นายอำเภอเกาะคาลำปางเรียกตัวแทนชาวบ้าน บริษัทสร้างไฟฟ้าชีวมวล หน่วยงานที่รับเกี่ยวข้องหาทางออก
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง นายธนารัฐ สายเทพ นายอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นายวราวุธ เมืองตั้ง ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง อ.เกาะคา ฯ ตัวแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน( กกพ) สำนักงานประจำเขต 1 (เชียงใหม่) รวมถึงผู้นำหมู่บ้านในตำบลนาแก้ว ผู้นำเทศบาลตำบลนาแก้ว เทศบาลตำบลท่าผา ตัวแทนชาวบ้านประมาณ 20 คน ได้ร่วมประชุมหารือ หลัง ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเกาะคา โดยนายธนารัฐ สายเทพ นายอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางได้ทำหนังสือถึงทุกฝ่ายข้างต้น ร่วมประชุมหารือ กรณีศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเกาะคา ได้รับเรื่องร้องทุกข์,ร้องเรียน จาก ชาวบ้าน บ้านสองแคว เหนือ หมู่ที่ 1 , บ้านสองแควใต้ หมู่ที่ 2 และบ้านสองแควสันติสุข หมู่ที่ 9 ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคาจังหวัดลำปาง ว่า ขอคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่บ้านสองแควเหนือ เขตติดต่อกับบ้านนางแตน ม.1 ตำบลท่าผา เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและให้ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเกาะคาจึงตัวหรือ ผู้แทนร่วมประชุมหารือให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เมื่อ วันที่ 18 ม.ค.65 ที่ผ่านมา บริษัท ซีวี กรีน ลำปาง จำกัด และเจ้าหน้าที่ กกพ.มารับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของ โรงไฟฟ้าชุมชน ซีวี กรีน ลำปาง ขนาดกำลังผลิต6.6 เมกะวัตต์ครั้งแรก ที่ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 1 (โรงเรียนเก่าบ้านสองแควเหนือ) บ้านสองแควเหนือ ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง ปรากฏว่าได้มีประชาชนกว่า 500 คน ได้พากันเดินทางมารวมตัวกันเพื่อต่อต้านไม่เอาโรงไฟฟ้าชุมชน แต่ต้องมีการยกเลิกไปโดย นายวราวุธ เมืองตั้ง ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง อ.เกาะคาจึงประกาศยกเลิก เนื่องจากมีประชาชนเป็นจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการประชาคมและเกรงในเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิดต่อมาทางนายธนารัฐ สายเทพ นายอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ตัวแทนบริษัท ซีวี กรีน ลำปาง จำกัด และ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) สำนักงานประจำเขต 1 (เชียงใหม่) ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และหาแนวทางแก้ไขปัญหา
นางพวงทอง ศุภพิศ ตัวแทนชาวบ้าน ม.2 สองแควใต้ ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง เปิดเผยว่า มาร่วมประชุมเรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งตั้งอยู่ บ้านสองแควใต้ ม.1 ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง และเป็นหมู่บ้านที่มีเขตติดต่อกัน เราเกรงว่าจะได้รับผลกระทบ และเราทราบจากสื่อต่าง ๆ ว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลจะเกิดผลกระทบว่า ในอำเภอจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมีมลพิษเกิดขึ้นมากมายและได้ผลกระทบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เราในฐานะเป็นประชาชนเรามีสิทธิป้องกันตัวเองจากสิ่งแวดล้อม ตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งการปรพะชุมในวันนี้เราเอารายชื่อผู้คัดค้านมาทั้งหมดจำนวน 1,107 รายชื่อ จากหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น ที่ผ่านมาการชี้แจงไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับที่ครอบคลุมชาวบ้าน เป็นการลักษณะเชิญชวนผ่านผู้นำชุมชนซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลและไม่แน่ใจว่าข้อมูลเป็นอย่างไร ไม่มีการบันทึกใด ๆ ทั้งสิ้น แต่การไปดูงานที่โรงไฟฟ้าชีวมวล ผู้นำชุมชนไม่ได้ให้ช้อมูลพวกเราเลย ๆไม่ทราบว่าผลดีผลเสียมันคือยังไง ซึ่งหากรู้ข้อมูลเราจะได้มีประชามติกันว่าชาวบ้าน ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยมั๊ยที่จะการสร้างโรงไฟฟ้าชีวิมวลในบริเวณดังกล่าว นี่คือเหตุผล และเราศึกษามาแล้วและจะมาทักท้วงในการประชุมวันนี้
ด้านนายณัชปัณฑ์ธร กีรติกรพิสุทธิ ผู้จัดการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์บริษัท Clover Potwer จำกัดมหาชน วันนี้ได้เข้ามาพบปะปรึกษาหารือตามคำเชิญของทางอำเภอ เกาะคา เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซีวี กรีน ลำปาง โดย บริษัท ซีวี กรีน ลำปาง จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเชื้อเพลิงชีวมวลและพลังงานเพื่อชุมชนอำเภอเกาะคา สำหรับโครงการดังกล่าว
ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2562 (ครั้งที่ 149) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 และในการประชุมครั้งที่ 2/2563 (ครั้งที่ 151) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงานมีรายได้ที่แน่นอนจากการขายเชื้อเพลิงในรูปแบบเกษตรพันธสัญญา และร่วมรับผลประโยชน์ตอบแทนจากโรงไฟฟ้า รวมถึงให้โรงไฟฟ้ามีส่วนสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจึงได้ออกระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564 และได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง ประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564
โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก กำลังผลิตติดตั้ง 6.6 เมกะวัตต์ (VSPP) ผลิตเพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เชื้อเพลิงชีวมวลจากในพื้นที่ตามฤดูกาล เช่น ข้าวโพด ไม้สับ ไม้ไผ่ ฟางข้าว พืชพลังงาน แหล่งที่มาจากการส่งเสริมปลูกไม้โตเร็ว ในพื้นที่จังหวัดลำปางเป็นส่วนใหญ่ โดยวิสาหกิจชุมชนเป็นผู้รวบรวมในจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ 240 ตันต่อวัน แหล่งที่มาของน้ำ ใช้ในกระบวนการผลิต จากการขุดบ่อน้ำภายในโครงการ
การจัดการกากของเสีย ส่งกำจัดโดยผู้ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง และไม่มีน้ำทิ้งจากกระบวนการ (Zero Discharge)
การบําบัดมลพิษทางอากาศ ใช้ระบบดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูง (ESP) ที่ตั้งสถานประกอบกิจการ โรงไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่ หมู่1 บ้านสองแควเหนือ ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง
พื้นที่ศึกษา ในรัศมี 3 กิโลเมตร รอบโครงการ 1.ตำบลนาแก้ว หมู่ 1 บ้านสองแควเหนือ หมู่2 บ้านสองแควใต้ หมู่ 9 บ้านสองแควสันติสุข 2.ตำบลเกาะคา ม.3 บ้านม่วงน้อย ม.4 หนองหล่าย ม.7 แม่ฮาม ม.8 ทุ่งเจริญ 3. ตำบลท่าผา ม1 นางแตน ม.2 ใหม่ ม.3 สบปุง
4. ตำบลวังพร้าว ม.1 แม่หลง ม.6 สบจาง 5. ตำบลนาแส่ง ม.5 สองแควพัฒนา ซึ่งผลประโยชน์ชุมชน
1.1 การแบ่งปันผลประโยชน์จากรายได้โรงไฟฟ้าให้แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยโครงการได้มีบันทึกข้อตกลง (MOU)ในวงเงิน 200,000 บาทต่อปี 1.2 กองทุนรอบโรงไฟฟ้า ในช่วงก่อสร้างสบทบเงิน 330,000 บาทต่อปี ในระหว่างการผลิตไฟฟ้า ตลอดอายุสัญญ สูงสุด 480,000 บาทต่อปี ระบบบำบัดอากาศ
ในการเผาไหม้ มีระบบดักจับฝุ่นควัน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถดักกรองฝุ่นขนาด 0.01 ไมครอนได้ มีการตรวจสอบและแสดงผลแบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด โดยสิ่งแวดล้อมจังหวัดและอุตสาหกรรมจังหวัด จะมีการสุ่มตรวจสอบที่ปากปล่องและชุมชนใกล้เคียง อย่างสม่ำเสมอ ส่วนความร้อนจากกระบวนการผลิต ในการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะดำเนินการในระบบปิดโดยใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยควบคุมจะไม่ส่งผลต่อพนักงาน โรงงาน และชุมชนรอบข้าง สำหรับเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลเท่านั้น คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พืชโตเร็ว พืชพลังงาน ไม่สามารถใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นตามข้อกังวลได้ เนื่องจากเป็นการทำสัญญาขายไฟฟ้าจากชีวมวลเท่านั้น และใบอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ) อุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งหากใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น จะต้องถูกยกเลิกสัญญาด้านมาตรการ การขนส่งโครงการมีมาตรการ การขนส่งเครื่องจักรช่วงระยะก่อสร้าง และการขนส่งเชื้อเพลิง ในการจัดการจราจรโดยจะใช้รถบรรทุกขนาดเล็กขนส่งเชื้อเพลิงจากจุดพักข้างนอกเข้ามาในโรงงาน และกำหนดช่วงเวลาในการขนส่งเพื่อให้กระทบต่อชุมชนให้น้อยที่สุด ส่วนกลิ่นจากกระบวนการผลิต เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่แห้ง ส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่น หรือถ้าเชื้อเพลิงชื้นมาก ๆ ก็อาจจะมีบ้างในบริเวณโกดังปิด ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และน้ำในกระบวนการผลิตใช้น้ำจากบ่อน้ำในโครงการ สำหรับกระบวนการผลิตและออกแบบให้วนกลับมาใช้ใหม่ จึงไม่มีการปล่อยน้ำทิ้งออกจากระบบสู่แหล่งน้ำภายนอก เป็นต้น
นายธนารัฐ สายเทพ นายอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางเปิดเผยว่าการประชุมหารือให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาการก่อสร้าง โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลหลังจากการหารือโดนมให้ผู้นำและตัวแทนชาวบ้านตัวแทนบริษัท สรุปเบื้องตั้น ทางผู้นำและตัวแทนชาวบ้านคัดค้านไม่ให้มีการก่อสร้างนำพื้นที่ เนื่องจากเกรงจะได้รับผลกระทบในด้านต่างๆ ทั้งมลพิษทางอากาศ น้ำและ การขนส่ง ฯลฯ ซึ่งทางตัวแทนบริษัทได้รับข้อเสนอของตัวแทนชาวบ้านเพื่อนำเสนอให้กับทางบริษัทให้รับทราบต่อไป ซึ่งหากมีการดำเนินการต้องให้ทางอำเภอเกาะคาเปิดเวทีในการรับฟังความคิดเห็นของขาวบ้านตามขั้นตอนต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: