กระบี่-หาดูยาก พญากระรอกดำที่อ่าวไร่เลย์ ลงมาให้นักท่องเที่ยวได้ชม เผยคุ้นเคย ชอบมาขอผลไม้
วันที่ 28 ต.ค.64 นี่เป็นคลิปที่นายกิตติวินท์ เพียรอารีย์ เจ้าของร้าน Tewlay bar ที่อ่าวไร่เลย์ หมู่ 2 ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ บันทึกไว้ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหาดูยาก คือพญากระรอกดำ หรือภาษาใต้ เรียกว่า เสือรอก หรืออีกชื่อคือ พะแมว โดยพบว่าตัวมีขนาดใหญ่ยาวตั้งแต่หัวถึงหางกว่า 70 ซม. ทั้งนี้นายกิตติวินท์ เผยว่าปัจจุบันจะพบเห็นได้ยาก โดยพบว่าพญากระรอกดำตัวดังกล่าวจะลงมาจากภูเขามายังย่านชุมชนในอ่าวไร่เลย์ และเมื่อนักท่องเที่ยวยื่นผลไม้ให้ก็ลงมาเอาไป โดยไม่ได้ตื่นกลัวมากนัก ซึ่งสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็นสัตว์ป่าดังกล่าวที่มีความคุ้นเคยกับคน
ข่าวน่าสนใจ:
- "Gmm Show"แจ้งเตือนระวังมิจฉาชีพ หลอกขายบัตรทิพย์ คอนเสิร์ต Rock Mountain เขาค้อ
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
- ตร.น้ำกระบี่ บุกรวบ 3 ลูกเรือประมง ยึดยาบ้า พบมั่วสุมเสพ ก่อนออกจับปลา
สำหรับ พญากระรอกดำ (อังกฤษ: Black giant squirrel, Malayan giant squirrel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ratufa bicolor) เป็นกระรอกชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อยพญากระรอก (Ratufinae) เป็นกระรอกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกระรอกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย หางยาวเป็นพวง ขนตามลำตัวและหางสีดำสนิท บางตัวอาจมีสะโพก หรือโคนหางออกสีน้ำตาล ขนบริเวณแก้มและท้องสีเหลือง เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 5 นิ้ว เล็บยาวและโค้งช่วยในการยึดเกาะต้นไม้ และสะดวกในการเคลื่อนไหวไปมา ขนาดโตเต็มที่มีความยาวลำตัวและหัว 33-37.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 42.5-46 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-1.6 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ของอินเดีย, ภาคตะวันออกของเนปาล, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบาหลี มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าที่มีเรือนยอดไม้สูง เช่น ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง มักพบเห็นอยู่ตามเรือนยอดไม้ที่รกทึบและใกล้ลำห้วย หากินในเวลากลางวันและหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถกระโดดไปมาบนยอดไม้ได้ไกลถึง 22 ฟุต
ปกติจะอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจเห็นเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 2 ปี ตั้งท้องนาน 28 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว โดยที่ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่ รังสร้างขึ้นโดยการนำกิ่งไม้สดมาขัดสานกันคล้ายรังนกขนาดใหญ่ และอาจจะมีรังได้มากกว่าหนึ่งรัง ปัจจุบันมีผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ที่เลี้ยงได้แล้ว และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ไม่สามารถขออนุญาตเลี้ยงได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: