การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เหมืองแม่เมาะ ยังคงเข้มงวดดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ทุกคนก่อนเข้าพื้นที่ , กำหนดมาตรการเดินทางข้ามเขตจังหวัดลำปางต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชาและเมื่อเดินทางกลับเข้าพื้นที่ต้องบันทึกลำดับเหตุการณ์และประเมินความเสี่ยงก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง เป็นต้น
นายมาโนช ชูชาติวรรณกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ (ชชม.) เปิดเผยว่า เหมืองแม่เมาะ มีภารกิจหลักในการจัดหาถ่านหินลิกไนต์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งผู้ปฏิบัติงานกองปฏิบัติการระบบขนส่งวัสดุ (กปร-ช.) ฝ่ายการผลิตเหมืองแม่เมาะ (อผม.) ถือเป็นกำลังสำคัญในงานดังกล่าว ในการโม่และลำเลียงถ่านหินลิกไนต์จัดส่งไปยังโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มดังกล่าวก็ได้ดำเนินมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด ถึงแม้ในส่วนของจังหวัดลำปาง ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ยังไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเติมจาก 3 รายก่อนหน้านี้ ที่เป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งทั้งหมดได้รับการรักษาและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้กระทบกับการส่งถ่านให้กับโรงไฟฟ้า ในกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดขยายวงกว้างมากขึ้น กฟผ.เหมืองแม่เมาะ จึงได้วางมาตรการป้องกันเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. มาตรการป้องกันแบบเข้มข้น กรณีเกิดการระบาดรุนแรง กำหนดให้อาคาร Conveyer Control Center (CCC) ชั้น 3 เป็นพื้นที่ควบคุม ไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด , สวมหน้ากากตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน และใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือทุกครั้งก่อนขึ้นอาคาร CCC รวมถึง การจัดรถรับ-ส่ง แยกต่างหากเฉพาะ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่อง (OP.CCC) , กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักร (OP.เครื่องจักร) และหัวหน้างาน โดยกำหนดจำนวนผู้ปฏิบัติงาน 7 คนต่อรถตู้ 1 คัน พร้อมกับทำความสะอาดพื้นที่ชั้น 3 อาคาร CCC ด้วยการฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี (UVC) เป็นเวลา 1 ชั่วโมงเป็นประจำทุกสัปดาห์
และ 2. มาตรการตอบโต้ กรณีตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีขั้นตอน ดังนี้ 2.1 ระบุกลุ่มงานที่มีความเสี่ยงสัมผัส ผู้ติดเชื้อยืนยัน , 2.2 กลุ่มเสี่ยงสูงให้เข้าสู่มาตรการควบคุมโรคโดย การกักกันตนเองในสถานที่ควบคุมเป็นที่พักอาศัย (Home Quarantine) อย่างเคร่งครัด 14 วัน หากไม่มีอาการผิดปกติให้ตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนเข้าทำงาน ระหว่างนั้น ให้จัดผู้ปฏิบัติงานที่อยู่กะ OFF เข้ามาปฏิบัติงานแทน 2.3 กลุ่มเสี่ยงต่ำให้ปฏิบัติงานตามปกติ แต่ให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมสังเกตอาการตนเอง (Self Monitoring) อย่างเคร่งครัด เป็นเวลา 14 วัน , 2.4 ปฏิบัติตามมาตรการของกรมควบคุมโรค , 2.5 กรณีพบผู้ป่วยยืนยันเป็น กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่อง (OP.CCC) ให้ผู้ปฏิบัติงานไปปฏิบัติงานที่ศูนย์ควบคุมสำรอง (Client) ที่อาคารแผนกบำรุงรักษาไฟฟ้าระบบขนส่งวัสดุ (หบฟ-ช.)และ 2.6 กรณีจำเป็นให้ผู้ปฏิบัติงานที่เหลืออีก 3 กะ จำนวน 44 คน มาปฏิบัติงานกะละ 11 คน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน ประกอบด้วยรายละเอียดงานสำคัญ ดังนี้ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่อง (OP.CCC) จำนวน 2 คน , **OP.CR จำนวน 2 คน , OP.REC. จำนวน 1 คน , OP.ST 1 คน , ชุดช่าง 3 คน และหัวหน้าแผนก-หัวหน้างาน จำนวน 2 คน
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: