“พลเอก ประวิตร” เยี่ยมพี่น้องชาวใต้ติดตามผลการบริหารจัดการน้ำ จ.กระบี่-พังงา กำชับทุกหน่วยเร่งสำรองน้ำใช้รับสถานการณ์แล้งนี้ และเดินหน้าตามแผนรับมืออุทกภัย 66
เวลา 10.30 น.วันที่ 20 มี.ค. 66 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมด้วย นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและพบปะประชาชน จ.กระบี่ และ จ.พังงา โดยในช่วงเช้าได้ติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญในจังหวัดกระบี่ ณ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองไหล ช่วง 2 ต.พรุเตียว อ.เขาพนม จ.กระบี่ โดยมี นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวต้อนรับและรายงานสรุปงานในภาพรวมของ จ.กระบี่ รองเลขาธิการ สทนช. นำเสนอสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.กระบี่ และ นายธีระชุณ บุญสิทธิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
นำเสนอการดำเนินงานโครงการอนุรักษณ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำหนองไหล ช่วง 2 จากนั้นในช่วงบ่าย รองนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปยัง จ.พังงา เพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จุดแรกรับฟังรายงานภาพรวมและข้อมูลโครงการ ณ ศาลาอเนกประสงค์ เทศบาล ต.ท่านา อ.กะปง จ. พังงา โดยมี นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมของจังหวัด รองเลขาธิการ สทนช. นำเสนอสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.พังงา และ นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอการดำเนินโครงการฝายคลองกะปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากนั้น จึงเดินทางไปตรวจโครงการและพบปะประชาชนในพื้นที่โครงการฝายคลองกะปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กะปง อ.กะปง จ.พังงา
ข่าวน่าสนใจ:
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ พลเอก ประวิตร ได้กล่าวมอบนโยบายให้กับหน่วยงานต่างๆ ในภาพรวมได้แสดงความเป็นห่วงถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ จึงได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเตรียมสำรองน้ำใช้ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน มอบ สทนช. ติดตามกำกับหน่วยงานให้ดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด มอบจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำรวจพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
และรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อใช้วางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป เพื่อยกระดับความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่ในอนาคต นอกจากนี้ ในพื้นที่ จ.กระบี่ ได้มอบกรมทรัพยากรน้ำสำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำและเตรียมแผนรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ และพื้นที่ จ.พังงา ได้มอบหมายให้กรมชลประทานสำรวจ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำและอาคารประกอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อเตรียมแผนรับมือได้ทันสถานการณ์ และสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับประชาชน จึงมอบทั้ง 2 จังหวัดสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบสถานการณ์และผลการดำเนินการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ด้าน นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมถึงความก้าวหน้าในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ 2จังหวัดดังกล่าวว่า พื้นที่ จ.กระบี่ ซึ่งมีปัญหาอุทกภัยที่เกิดจากดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นลำน้ำที่มีความลาดชันสูง จึงมักเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายน้ำ มีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ปี 61 – 65 มีแผนงาน/โครงการจำนวน 432 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 23,442 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 14,984 ครัวเรือน ความจุ 10.41 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ได้รับการป้องกัน 2,455 ไร่ ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง 4,489 เมตร ตัวอย่างโครงการสำคัญที่จะดำเนินการ ได้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหิน ต.คลองหิน อ.อ่าวลึก โครงการระบบระบายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขาว ระยะ 2 ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมคลองคลุ้ง ต.ทับปริก อ.เมืองกระบี่
และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ดำเนินการ ส.ป.ก. จ.กระบี่ สำหรับพื้นที่ จ.พังงา มักจะเกิดอุทกภัยเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ และมีสิ่งกีดขวางทางน้ำ เมื่อมีฝนตกหนักจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลหลากและระบายออกไม่ทันเกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งทั่วบริเวณพื้นที่ ผลการดำเนินงานปี 61 – 65 มีแผนงาน/โครงการจำนวน 239 แห่งพื้นที่รับประโยชน์ 10,417 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 20,101 ครัวเรือน ความจุ 3.17 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ได้รับการป้องกัน 3,488 ไร่ ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง 8,921 เมตรโครงการสำคัญที่จะดำเนินการตามแผน เช่น แก้มลิงเกาะพระทองพร้อมอาคารประกอบ โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองพังงา อ.เมืองพังงา จ.พังงา โครงการอ่างเก็บน้ำ ลำรูใหญ่ จ.พังงา เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: