เมื่อช่วงดึกวันที่ 20ธ.ค.2564 ที่ผ่านมา ชาวบ้านบ้านหนอง ต.น้ำโจ้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง และเจ้าหน้าที่ด้านสัตว์ป่า สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่13(ลำปาง) ได้นำซากกวางผา เพศผู้ อายุประมาณ 4-5 ปี น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม .ใส่รถกระบะเดินทางมาที่ สภ.แม่ทะ ลำปาง เพื่อแจ้งความและลงบนทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ก่อนที่เจ้าหน้าที่ด้านสัตว์ป่า สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่13(ลำปาง) จะนำซากกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน ไปตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์หาสาเหตุของการตาย และจะได้ทำลายซากตามระเบียบต่อไป
สอบถามนายไพศาล ใจปินตา อายุ 58 ปี ชาว บ้านหนอง หมู่ที่ 9 ต.น้ำโจ้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นคนพบกวางผาคสนแรก เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ15.00น.วันที่ 20 ธ.ค.2564 ขณะที่ตนกับเพื่อนบ้าน กำลังช่วยกันมัดฟางข้าว อยู่กลางทุ่งนาบริเวณ ท้ายหมู่บ้าน เห็นสัตว์ไม่ทราบชนิดวิ่งและกระโดด ไปมาอยู่กลางทุ่งนา จึงได้ช่วยกันจับตัวไว้ โดยสภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่มีบาดแผลจากการถูกทำร้าย ก่อนที่จะรีบนำไปไว้ที่บ้าน ตอนแรกยังไม่รู้ว่าเป็นกวางผา คิดว่าเป็นกวางเลี้ยงหลุดออกจากกรง แต่สอบถามคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง ไม่มีใครเลี้ยง จึงสอบถามหลานชายช่วยกันเปิดกูเกิลเพื่อหารูปภาพ ว่าเป็นสัตว์ชนิดใด เมื่อทราบว่าเป็นกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์สงวน จึงได้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ด้านสัตว์ป่า สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่13 (ลำปาง)เข้ามาตรวจสอบ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึง กวางผา ได้เกิดเอาการชักและเสียชีวิตลง ซึ่งได้มีการถ่ายคลิปไว้เป็นหลักฐาน
นายไพศาล ใจปินตา เปิดเผยต่อว่า ในใจคิดว่ากวางผา คงจะตกใจคน สุนัข และไม่ได้กินอาหาร แต่ชาวบ้านหลายคนคิดว่า กวางผา ตัวดังกล่าวอาจจะถูกนายพรานไล่ล่า จากป่าพื้นที่ของเวียงโกศัย ที่เป็นสันเขากั้นระหว่างอำเภอแม่ทะ กับอำเภอลอง ของจังหวัดแพร่ วิ่งหนีตายมาไกลจนหมดแรงและอาจจะเกิดอาการช็อค จนเสียชีวิต
ทั้งนี้ จากข้อมูล พบว่า กวางผาเป็นหนึ่งใน 15 สัตว์สงวน กวางผาเป็นสัตว์จำพวก แพะแกะเช่นเดียวกับเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่มากกว่า 50 เซนติเมตร เพียงเล็กน้อย และมีน้ำหนักตัวประมาณ 30 กิโลกรัม ขนบนลำตัวสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนเทา มีแนวสีดำตามสันหลงไปจนจดหาง ด้านใต้ท้องสีจางกว่าด้านหลัง หางสั้นสีดำ เขาสีดำมีลักษณะเป็นวงแหวนรอบโคนเขา และปลายเรียวโค้งไปทางด้านหลัง อุปนิสัย ออกหากินตามที่โล่งในตอนเย็น และตอนเช้ามืด หลับพักนอนตามพุ่มไม้ และชะง่อนหินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พืชที่ขึ้นตามสันเขาและหน้าผาหิน เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกลูกก่อ กวางผาอยู่รวมกันเป็นฝูงๆละ 4-12 ตัว ผสมพันธุ์ในราวเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ออกลูกครอกละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือนกวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า 1 เมตรเขตแพร่กระจาย กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตากกวางผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยและอนุสัญญา CITES จัดไว้ในAppendix I
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: