใต้โครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพื่อพัฒนาทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ เพื่อประเมินความเหมาะสมและผลกระทบของ
ทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเพื่อนำเสนอแนวทางเลือกในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงและสามารถรองรับความต้องการไฟฟ้าในระยะยาวของภาคใต้ อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: