พิธีบูชาผีขุนน้ำเพื่อขอฝน หรือที่เรียกว่าพิธี “มาบุ มะโข่” เป็นพิธีกรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ชาวบ้านจะนำฟางข้าว ไม้ไผ่ เเละผ้าขาว มาประดิษฐ์เป็นรูปช้างเผือกจำลอง ก่อนจะจัดขบวนแห่ ร้องรำทำเพลงด้วยความคึกคักสนุกสนาน เข้าไปยังสถานที่ประกอบพิธีในป่าต้นน้ำ ภายใต้การนำของพระอภิชาติ ชินวโร (ครูบาดง) คณะสงฆ์ พร้อมด้วยผู้นำชุมชน เเละชาวบ้าน
เพื่อเป็นการขอขมาป่าต้นน้ำลำธารและขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ในฤดูเพาะปลูก ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้
นายศรีมา ปาละอ้าย ผู้ใหญ่บ้านโป่งน้ำร้อนเปิดเผยว่า พิธีมาบุมะโข่ เป็นพิธีที่สำคัญประจำชุมชน ที่แสดงถึงความร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน และเป็นการสืบทอดเจตณารมณ์ในการช่วยการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร
เพราะถ้ามีป่าเราก็จะมีน้ำใช้ตลอดไป
สำหรับฟางข้าว ที่เป็นองค์ประกอบของรูปช้างเผือกจำลองนั้น คือสัญลักษณ์เเทนความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร ชาวปวากะญอถือว่าการมีข้าวเต็มยุ้งฉางนั้น แสดงถึงชีวิตที่ดี
ไม่จำเป็นจะต้องมีบ้านหลังใหญ่โต หรือร่ำรวยเงินทอง มีชีวิตแบบสมาถะ ท่ามกลางป่าต้นน้ำ และธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: