เมื่อเช้าวันที่วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ชาวบ้านในชุมชนท่ามะโอและชัมชนใกล้เคียง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงามที่สืบทอดมายาวนานเนื่องในวันออกพรรษา โดย จัดพิธี ต่างข้าวซอมต่อ หรือ บูชาข้าวทิพย์ถวายองค์พระพุทธรูปในพระวิหาร วัดประตูป่อง และวัดท่ามะโอซึ่งเป็น วัดเก่าแก่ของชุมชน ซึ่งภายในพระวิหารวัดประตูป่อง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พระครูวิทิตวรเดช เจ้าอาวาท วัดประตูป่อง ได้ประกอบพิธีทางศาสนา สวนมนต์สวดบูชาข้าวทิพย์ ก่อนที่จะนำ ข้าวซอมต่อหรือข้าวทิพย์ ถวายแด่องค์พระพุทธรูปในพระวิหารแห่งนี้ จากนั้น พุทศาสนิกชนต่างร่วมกันถวายข้าวซอมต่อหรือข้าวทิพย์ ตามลำดับ โดยการทำพิธีในครั้งนี้ได้ทำพร้อมๆ กันทั้ง 2 วัดคือวัดประตูป่องและวัดท่ามะโอ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในชุมชนแห่งนี้
ทั้งนี้ ประเพณีต่างข้าวซอมต่อ เป็นประเพณีของชาวล้านนาในจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน เช่น ลำปาง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย แพร่ น่าน ฯลฯ ประเพณีต่างข้าวซอมต่อ ก่อให้เกิดการจัดหาของใช้ที่จำเป็นเพื่อใช้สอยในวัดในสมัยที่ ผ่านมา เช่น ถ้วยชาม แก้วน้ำ เสื่อ เพื่อใช้กับส่วนรวม คือ ปีไหนทางวัดขาดแคลนสิ่งใด ก็จัดหาสิ่งนั้นมาต่างข้าว คือ เป็นภาชนะบูชาข้าวทิพย์ที่ได้กวนในวันออกพรรษา ระยะเวลาและวิธีการในประเพณีต่างข้าวซอมต่อ นิยมทำกันในวันออกพรรษา หรือ แรม 1 ค่ำ คือ ก่อนจะถึงวันงาน คณะศรัทธาจะมา ร่วมกันตกแต่งสถานที่ในวิหารของวัด เพื่อเป็นที่บูชาข้าวทิพย์ และประชาสัมพันธ์ให้ พุทธศาสนิกชนมาร่วมทำบุญ โดยนำเอาภาชนะหรือสิ่งของที่ทางวัดต้องการใส่ ข้าวสาร เนย งา น้ำผึ้ง น้ำตาล ถั่วลิสง นม ผลไม้ ขนม (แล้วแต่ศรัทธา) นำมารวม กันในตอนบ่ายของวันก่อนวันออกพรรษา 1 วัน พอวันรุ่งขึ้นตั้งแต่เวลา 04.00 น. – 05.00 น. (ตี 4 ถึง ตี 5) คณะศรัทธาจะมาร่วมกันนึ่งข้าว หุงข้าว กวนข้าวทิพย์ บริเวณที่ทำพิธี หลัง จากนั้นมีพิธีสวดบูชาข้าวทิพย์ เป็นอันเสร็จพิธี เมื่อชาวบ้านมาทำ บุญวันออกพรรษา ก็จะได้รับข้าวทิพย์เพื่อไปรับประทานเป็นสิริมงคลกับตนเอง ปัจจุบัน พิธีการบางอย่างได้ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงสืบสานประเพณี ให้คงอยู่คู่เมืองลำปาง ในชุมชนท่ามะโอ จะจัดทำในวันออกพรรษาของทุกปีที่วัดประตู ป้อง ถนนป่าไม้ และ วัดท่ามะโอ ถนนราษฎร์วัฒนา ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: