อนุกรรมการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประทับใจหลังเยี่ยมโครงการใช้งบประมาณไทยนิยมยั่งยืนหมู่บ้านละแสนใช้ประโยชน์คุ้มค่า เผยลำปางเป็นจังหวัดต้นแบบในการบริหารจัดการโครงการฯไทยนิยมยั่งยืนที่ดี
วันที่ 4 ก.ย. 2561 คณะอนุกรรมการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเรือเอกชัยเอกชัยวัฒน์ เอี่ยมสุนทร และ พลเรือเอกนพดล โชคระดา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการตรวจติดตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โครงการต่อยอดกลุ่มเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และ โครงการต่อยอดกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า บ้านผึ้ง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการไทยนิยมยั่งยืน 1 แสนบาท เพื่อต่อยอดโครงจากโครงการเดิม 9101 ตามรอยเท้าพ่อ กินดี อยู่ดีมีความสุข
โดยกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้ามีสมาชิกทั้งหมด 19 คนตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองขายในชุมชนและในงานเทศกาลต่างๆของต่างจังหวัดเป็นอาชีพเสริมให้กับกลุ่มแม่บ้าน
สำหรับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่มีสมาชิกจำนวน 13 คน และจ่ายค่าแรงแก่สมาชิกที่เข้าเวรเลี้ยงไก่ วันละ 20 ฟอง ส่วนที่เหลือขายนำรายได้เป็นสวัสดิการแก่สมาชิก และมีส่วนร่วมอื่นๆในชุมชน โดยการเลี้ยงไก่ไข่ดังกล่าวเป็นกิจกรรมอาชีพเพื่อมุ่งเน้นความสามัคคีในหมู่บ้านเป็นหลัก
จากนั้น ได้เข้าเยี่ยมชม โครงการท่องเที่ยว นวัตวิถี บ้านเมาะหลวง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พร้อมด้วย นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ซึ่งมีการจัดแสดงวิถีชาวเงี้ยวซึ่งเป็นวิถีของชุมชนคนไทยใหญ่รากเหง้าเดิมของคนบ้านเมาะหลวง อาหารท้องถิ่น สินค้าโอทอปและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โฮมสเตย์ จุดชมวิว วัดรัตนคูหาถ้ำผากล้วย แหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทางท่องเที่ยวนวัตวิถี รวมถึง โครงการใช้ประโยชน์ที่ดินชุมชน ทำแปลงเกษตรส่วนรวมของชุมชน บ้านเมาะหลวง ซึ่งใช้งบประมาณสนับสนุนจากโครงการไทยนิยมยั่งยืน 1 แสนบาท มาต่อยอดโครงการอาชีพ ของคนในชุมชน
พลเรือเอกชัยเอกชัยวัฒน์ เอี่ยมสุนทร เผยว่า การติดตามผลงานโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดลำปาง รู้สึกประทับใจมากเพราะทุกแห่งดำเนินงานได้ตรงตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนา ยกระดับ พัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งลำปางได้รับคัดเลือกเป็นเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการบริหารจัดการโครงการไทยนิยมยั่งยืน ซึ่งเห็นชัดเจนว่าหลายพื้นที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ ซึ่งในภาพรวมทั้งประเทศนั้นจังหวัดที่มีความโดดเด่นก็จะเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นแบบอย่างแลกเปลี่ยนการพัฒนากับพื้นที่อื่นๆ เพราะแต่ละชุมชนแต่ละจังหวัดก็มีความแตกต่างในด้านพื้นที่และความต้องการบางอย่างอาจขัดต่อระเบียบราชการ นั้นก็ต้องหาทางปรับเปลี่ยน เช่น ปัญหาเรื่องคนกับป่า รัฐบาลก็ พยายามแก้ไขระเบียบกฎหมาย ให้คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างถูกต้อง บางอย่างก็ต้องสงวนไว้ เช่นการรักษาลุ่มน้ำ แหล่งต้นน้ำ ขอความร่วมมือจากชาวบ้าน บางอย่างก็ต้องอะลุ้มอล่วยให้ชาวบ้าน ประชาชนด้วยเช่นกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: