วันที่ 16 ก.ค. 2563 นายพูนสถิตย์ วงศ์สวัสดิ์ ผู้อํานวยการสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลําปาง พร้อมด้วย นางทิพวรรณ เศรษฐพรรค์ ผู้อํานวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ กองการต่างประเทศ และ นายพีระเมศร์ ตื้อตันสกุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดลําปาง (นายสุรพล บุรินทราพันธุ์) เพื่อมอบสําเนาใบประกาศพื้นที่สงวนชีวมณฑล ป่าสักห้วยทาก ให้แก่ทางจังหวัดลําปางพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Huay Tak Teak Biosphere Reserve) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ อ.งาว จ.ลําปาง เป็นพื้นที่ที่ถือว่ามีความสําคัญในระดับนานาชาติ พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทากประกาศจัดตั้งขึ้นภายใต้โปรแกรม ด้านมนุษย์และชีวมณฑล (Man and the Biosphere Programme) ของยูเนสโก ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ด้วยความโดดเด่น ของพื้นที่ที่เป็นแหล่งไม้สักที่มีพันธุกรรมที่ดีที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง และที่ผ่านมาได้แสดงถึงศักยภาพในการเป็นพื้นที่สาธิต ทั้งด้านการสร้างการอนุรักษ์ ส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่พื้นอื่นๆ
ในระดับนานาชาติการดําเนินงานที่ผ่านมาของพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทากที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุน การกํากับดูแล ให้ข้อเสนอแนะโดยทางจังหวัดลําปางและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเน้นที่การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับ ความสําคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑลในจังหวัดลําปาง โดยเฉพาะ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสําคัญของท้องถิ่น และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชนในพื้นที่ การส่งเสริมความรู้เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ในท้องที่ และรับฟังความคิดเห็นของท้องถิ่นถึงทิศทางการพัฒนาที่สร้างความยั่งยืน
ข่าวน่าสนใจ:
ปัจจุบันพื้นที่สงวนชีวมณฑลในประเทศไทย มีจํานวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา 2) พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จ.เชียงใหม่ 3) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก อ.งาว จ.ลําปาง และ 4) พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จ.ระนอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในฐานะหน่วยงานหลักการ ประสานงานโปรแกรมด้านมนุษย์และชีวมณฑลในประเทศไทย เล็งเห็นถึงประโยชน์ของสถานะพื้นที่สงวนชีวมณฑล ซึ่งเป็นหนึ่งในสามสถานะพื้นที่ที่มีความสําคัญของยูเนสโก (มรดกโลก พื้นที่สงวนชีวมณฑล อุทยานธรณีโลก) ที่จะสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ อ.งาว จังหวัดลําปาง และพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย ผ่านทางแนวคิดของพื้นที่ สงวนชีวมณฑล ที่ต้องการเป็นพื้นที่สาธิต ค้นหาคําตอบในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความเจริญของมนุษย์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: