กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดโครงการพายเรือเพื่อเจ้าพระยาเก็บขยะจากปากน้ำโพถึงอ่าวไทย
นครสวรรค์-เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (1 ตุลาคม 2562) ที่บริเวณแหล่งท่องเที่ยว “พาสาน” ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ นายชัชวาลย์ ฉายาบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการ Stop Plastic Waste – Save Marine Life! “ชวนคนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ!” ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจิตอาสา จัดทำขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเชิญชวนคนไทยให้เลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเชิญชวนคนไทยให้เลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ โดยมีนักพายเรือและจิตอาสานักพายเรือและจิตอาสา ใช้เรือกว่า 20 ลำ เข้าร่วมกิจกรรมพายเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยากันอย่างคับคั่ง
ส่วนกิจกรรม เริ่มต้นจากการทำพิธีเปิดโครงการ “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา” กันที่บริเวณ พาสาน สัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีการปล่อยขบวนเรือ เพื่อพายเก็บขยะตามลำน้ำไปจนถึงบริเวณหน้าวัดศรีสุวรรณ (เขื่อนแดง) เป็นระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร จากนั้น จึงมีการนำขยะที่เก็บได้ ขึ้นฝั่งมาร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในบริเวณวัด ในการคัดแยกขยะเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการเสวนาให้ความรู้หัวข้อ “การเมืองของคนรุ่นใหม่กับการแก้ปัญหาการทิ้งขยะในแม่น้ำของคนไทย ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสภาวะโลกร้อน” ด้วย หลังจากนั้น จิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด จึงได้ร่วมออกพายเรือเก็บขยะกันต่อ บริเวณคลองปากทางเข้าบึงบอระเพ็ด ไปตามลำคลองวังมหากรมุ่งหน้าเข้าสู่วัดท่าตะโก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เป็นระยะทางกว่า 26 กิโลเมตร
สำหรับโครงการชวนคนไทยเลิกทิ้งขยะลงแม่น้ำ ปีนี้ จ.นครสวรรค์ ถือเป็นจังหวัดแรกที่มีการเปิดโครงการดังกล่าว โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวนฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงโครงการว่า จะทำการพายเรือเก็บขยะผ่านพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 10 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทาง 400 กิโลเมตร
โดยนักพายเรือมืออาชีพทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมถึงอาจารย์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ ร่วมแรงร่วมใจกันพายเรือเพื่อเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขยะที่เก็บได้จะมีการคัดแยกเพื่อให้ชุมชนทุกจังหวัดได้เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกต้องและยั่งยืนต่อไป.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: