ลำปางเดินหน้า สร้างแบรนด์ “สับปะรดน้ำผึ้งลำปาง”
หลังจากทางจังหวัดได้ดำเนินโครงการ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผลผลิตสับปะรดเป็นสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานแบบครบวงจร ล่าสุด นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานมอบปัจจัยพัฒนาการผลิตสัปปะรดคุณภาพ พร้อมด้วยเครื่องมือการเกษตรและวัสดุการเกษตร สำหรับการปลูกสับปะรดแบบคลุมพลาสติค แก่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)อำเภอเมือง จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดรวมกันเป็นแปลงใหญ่ ปัจจัยการผลิตที่มอบให้เกษตรกรครั้งนี้ ประกอบด้วย รถไถนาขนาด 60 แรงม้า 1 คัน พร้อมอุปกรณ์เสริม เครื่องมือการเกษตร ด้วยเครื่องตัดหญ้า ล้อเข็นพร้อมหัวพรวนดิน และหัวพ่น ชีวภาพ ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 100 ลิตร
ข่าวน่าสนใจ:
- นบ.ยส.24 บูรณาการร่วมกับกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สสจ.นครพนม และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมหารือตรวจพื้นที่อาคารหลังศูนย์ฟื้นฟู…
- ไอเดียเจ๋ง ! กระทงมินิมอล เรือพนมพระสุราษฎร์ฯ หนึ่งเดียวในโลก
- ท่องเที่ยวปลอดภัย ส่งทีมปฏิบัติด้านการแพทย์พร้อมเรือเร็ว เข้าประจำหมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน ดูแลนักท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น
- ร้อยเอ็ด...สายมูฟังทางนี้...ได้ฤกษ์...เบิกชัยกับกำไลข้อมือไม้มงคล กับ 101 ดี ปัง เฮง แค่ได้ใส่ก็กำไลแล้ว...
ในการมอบปัจจัยการผลิตครั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้พูดคุยกับเกษตรกรที่มารับฟังแนวทางการพัฒนาผลผลิตสับปะรด ตามยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดในภาพรวมโดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการภายใต้วาระ “เกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ” การพัฒนาดังกล่าว เน้นส่งเสริมให้พัฒนาในรูปของการรวมตัวกันของเกษตรกรรายย่อย ปลูกสัปปะรดคุณภาพร่วมกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ เป็นเกษตรอุตสาหกรรมให้สามารถตอบสนองความต้องการตลาดใหม่ เช่นการขายส่งส่ง ยกระดับมาตรฐานสับปะรดลำปางให้ขายขึ้น ขึ้นห้างสรรพสินค้า หรือโมเดิร์นเทรด และเพิ่มปริมาณผลผลิตเพื่อขายผลสด ลดการผลิตสับปะรดเพื่อขายเชิงปริมาณเข้าโรงงานอาหารกระป๋องให้น้อยลง ไปจนถึงแนวทางการพัฒนาการแปรรูป เพิ่มมูลค่าและเพิ่มรายได้อื่นๆ ขอให้เกษตรกรทุกราย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลผลิตยกระดับไปสู่การขายผลสด ให้ “สับปะรดน้ำผึ้งลำปาง “ ก้าวไปสู่ผู้นำตลาดสับปะรดผลสดที่อร่อยที่สุดของไทย เป็นที่ต้องการตลาดสากลในอนาคต ขณะเดียวกัน จังหวัดได้สนับสนุนให้ ทาง มทร.ล้านนาลำปางพัฒนา การเพาะเนื้อเยื่อสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ของลำปาง และส่งเสริมการปลูกปลูกสับปะรดพันธุ์ MD2 เพื่อการส่งออก ส่วนการแปรรูปได้ให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เข้ามาช่วยพัฒนา นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับกลุ่มสหกรณ์โคนมลำปาง รับซื้อสับปะรดเหลือทิ้งไปทำน้ำหมักอาหารเลี้ยงวัว เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นแน่นอน
นายธวัชชัย สิทธิวีระกุล เกษตรจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่าปัจจุบันลำปางมีพื้นที่ปลูกประมาณ 24,000 กว่าไร่ ผลผลิตภาพรวมทั้งหมด 60,000 กว่าตัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งโรงงาน 80% บริโภคสดประมาณ 19% แปรรูปประมาณ 1%ในส่วนของสำนักงานเกษตรจังหวัดนั้น ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรครบวงจรทุกอำเภอ สำหรับพืชสับปะรดนั้น ศพก.อำเภอเมือง เป็นศูนย์ที่ได้รับการยอมรับเป็นระดับ A ซึ่งมีประธานศูนย์เป็นเกษตรกรจิตอาสา ศึกษาและจัดทำต้นแบบการพัฒนาการปลูกสับปะรดคุณภาพ ตั้งแต่การปรับปรุงดิน เรื่องน้ำของชลประทาน เรื่องระบบการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ การใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อกำจัดศัตรูพืชของสับปะรด เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดทั้งปีขายได้ราคา ให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดสามารถเข้าไปเรียนเหมือนโรงเรียน แล้วนำความรู้ไปพัฒนาในแปลงปลูกของตนเองให้มีประสิทธิภาพ ขณะนี้มีเกษตรกรตำบลเสด็จ อ.เมืองลำปางจำนวน 120 ราย รวมพื้นที่ปลูกมากกว่า 700กว่าไร่ ร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการผลิตทุกกระบวนการ นอกจากนี้ยังมี เกษตรกรปลูกสับปะรดอื่นๆนอกพื้นที่โครงการแปลงใหญ่ร่วมในโครงการพัฒนาผลผลิตสับปะรดคุณภาพมาตรฐาน GAP มีจำนวน 390 ราย รวมพื้นที่เกือบ 5พันไร่ ได้ผลผลิตมาตรฐาน GAP ปีไม่น้อยกว่า 17,000 ตัน และกำลังขยายพื้นที่ทุกปี และมีแผนส่งเสริมการปลูกสับปะรดพันธุ์ MD2 เพื่อเป้าหมายขายสับปะรดส่งออกญี่ปุ่น ปีละ 400-600 ตู้คอนเทนเนอร์ (40 ตัน)อย่างไรก็ตาม แผนปฏิบัติการวาระการพัฒนาแก้ปัญหาผลผลิตสับปะรดลำปาง ยังต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ยกระดับให้เกษตรกรสามารถปลูกสับปะรดมาตรฐานขายผลสดเพิ่มขึ้นเพื่อลดจำนวนผลผลิตขายเข้าโรงงาน อย่างต่อเนื่อง เป็นการแก้ปัญหาสับปะรดระยะยาวดูน้อยลง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: