เมื่อช่วงสายวันนี้ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่โคกหนองนา สวนเสรเฮฮา บ้านนาป้อใต้ ต.ต้นธงชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายก อบจ.ลำปาง กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมงาน “วันดินโลก” เครือข่ายกสิกรรมภาคเหนือ โดยนางสาวนิติยา พงษ์พานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธานในพิธี นายสำรวย จิตใส ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติจังหวัดลำปาง กล่าวรายงาน
คณะกรรมการเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติจังหวัดลำปาง (คกช.ลำปาง) จัดกิจกรรมงาน “วันดินโลก”
เพื่อแสดงความจงรักภักดีและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชาด้านการพัฒนาต่าง ๆ สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดจัดงานขึ้นในวันที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2567
ข่าวน่าสนใจ:
- ปี 2568 หยุดการเล่นละคร ยุติการต่อสู้ของระบวนการ BRN!
- คู่แข่งตัวจริงมาวันสุดท้าย “กัปตันโป้ง” ท้าชิงเมียนายกก้อย ขอนั่งเก้าอี้นายก ทม.
- "กกต.นครพนมติวเข้ม! เครือข่าย ศส.ปชต. เสริมศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมเลือกตั้ง อบจ. อย่างมีคุณภาพ"
- ไร้ปาฏิหาริย์ สิ้น “อ.สุนทรี สังข์อยุทธ์” อดีตหัวหน้าหอจม.เหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ กวีซีไรต์ “จิระนันท์ พิตรปรีชา” โพสต์อาลัย
ภายในงานมีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย
ฐานคนรักษ์แม่ธรณี – (ปุ๋ย,น้ำหมัก และจุลินทรีย์ต่าง ๆ )
ฐานคนเอาถ่าน
ฐานคนมีน้ำยา
ฐานคนรักษ์สุขภาพ (กินอาหารเป็นยา, ฐานสุขภาพภูมิปัญญา และสมุนไพร)
ฐานเทคโนโลยีชาวบ้าน เครื่องมือต่างๆ
ฐานโรค และแมลง ศัตรูพืช
การเสวนาในหัวข้อ #ฮ้อนใบ้ฮ้อนง่าวหมู่เฮาจะยะจะใดดี โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่
อ.วิภา ภิญโญโชติวงศ์ (พี่ติ๊นา)
กรรมการมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติจังหวัดชลบุรี อาจารย์โจน จันได ผู้ก่อตั้ง สวนพันพรรณ จ.เชียงใหม่ เจ้าของวลีที่กล่าวว่า #ชีวิตต้องง่าย_ถ้ายากแปลว่ามันผิด อาจารย์ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ อดีตรองคณบดีและหัวหน้าภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ผู้เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านไร่ยายลิ้มพระวีระยุทธ์ อภิวีโร หรือ ครูบาจ๊อก ” พระนักพัฒนา” แห่งวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
อ.ไตรภพ โคตรวงษา (อ.เข้ม) กรรมการมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา
เป็นการเสวนาถึงสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและมากมาย เราจะทำอย่างไร
มีการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ชม มีอาหารที่ปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายที่มาร่วมงานให้ช้อป ให้ชิม มีแจกกล้าไม้ใส่เชื้อเห็ดป่า และแจกเชื้อเห็ดป่า เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ
มีการร่วมออกบูธจากหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: