นายแพทย์ประเสริฐ กิจสุวรรณรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง กล่าวว่า จังหวัดลำปาง สัปดาห์ที่ 16 ของปี 2566 (วันที่ 17-23 เมษายน 2566) พบผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จำนวน 164 ราย พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 23 เมษายน 2566 จำนวน 2,225 ราย อัตราป่วย เท่ากับ 306.30 ต่อแสนประชากร และสัปดาห์นี้ไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้เสียชีวิตสะสม 1 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.04
มาตรการป้องกันการระบาดโควิด 19 หลังสงกรานต์ 2566 สำหรับประชาชน 1.เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปีโดยเฉพาะ สำหรับกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ไปพร้อมกันได้2.สวมหน้ากากในที่สาธารณะ โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรม หรือไปสถานที่ที่กลุ่ม 607 จำนวนมาก เช่นโรงพยาบาล สถานดูแลผู้สูงวัน 3.ให้สังเกตอาการป่วย ช่วง 7 วันหลังร่วมกิจกรรม และตรวจ ATK เมื่อมีอาการทางเดินหายใจ ไข้ ไอ เจ็บคอ หากตรวจพบผลเป็นบวก
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อใกล้ชิดคนอื่น เลี่ยงใกล้ชิดกลุ่ม 608 เลี่ยงไปในสถานที่มีคนจำนวนมาก หากมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ให้รีบพบแพทย์
ข่าวน่าสนใจ:
- รับสมัคร นายก อบจ.มหาสารคาม "คมคาย"ตัวเต็งจับมือ"อ้ายเปิ้ล"สัญญาสู้กันในเกมส์
- คอกาแฟแห่เที่ยวงานพังงาคอฟฟี่เจอร์นี่ ซีซั่น 3 ภายใต้รูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Coffee in the Park ในสวนสมเด็จฯพังงา
- เปิดศึกชิงนายก อบจ.ปัตตานี อดีต สส.ท้าชน อดีตนายก อบจ.4 สมัยเดือดตั้งแต่วันแรก (มีคลิป)
- คึกคักกว่าทุกปีสุดยอดงานสืบสานประเพณีตีคลีไฟหนึ่งเดียวในโลก!
สำหรับกลุ่ม 608 หรือผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสหรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป กรณีผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไปพบแพทย์ หากมีสมาชิกครอบครัว เพื่อน ตรวจ ATK พบผลเป็นบวก ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ให้แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ เพื่อติดตามควบคุมการระบาดต่อไป
วัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ในปัจจุบัน 1.วัคซีนของบริษัท Pfizer เป็นวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ ที่เจาะจงกับเชื้อไวรัส 2.วัคซีนของบริษัท Moderna ชนิด Bivalent เป็นวัคซีน 2 สายพันธุ์ประกอบด้วยสารพันธุกรรม mRNA ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม และ mRNA ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนอย่างละครึ่ง
3.วัคซีนของ บริษัท AstraZeneca เป็นวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ ใช้ไวรัสที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) นำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด19 คำแนะนำการให้วัคซีนโควิด 19 และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี สำหรับประชาชนฉีดปีละ 1 เข็ม เริ่มปี 2566 เป็นต้นไป
ฉีดตั้งแต่เดือนเมษายน ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ฉีดห่างจากเข็มสุดท้าย หรือการติดเชื้อครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 3 เดือน ฉีดพร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยฉีดที่ต้นแขนคนละข้าง หากฉีดไม่พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะเว้นระยะเวลา ห่างกี่วันก็ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: