X

ลำปาง ผู้บริหารสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลเข้าชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงหลังชาวบ้านคัดค้านการก่อสร้าง


หลังจากชาวบ้านสองแคว เหนือ หมู่ที่ 1 บ้านสองแควใต้ หมู่ที่ 2 และบ้านสองแควสันติสุข หมู่ที่ 9 ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง ออกมาต่อต้าน โรงไฟฟ้าชุมชน ซีวีกรีน ลำปาง ขนาดกำลังผลิต 6.6 เมกะวัตต์ ทำให้ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเกาะคา โดยนายธนารัฐ สายเทพ นายอำเภอเกาะคา (ขณะดำรงตำแหน่งนายอำเภอเกาะคา) หลังได้รับเรื่องร้องทุกข์,ร้องเรียน จาก ชาวบ้านเรื่องขอคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่บ้านสองแควเหนือ เขตติดต่อกับบ้านนางแตน ม.1 ต.ท่าผา เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและให้ได้ข้อเท็จจริงจึง เชิญ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วม ประชุมเพื่อทางออก
ล่าสุดโดยก่อนหน้านี้ นายบุญธรรม วงค์ศร ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ได้ยื่นหนังสือคำร้อง แก่ทางเทศบาลตำบลนาแก้ว ซึ่งนายกฤษฎา แสงแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว ได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารปี พ.ศ.2522 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน และการประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่นั้น ทางเทศบาลตำบลนาแก้ว ยังไม่มีการขอตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินว่าด้วยผังเมืองในพื้นที่ก่อสร้างโครงการโรง86% พร้อมทำหนังสือแจ้งก.ก.พ. เขต 1 จ.เชียงใหม่ เพื่อทบทนให้ยุติโครงการตามที่ชาวบ้าน ร้องเรียนแล้ว ในพื้นที่ ชาวบ้านยังติดป้ายประท้วงตามรั้ว ตามถนน และหน้าบ้าน และมีการถอนรายชื่อสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ไปแล้ว 123 ราย


ขณะเดียวกันคณะผู้บริหารบริษัท ชีวี กรีน ลำปาง จำกัด ซึ่งเป็นโครงการ โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) ซึ่งจะก่อสร้างในบริเวณพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านสองแควเหนือ ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคาจังหวัดลำปางได้เข้าพบ พลังงานงานจังหวัดลำปาง และนายอำเภอเกาะคา เพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงข้อเท็จจริง ประเด็นกรณีมีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปางแล้ว
ด้านนายณัชปัณฑ์ธร กีรติกรพิสุทธิ ผู้จัดการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์บริษัท Clover Power จำกัดมหาชน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซีวีกรีน ลำปาง จำกัด ได้ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเชื้อเพลิงชีวมวลและพลังงานเพื่อชุมชนอำเภอเกาะคา ซึ่งโครงการดังกล่าว มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 (ครั้งที่ 149) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2562 และในการประชุมครั้งที่ 2/2563 (ครั้งที่ 151) เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงานมีรายได้ที่แน่นอน จากการขายเชื้อเพลิงในรูปแบบเกษตรพันธสัญญา และร่วมรับผลประโยชน์ตอบแทนจากโรงไฟฟ้า รวมถึงให้โรงไฟฟ้ามีส่วนสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง ประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำร่อง)พ.ศ. 2564 จัดตั้งโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก กำลังผลิตติดตั้ง 6.6 เมกะวัตต์ (VSPP) ผลิตเพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากเชื้อเพลิงชีวมวลจากในพื้นที่ตามฤดูกาล เช่น ข้าวโพด ไม้สับ ไม้ไผ่ ฟางข้าว พืชพลังงาน ที่มาจากการส่งเสริมปลูกไม้โตเร็ว ในพื้นที่จังหวัดลำปางเป็นส่วนใหญ่ โดยวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้รวบรวมในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ 240 ตันต่อวัน

ซึ่งการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม จะมีการควบคุมการจัดการกากของเสีย ส่งกำจัดโดยผู้ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง และไม่มีน้ำทิ้งจากกระบวนการ (Zero Discharge) ส่วนกลิ่นจากกระบวนการผลิต เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่แห้ง ส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่น หรือถ้าเชื้อเพลิงชื้นมากๆก็อาจจะมีบ้างในบริเวณโกดังปิด ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน รวมถึงการบําบัดมลพิษทางอากาศ ใช้ระบบดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูง (ESP) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถดักกรอกฝุ่นขนาด0.01ไมครอนได้ มีการตรวจสอบและแสดงผลแบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด โดยสิ่งแวดล้อมจังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัด จะมีการสุ่มตรวจสอบที่ปากปล่องและชุมชนใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมอ ส่วนความร้อนจากกระบวนการผลิต ในการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะดำเนินการในระบบปิดโดยใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยควบคุมจะไม่ส่งผลต่อพนักงาน โรงงาน และชุมชนรอบข้าง สำหรับเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเท่านั้น คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พืชโตเร็ว พืชพลังงาน ไม่สามารถใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นตามข้อกังวลได้ เนื่องจากเป็นการทำสัญญาขายไฟฟ้าจากชีวมวลเท่านั้น และใบอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ) อุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งหากใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น จะต้องถูกยกเลิกสัญญา

 

ด้านมาตรการ การขนส่งโครงการมีมาตรการ การขนส่งเครื่องจักรช่วงระยะก่อสร้าง และการขนส่งเชื้อเพลิง ในการจัดการจราจร โดยจะใช้รถบรรทุกขนาดเล็กขนส่งเชื้อเพลิงจากจุดพักข้างนอกเข้ามาในโรงงาน และกำหนดช่วงเวลาในการขนส่งเพื่อให้กระทบต่อชุมชนให้น้อยที่สุด สาวนประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับ คือ การแบ่งปันผลประโยชน์จากรายได้โรงไฟฟ้าให้แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยโครงการได้มีบันทึกข้อตกลง(MOU)ในวงเงิน 200,000 บาทต่อปี กองทุนรอบโรงไฟฟ้า ในช่วงก่อสร้างสบทบเงิน 330,000 บาทต่อปี ในระหว่างการผลิตไฟฟ้า ตลอดอายุสัญญา สูงสุด 480,000 บาทต่อปี
ขณะเดียวกัน กลุ่มคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่โจ้ นำโดย นายประหยัด ทรงคำ นายกเทศมนตรีเมืองแม่โจ้, นายธนวัฒน์ ปาขันธ์ ประธานสภาเทศบาลเมืองแม่โจ้ ,นายสุริยะ จันทร์ขาว รองนายกเทศมนตรี , นายสุรศักดิ์ ภีระคำ (รองนายก) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ,นางพรรณิภา สายหยุด (รองนายก) กองการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม, น.ส.หฤทัย ดอกกุ่ม เลขานุการนายกเทศมนตรี

ใจ
พร้อมทั้ง คณะของ ดร.ไชยยันต์ วิริยา นายกเทศมนตรีตำบลป่าไผ่ อ.สันทราย พร้อมทีมงาน , ท่าน สจ.จำเริญ ย่างไพบูลย์ ส.อบจ.เชียงใหม่ (เขต อ.พร้าว), นายผล รองวิลัย รองนายกเทศมนตรีตำบลแวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ พร้อมทั้งคณะผู้บริหารท้องถิ่น ได้เดินทางศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาด 4.9. MW.ณ.บริษัท โคลเวอร์ พิษณุโลก จำกัด ,และศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าขยะชุมชนต้นแบบ ขนาด 2 MW ณ.บริษัท โคลเวอร์ พิจิตร จำกัด โดยมีนายณัชปัณฑ์ธร กีรติกรพิสุทธิ์ Community&Compliance Department Manager , นาย สมนึก หาญพิเศษ ที่ปรึกษาบริษัทฯ ให้การต้อนรับ และให้ข้อมูล และมี นายศักดิ์ปรินทร์ เกษมธนพัฒน์ อนุกรรมาธิการศึกษาโรงไฟฟ้าชุมชน ในกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมศึกษาดูงาน ทั้งนี้เพื่อศึกษาหาข้อมูลข้อดีและข้อเสียของการดำเนินกิจการ ในการที่จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน