นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นางธิติพร จินดาหลวง ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำปาง และตัวแทนคณะผู้บริหาร นักวิชาการ หัวหน้าหน่วยงาน คณะทำงานระดับพื้นที่จาก 7 องค์กรภาคีเครือข่ายในจังหวัดลำปาง ร่วมเดินทางลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “พัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ” ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเถิน” ซึ่งทางอำเภอได้มีการเริ่มนำร่องดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการฯ อยู่ในเขตท้องที่ตำบลนาโป่ง โดยการลงพื้นที่มีนายสมศักดิ์ วัชรธาดาพงศ์ นายอำเภอเถิน ได้เป็นตัวแทนนำกลุ่มเครือข่ายชุมชนในเขตท้องที่ 12 หมู่บ้าน ที่เข้าร่วมโครงการฯ มาให้การต้อนรับคณะพร้อมกับร่วมนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานภาพรวมในด้านต่างๆ ณ ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโป่ง
ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ทางจังหวัดลำปางได้กำหนดให้ทุกเขตท้องที่ต้องมีการดำเนินการเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ เป็นรูปธรรมและยั่งยืนในทุกๆ พื้นที่ทั่วจังหวัด โดยมีเป้าหมายที่จะให้การพัฒนานำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งการดำเนินงานขจัดความยากจน ทางอำเภอเถิน ได้มีการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และศาสนา เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปยังประชาชนกลุ่มเปราะบางคนยากจนและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งได้ร่วมกันทำงานสร้าง “โมเดลแก้จน” จัดทำโครงการเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางและคนจนกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยมิติศักยภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
ด้านฐานทุนที่จะก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมทั้งระบบ โดยปัจจุบันได้ส่งต่อความช่วยเหลือไปยังกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินโครงการลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ขจัดความยากจน และพัฒนากลุ่มคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปแล้ว ในเขตพื้นที่นำร่องของตำบลนาโป่ง 12 หมู่บ้าน ซึ่งได้มีการดำเนินงานโครงการด้านต่างๆ ครอบคลุมใน 4 มิติ ทั้งมิติด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา และด้านรายได้ โดยมีโครงการที่ได้ดำเนินการอาทิเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น, การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก, การฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน และการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่าอาชีพหลัก เป็นต้น
ในโอกาสนี้ทางชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้าน ในเขตท้องที่ตำบลนาโป่ง ได้มีการนำผลงานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นผลผลิตจากการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาจัดแสดงและจำหน่าย ซึ่งก็มีสินค้าที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น สินค้าเกษตรปลอดภัย สินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์อาหาร พืชสมุนไพร รวมถึงผลิตภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติ และเครื่องจักสาน เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: