กระบี่-พบขวานหิน หรือขวานฟ้า ในถ้ำเขาท่าเรือ บ้านปากหยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ คาดเป็นของใช้มนุษย์ยุคหินอายุกว่า 4 พันปี ชาวบ้าน เชื่อ เป็น”ขวานฟ้า” เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์
วันที่ 4 ก.ย.63 นายนิวัฒน์ วัฒนยมนาพร กรรมการที่ปรึกษาหน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ พานักโบราณคดี จากสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช สาขาภูเก็ต ลงพื้นที่ ถ้ำเขาท่าเรือ บ้านปากหนา ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ตรวจสอบแหล่งโบราณคดี ตามที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้แจ้งการพบร่องรอย ภาชนะดินเผา กระดูก เครื่องมือหิน
ต่อ อ.นิวัฒน์ วัฒนยมนาพร กรรมการที่ปรึกษาหน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ และอาสาสมัครฯกรมศิลปากร ซึ่งได้ลงพื้นที่ก่อนหน้าเข้าตรวจสอบ และพบหลักฐานตามที่ชาวบ้านได้แจ้งมา จึงรายงานไปทางสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ผู้อำนวยการสำนักฯจึงมีบัญชาให้นักโบราณคดี เข้าพื้นที่ตรวจสอบโดยทันที จากการเข้าพื้นที่ ได้พบ ขวานหินหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าขวานฟ้า สมบูรณ์มาก พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ผิวเรียบ เครื่องมือหิน กระดูกสัตว์ กระดองเต่า กระจายอยู่ในพื้นที่ ซึ่งชาวบ้านได้เข้ามาขุดเอาดินและขี้ค้างคาว ไปใส่ในสวนปาล์ม เมื่อยี่สิบสามสิบกว่าปีก่อน จึงพบร่องรอยทางโบราณคดีดังกล่าว แต่ในช่วงเวลานั้นไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการพบ จึงไม่ได้แจ้งไปยังหน่วยงาน ให้เข้าตรวจสอบ ปัจจุบันนี้ ได้ติดตามข่าวและได้รับคำแนะนำจากทีมงานคนรักถ้ำกระบี่ จึงประสานให้เข้าตรวจสอบความเป็นแหล่งโบราณดังกล่าว
นายนิวัฒน์ วัฒนยมนาพร กรรมการที่ปรึกษาหน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ เปิดเผย ว่า ในระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน ที่ผ่านมา ทีมนักโบราณคดี จากสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช สาขาภูเก็ต พร้อมทีมสำรวจถ้ำ จ.กระบี่ และชาวบ้านกลุ่มคนรักถ้ำกระบี่ ได้เข้าตรวจสอบภายในถ้ำเขาท่าเรือ บ้านปากหยา ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ หลังหน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมท้องถิ่น จ.กระบี่ หลังรับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าพบร่องรอย ภาชนะดินเผา กระดูก เครื่องมือหิน จำนวนมาก คาดว่า อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ผลการจากการสำรวจ ทีมนักโบราณคดี ได้พบ “ขวานหิน” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ขวานฟ้า” ในสภาพสมบูรณ์มาก นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ผิวเรียบ เครื่องมือหินอีกบางส่วน กระดูกสัตว์ และกระดองเต่า กระจายอยู่ในพื้นที่ภายในถ้ำ
นายนิวัฒน์ เปิดเผยอีกว่า จากการสอบถามชาวบ้าน ทราบว่า ชาวบ้านในพื้นที่มักจะเข้ามาขุดเอามูลของค้างคาวในถ้ำไปทำปุ๋ยบ่อยครั้ง จนมาพบพื้นที่ดังกล่าว และพบร่องรอยทางโบราณคดี จึงประสานผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ เบื้องต้นพบว่าสิ่งของที่พบ เป็นของใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือราว 4 พันปีก่อน ซึ่งเป็นยุคหินใหม่ ทาง ขณะที่จนท.สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เตรียมส่ง จนท.เข้ามาสำรวจเพิ่มเติม เชื่อว่าจะเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ เพื่อศึกษาการใช้ชีวิตของมนุษย์ในยุคหิน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: