ช่วงนี้คนที่ชอบไปท่องเที่ยวตามอุทยานฯ โดยเฉพาะไปกางเต็นท์นอนตามลานกางเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติต่างๆ คงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของอุทยานแห่งชาติหลายอย่าง เปลี่ยนแปลงทั้งข้อปฏิบัติ เช่น การห้ามดื่มเหล้าและส่งเสียงดัง ในอุทยานแห่งชาติ อันนี้ถูกใจอย่างมาก เรียกว่าคืนความสงบมาสู่ป่าอย่างแท้จริง ทำให้คนมาสนใจธรรมชาติ เห็นคุณค่าของธรรมชาติมากกว่าเห็นว่าเป็นที่ดื่มเหล้าเปลี่ยนบรรยากาศ แบบครอบครัวคงชอบใจ แต่อาจจะขัดใจคนที่ย้ายที่ดื่มเหล้าบ้าง (ดื่มเงียบๆพอกรึ่มๆคงไม่มีใครว่า) อีกอย่างคือการพัฒนาสถานที่ ส่วนนี้จะเห็นชัดมาก ลานกางเต็นท์ ที่ประกอบอาหาร ปลั๊กเสียบไฟฟ้า ห้องน้ำที่สะอาดสะอ้าน (ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใหม่) อุปกรณ์ในห้องน้ำครบ ที่แขวนผ้า กลอนประตู ที่วางสบู่ ถังตักน้ำอาบ ฝักบัวอาบน้ำ ฯลฯ ล้วนแล้วเป็นพัฒนาการที่ดูดีขึ้นของอุทยานแห่งชาติทั้งนั้น ซึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นผลมาจากโครงกาประกวดอุทยานสีเขียวด้วยหรือเปล่า
ซึ่งโครงการอุทยานสีเขียวนี้มาจากดำริของพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีต รมว.ทรัพยากรฯ ที่ได้มอบนโยบายในการพัฒนาอุทยานฯ ให้ได้มาตรฐานในระดับสากล โดยให้โครงการที่ชื่อ การประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) ให้เป็นมาตรฐานและยกระดับ โดยให้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการโครงการนี้
โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์การประกวด คัดสรรและคัดเลือกเพื่อตัดสิน และมอบโล่รางวัลอุทยานฯสีเขียว เพื่อเป็นการประกาศรับรองว่าอุทยานแห่งชาตินั้น มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีมาตรฐาน ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการบริการที่ดีแก่นักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของอุทยานฯ สู่มาตรฐานสากล ซึ่งจะนำไปสู่เป้าประสงค์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
โดยเขาตั้งคณะกรรมการคัดเลือกอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการประกวดนี้ขึ้นมา 2 ชุด คือ
1. คณะกรรมการอำนวยโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ
2.คณะกรรมการคัดสรรและคัดเลือกอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks) โดยมีอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ
ดร.ทรงธรรม-สุขสว่าง-ผอ.สำนักอุทยานฯ ทียังคงขับเคลื่อนโครงการนี้อยู่
แล้วก็จะมีการวางหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่อุทยานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไปพัฒนาด้านต่างๆ อย่างในปี 2560 เขาจะแยกเป็นข้อๆ แล้วอุทยานที่จะผ่านการประเมนจะต้องได้ 85 คะแนนขึ้นไป เช่น…
1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (4 คะแนน)
2 การจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า (4 คะแนน)
3 การลดปริมาณขยะ โดยใช้หลัก 3Rs (4 คะแนน)
4 การคัดแยกขยะ (4 คะแนน)
5 การเก็บรวบรวมขยะก่อนนำไปกำจัด (4 คะแนน)
6 การกำจัดขยะ (4 คะแนน)
7 การจัดการด้านน้ำเสีย (4 คะแนน)
8 การจัดการห้องน้ำ-ห้องสุขา (4 คะแนน)
9 การจัดการความสะอาดและความเป็นระเบียบ (4 คะแนน)
10 การจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณร้านอาหาร (4 คะแนน)
11 การบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว (4 คะแนน)
12* การจัดการพื้นที่กางเต็นท์ (4 คะแนน)
13 การปรับปรุงภูมิทัศน์ (4 คะแนน)
14 การส่งเสริมและความร่วมมือกับชุมชน/ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ (4 คะแนน)
15 การจัดการศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (4 คะแนน)
16* การจัดการร้านขายของที่ระลึก (4 คะแนน)
17 การจัดการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว (4 คะแนน)
แต่ปี 2562 เขาแบ่งเป็น 3 เกณฑ์หลักๆคือการบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยถ้าเป็นเหรียญทองก็จะต้องได้เกณฑ์ 80% ขึ้นไป เหรียญเงินก็ 70% ขึ้นไป และเหรียญทองแดง 60% ขึ้นไป ซึ่งข้อการพัฒนาก็คล้ายกับปี 2560
เขาก็จะมีการส่งรายชื่ออุทยานฯที่จะประกวดเข้าไป แล้วในระหว่างนั้น อุทยานที่จะเข้าประกวดก็จะพัฒนาดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ ต่างๆ หลังจากนั้นก็จะมีคณะกรรมการไปประเมิน แล้วจึงประกาศผล แล้วก็มอบโล่รับรองให้ เพื่อให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งเราจึงเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างที่ผมว่า
ในปี 2562 นี้ เขาประกวดและประกาศผลกันเรียบร้อยไปแล้ว โดยมีอุทยานแห่งชาติที่ผ่านเกณฑ์ต่างๆ คือ….
ผลการประเมินอุทยานสีเขียว ปี 2562
ก็ไม่รู้ว่าเปลี่ยน รมต.ใหม่แล้ว โครงการดีๆ อย่างนี้จะยังมีอีกไหม อยากให้ยังคงอยู่ไป เพราะทำมาก็เหมือนการกระตุ้นอุmยานทั้งหลาย แล้วมันก็เห็นผลจริงๆ คือมีพัฒนาการเชิงบวกมากขึ้น
อันไหนดีๆ ก็ไม่อยากให้เลิกครับ….
ลานกางเต็นท์ อช.ภูกระดึง จ.เลย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: