X

กระบี่ เปิดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และนานาชาติครั้งที่ 5

กระบี่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร (สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) เปิดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และนานาชาติครั้งที่ 5 ประจำปี 2567 ( IAMBEST ) 2024 ด้านสารสนเทศ การเกษตร การจัดการ บริหารธุรกิจวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม IAMBEST Inventor Award 2024 ระหว่างวันที่ 29-31 พ.ค.67 ณ.โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า กระบี่ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่

 

วันที่ 30 พ.ค.67 ที่โรงแรมดีวาน่า พลาซ่า กระบี่ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ จัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และนานาชาติครั้งที่ 5 ประจำปี 2567 ( IAMBEST ) 2024 ด้านสารสนเทศ การเกษตร การจัดการ บริหารธุรกิจวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม IAMBEST Inventor Award 2024 ระหว่างวันที่ 29-31 พ.ค.67  ซึ่งจัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร (สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์) โดยมีรศ.ดร.คำรณวิทย์ ทิพย์มณี รองอธิดีวิทยาเขตชุมพรเขตอุมศักดิ์ เป็นประธานเปิด  มีนายศักรินทร์ ปุรินทราภิบาล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกระบี่ (รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจ.กระบี่ ให้การต้อนรับ

มีศาสตราจารย์ ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย ผู้ปาฐกถาพิเศษ ,รองศาสตราจารย์ ดร.คำรณวิทย์ ทิพยประมณี รองอธิการบดี วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อธิคม ฤกษบุตร นายกสมาคมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า (ประเทศไทย) คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ นักวิชาการ บุคลากรทุกสถาบันการศึกษากว่า 200 คนร่วม

รองศาสตร์จารย์ ดร.ศิริวรรณ ศรีสังข์ กล่าวว่า ตามที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
จังหวัดชุมพร และสถาบันภาคีเครือข่าย ได้มีแนวคิดร่วมกันในการจัดโครงการประชุมวิชาการ และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย และเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัย เพื่อขยายองค์ความรู้สู่การปฏิบัติให้กว้างยิ่งขึ้น ให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสร้างเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะพัฒนาไปในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

โครงการนี้จัดในระดับชาติเป็นครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติเป็นครั้งที่ 5 และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม IAMBEST Inventor Award 2024 โดยความร่วมมือของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย สำหรับงานประชุมวิชาการนี้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอผลงาน แบบโปสเตอร์ และแบบบรรยาย
ระดับชาติและระดับนานาชาติ จากนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป รวมผลงานที่เข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้นรวม 90 เรื่อง แบ่งเป็นระดับชาติ 53 เรื่อง และระดับนานาชาติ 37 เรื่อง

สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติอย่างสูงจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการ ปาฐกถาพิเศษ “เรื่อง Driving Technology and Innovation with Bio-Circular-Green Economy” โดย ศ.ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย ประธานคณะกรรมการอนุกรรมการแผนงาน กลุ่มพลังงานเคมีและวัสดุชีวภาพ (PMUC)

ด้านรศ.ดร.คำรณวิทย์ ทิพย์มณี รองอธิดีวิทยาเขตชุมพรเขตอุมศักดิ์ กล่าวว่า ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลอันทันสมัย โลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนางานวิจัยสู่การนำเสนอเผยแพร่ผลงานวิชาการ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาสังคมและประเทศ สร้างองค์ความรู้ใหม่ของศาสตร์ด้านต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ ด้านสารสนเทศ ด้านการเกษตร ด้านการจัดการ ด้านบริหารธุรกิจ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งศาสตร์แต่ละด้านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการพัฒนาการศึกษานำไปสู่ นวัตกรรม ภูมิปัญญา ความเป็นเลิศ ตามชื่องาน “IAMBEST” และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม IAMBEST Inventor Award 2024

ด้วยความสำคัญดังกล่าว สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เปิดเวทีนี้ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือที่ดี ให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นความก้าวหน้าในด้านวิชาการทางการศึกษาอันดียิ่ง

ภายในงานจัดให้มีการประกวดผลงานของนักศึกษา ระดับอาชีวะและมัธยมศึกษาทาวภาคใต้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วมี 2 วิทยาลัยจากจ.ตรังและชุมพร โดยแบ่งเป็น อาชีวะ 6 ทีม มัธยม 6 ทีม ผลิตภัณฑ์ต่างๆประกอบด้วย แผ่นแปะป้องกันยุงจากใบโหระพา , ซุปก้อนจากปลา ,ไม้เท้าสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยแจ้งเตือนผ่านสัญญาณเสียง ,สารเคลือเปลือกผลไม้จากการสกัดเปลือกแก้วมังกรและใบยางพารา และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากหางนมผสมสารสกัดผักกูดเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต เหล่านี้เป็นต้น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน