งานประชาสัมพันธ์ กฟผ.แม่เมาะลำปางออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2564 อยู่ในขั้นวิกฤติ มีผลกระทบต่อทั้งน้ำใช้สำหรับการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมถึงความเสี่ยงต่อความมั่นคงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งซากโครงสร้างอาคารในพื้นที่เขื่อนแม่จางเป็นหลักฐานที่หลงเหลือของชุมชนสบม่ำ ที่นานครั้งจะปรากฏมาให้เห็น ซึ่งหากนับรวมกับการปรากฏขึ้นมาเหนือน้ำครั้งแรกในปี 2559 ปีนี้เป็นการปรากฏครั้งที่ 2 ตั้งแต่มีการก่อสร้างเขื่อนแม่จาง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็น
พื้นที่ชุมชนสบม่ำเป็นหนึ่งในแหล่งน้ำที่น้ำแม่จางไหลผ่าน ก่อนเข้าสู่อ่างแม่จางที่ดูแลโดย กฟผ.แม่เมาะ โดยจากข้อมูลล่าสุด (1 มีนาคม 2564) อ่างแม่จางมีปริมาณน้ำคงเหลือใช้ได้คิดเป็น 17.75% ซึ่งหากไม่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเพิ่มในอ่าง จะมีน้ำเพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าไปได้ถึงแค่ราวเดือนพฤษภาคมเท่านั้น ทั้งนี้คณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (คทน-ฟม.) ได้วางแผนและกำหนดมาตรการต่างๆให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะมีน้ำใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าไปจนกว่าน้ำฝนจะตกลงมาเติมเต็มความแห้งแล้งอีกครั้ง ทั้งการปิดซ่อมคลองส่งน้ำแม่จางเพื่อลดการรั่วไหลของน้ำ รณรงค์ให้ประหยัดน้ำภายในองค์กรพร้อมทั้งลดการใช้น้ำฉีดล้างภายในโรงไฟฟ้าและระบบสำรองดับเพลิง ตลอดจนการวางแผนหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางโรง พร้อมปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
หมู่บ้านสบม่ำเป็นชุมชนที่เคยอาศัยอยู่บริเวณเหนือเขื่อนแม่จางและเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ยอมเสียสละพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนให้มีน้ำเพียงพอผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศไทย โดยได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ในปัจจุบัน ภายหลังดำเนินการสร้างเขื่อนแม่จางเสร็จระดับน้ำได้สูงขึ้นจนท่วมหมู่บ้านสบม่ำให้จมอยู่ใต้น้ำ จนกระทั่งในปีปัจจุบันระดับน้ำได้ลดลงและเผยให้เห็น ซากโครงสร้างอาคารเก่าที่ยังหลงเหลือของหมู่บ้านสบม่ำอีกครั้ง ถือเป็นวิกฤตที่ระดับน้ำในเขื่อนแม่จางลดลงอย่างมากในรอบ 42 ปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: