สำนักงานสาธารณจังหวัดลำปาง เปิดเผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 สิงหาคม 2562 พบผู้ป่วย 562 ราย (ปี 2561 = 236 ราย) ซึ่งสูงกว่าปี 2561 ถึง 2.4 เท่า พบผู้ป่วยทุกอำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด 3 ลำดับ คือ สบปราบ แม่เมาะ และแม่พริก จังหวัดลำปางพบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ 51 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 3 ของภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันพบการระบาดใน 5 อำเภอ ได้แก่ ม.4 ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง ม.3 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ ม.4 ต.จางเหนือ อ.แม่เมาะ ม.1 ต.นาแส่ง อ.เกาะคา ม.1 ต.สันดอนแก้ว อ.แม่ทะ และ ม.5, ม.11, ม.12 ต.สบปราบ อ.สบปราบ อันดับ 1คืออำเภอสบปราบจำนวน 160 ราย อันดับ 2อำเภอแม่เมาะ 134 ราย อันดับ 3 อำเภอแม่พริก 34 ราย อันดับ 4 อำเภอแม่ทะ 45 ราย อันดับ 5 อำเภอเถิน 29 ราย อันดับ 6อำเภอ เกาะคา 28 ราย อันดับ 7 เมืองลำปาง 97 ราย อันดับ 8 แจ้ห่ม 7 ราย อันดับ 9 งาว 9 ราย อันดับ 10 ห้างฉัตร 8 ราย อันดับ 11อำเภอเมืองปาน 5 ราย อันดับ 12อำเภอเสริมงาม 4 ราย อันดับ 13 อำเภอวังเหนือ 2 ราย รวม 56 ราย
ส่วนโรคติดเชื้อไวรัสซิกาจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 สิงหาคม 2562 พบผู้ป่วยยืนยัน 9 ราย (ปี 2561=28ราย) และพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค(PUI) 137 ราย (ปี 2561 = 71 ราย) ที่ อ.แม่ทะ อ.แม่เมาะ อ.ห้างฉัตร และ อ.เสริมงาม โดยมีแนวโน้มที่สถานการณ์ของโรคจะแพร่กระจายไปอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดลำปาง ส่งผลกระทบกับประชาชนโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสซิกาทำให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสเกิดความผิดปกติทางโครงสร้างขึ้นได้ นอกจากนี้ยังอาจจะพบความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับตาอย่างรุนแรง
3.โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือชิคุนกุนยา สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายประเทศไทยปี 2562 มีแนวโน้มที่จะมีการระบาดมากกว่า 2561 ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 6 สิงหาคม 2562 พบผู้ป่วย 5,996 ราย จังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 สิงหาคม 2562 พบการระบาด 2 ครั้ง ในพื้นที่อำเภองาว ครั้งที่ 1 ที่ตำบลบ้านร้องอำเภองาว พบผู้ป่วยยืนยัน 8 รายและมีผู้ที่เข้าข่าย 54 ราย โดยสาเหตุมาจากมีผู้ป่วยจากจังหวัดภูเก็ตเดินทางมาในพื้นที่ และครั้งที่ 2 ที่ตำบลบ้านแหง พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย และมีผู้สงสัย 18 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดโรค (ลำปางพบผู้ป่วยล่าสุดปี 2552) จังหวัดลำปางพบอัตราป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายอันดับที่ 23 ของประเทศ เป็นอันดับที่ 2 ของภาคเหนือตอนบน
มาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอเชิญมาร่วมสัมผัส “ลมหนาว ริมฝั่งโขง ชมอุโมงไฟ ยาวที่สุด” ที่นครพนม
- รับบุญใหญ่ งานนมัสการองค์พระธาตุเชิงชุมฯ สกลนคร 6-13 มกราคม 2568 ร่วมบูชาเมล็ดข้าวใหญ่ในตำนานเมืองสกลนคร
- แห่ชมโคมไฟพร้อมรับลมหนาวทางเทศบาลตำบลตลุกดู่เนรมิตรให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว
- ชัยภูมิเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดใหญ่งานวันการศึกษาเอกชนภาคอีสาน!
ส่วนการรณรงค์จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (Big cleaning day) ในบ้านของตนเองและชุมชน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมถึงในพื้นที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน โรงธรรม โรงแรม โรงงาน และสถานที่ราชการ อย่างต่อเนื่อง
2. การป้องกันตนเอง ไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการนอนในมุ้ง ใช้โลชั่นทากันยุง
3. หากมีอาการไข้สูง ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ควรไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในสถานพยาบาลใกล้บ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: