กระบี่-หาดูยาก “ปลาฉลามกบ”สัตว์ทะเลหายาก หวั่นใกล้สูญพันธุ์เร่งเพาะขยายพันธุ์ปล่อยคืนสู่ทะเลที่เกาะพีพี เผยตัวเลขน่าตกใจ ปลาฉลามในทะเลตามธรรมชาติ ถูกจับไปเป็นอาหารต่อปี กว่า 20 ตันหรือ 2 หมื่นกิโลกรัม
วันที่ 12 ม.ค.65 นายอุทิศ ลิ้มสกุล ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สนง.กระบี่ นำคณะสื่อมวลชนจ.กระบี่ เข้าชมการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะ “ปลาฉลามกบ” ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลหายาก Marine Discovery Centre หรือ MDC ที่อ่าวโล๊ะบาเกา โรงแรม SAii PhiPhi Island Village ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ โดยมีว่าที่ร้อยตรีนันทิพัฒน์ แซ่จ๋าว ตำแหน่ง Marine Biologirts เป็นผู้ดูแล พร้อมพาผู้สื่อข่าวเข้าเยี่ยมชมฝูง “ปลาฉลามกบ” ตัวโตเต็มวัยนับสิบตัว ภายในบ่ออนุบาล โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนตั้งไข่ อนุบาลในตู้กระจกที่มีอ๊อกซิเจนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จนฝักเป็นตัว เลี้ยงดูจนตัวโตเต็มที่ขนาด 30-40 ซม.นำไปปล่อยคืนสู่ท้องทะเลกระบี่ต่อไป
ว่าที่ร้อยตรีนันทิพัฒน์ แซ่จ๋าว กล่าวว่า ปลาฉลามกบ เป็นฉลามที่อาศัยบริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลนตามชายฝั่งทะเล และกองหินใต้น้ำตามแนวปะการัง ในเขตน่านน้ำไทยสามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่งๆ ไม่ดุร้าย กินพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ความสำคัญของปลาฉลามกบ เป็นสัตว์ที่อยู่ในท้องทะเลห่วงโซ่สูงสุด เป็นตัวควบคุมประชากรสัตว์ในท้องทะเล
ว่าที่ร้อยตรีนันทิพัฒน์ แซ่จ๋าว กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน “ปลาฉลามกบ” ถูกจับไปเยอะมากจากการทำประมง ซึ่ง “ปลาฉลามกบ” จะถูกจับไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ปกติปลาฉลามกบไม่ใช่ปลากลุ่มเป้าหมายของการทำประมง แต่มักจะติดไปกับการทำประมง ราคาที่ซื้อขายตามท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งนับวัน “ปลาฉลามกบ”เริ่มใกล้สูญพันธุ์ จากสถิติปลาฉลามกบจะถูกจับไปกว่า 2 หมื่นกิโลฯต่อปี ทางศูนย์จึงเล็งเห็นความสำคัญจึงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ จุดประสงค์เพื่อคืนระบบนเวศน์ให้ท้องทะเล โดยเริ่มตั้งแต่อนุบาลไข่ในตู้ฝักพิเศษ จนโตเต็มวัยขนาดลำตัว 30-40 ซม. จึงนำปล่อยคืนสู่ท้องทะเล
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: