ที่บริเวณห้วยป่าซาง รอยต่อระหว่างดอยพระบาทอ.เมือง ลำปาง-ดอยม่วงคำ อ.แม่ทะ จ.ลำปางนายบุญยะเดช ธิธรรมมา ผู้ใหญ่บ้านแม่ทะ ม.1 ต.แม่ทะ อ..แม่ทะ จ.ลำปาง ได้นำชาวบ้านในชุมชน เดินทางเข้าไปในป่าลึกเพื่อร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อความชุ่มชื้นให้กับป่า และป้องกันปัญหาหมอกควันไฟป่า
นายบุญยะเดช ธิธรรมมา ผู้ใหญ่บ้านแม่ทะ เปิดเผยว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ คือ การทำฝายชะลอน้ำ หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ซึ่งหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ขวางทางกั้นลำน้ำขนาดเล็กในบริเวณต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เพื่อให้น้ำที่ไหลมาแรงสามารถที่จะชะลอการไหลช้าลงและเก็บกักตะกอน เพื่อไม่ให้ลงไปสู่บริเวณลุ่มน้ำตอนล่างฝายชะลอน้ำ หรือ Check Dam คือสิ่งก่อสร้าง ที่ทำขึ้นเพื่อขวางหรือกั้นทางน้ำ โดยปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่ เป็นต้นน้ำ หรือ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากเป็นช่องที่น้ำไหลแรงก็สามารถช่วยในการชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงด้วย เพื่อการกักเก็บตะกอนเอาไว้ไม่ให้ไปทับถมลำน้ำตอนล่าง อันเป็นเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำนอกจากนี้ ยังช่วยให้ดูดมลพิษเนื่องจากที่ผ่านมา จังหวัดลำปางมีผลกระทบมากในเรื่องปัญหาหมอกควัน ไฟป่า
ข่าวน่าสนใจ:
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
“ตนเองมีแนวคิดต่อยอดในเรื่องการปลูกป่าหรือทำฝายชะลอน้ำอย่างจริงจังโดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ในเขตแม่ทะ หมู่ 1 และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะ บ.ปูนซีเมนต์ไทยลำปาง จำกัดมหาชน SCG ที่มาเป็นพี่เลี้ยงแนะนำและส่งเสริมการสร้างฝายชะลอน้ำ ซึ่งการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำที่แห้งและเสื่อมโทรม โดยมักจะสร้างในบริเวณร่องน้ำ เมื่อฝนตกฝายจะทำการชะลอน้ำไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป ทำให้ในบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ ดินเกิดการอุ้มน้ำ ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น พื้นที่มีความชุ่มชื้น อันจะส่งผลดีต่อบริเวณโดยรอบซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังช่วยในเรืองให้อากาศมีน้ำใช้ไม่แห้งแล้ง การเข้าป่าร่วมปลูกต้นไม้หรือทำฝายชะลอน้ำ เป็นการพลิกฟื้นผืนป่าและปลุกจิตสำนึกจะได้มีผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแมกไม้ป่าที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ลูกหลานเรา จะได้สูดอากาศที่สดชื่น มีน้ำมีป่าที่อุดมสมบูรณ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: