พะเยา ชาวบ้านร้อง รฟท.เวนคืนที่ดินไม่เป็นธรรม กรณีสร้างทางรถไฟเด่นชัย เชียงราย เชียงของ
วันที่ 15 ส.ค.2565 นายกัณตพัฒน์ นิธิธกรจารุวัชร์ แกนนำ พร้อมชาวบ้านในพื้นที่ตำบลจำป่าหวาย อ.เมือง พะยา จ.พะเยา จำนวกว่า 50 คน เดินทางมาที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา เพื่อยืนหนังสือขอความช่วยเหลือ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา หลังได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ กรณีราคาค่าทดแสนที่ถูกเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทางชาวบ้านมองว่าค่าเวนคืนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงได้รวมตัวกันเดินทางมาเพื่อร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว
โดยนายกัณตพัฒน์ นิธิธกรจารุวัชร์ แกนนำชาวบ้าน เปิดเผยว่า ตามที่ รฟท.ได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 85,345 ล้านบาท โดยผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด 16 อำเภอ 58 ตำบล ซึ่งผ่านหลายจังหวัดดังกล่าว และผ่านในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยาด้วย ต่อมามีบริษัทที่ปรึกษาได้เข้ามาสำรวจข้อมูลผู้ถูกเวนคืน และมีการกำหนดราคาค่ามัธยฐานเรียบร้อยแล้ว และกรมที่ดินได้ทำการรังวัดและสำรวจที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนแล้ว และได้มีการทำสัญญาไปบางส่วน แต่ปรากฏว่าค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ผู้ถือเวนคืนจะได้รับนั้นไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้กำหนดราคาประเมินที่ใช้ในการคำนวณเพื่อจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืนนั้นได้อ้างอิงราคาจากกรมธนารักษ์ หรืออ้างอิงราคาจากสำนักงานที่ดิน หรืออ้างอิงจากราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินในวันใช้บังคับพระราชกิจฎีกาตามมาตรา 8 ซึ่งเป็นราคาประเมินที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดิน เป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากการถูกเวนคืนที่ดิน ไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งในการประเมินราคาในพื้นที่ใกล้เคียงกันแต่ราคาประเมินที่ได้ต่างกันแตกต่างกัน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ ก็ไม่มีความชัดเจนจึงทำให้ชาวบ้านเกิดความกังวัลใจในการที่จะทำสัญญาต่างๆ ดังนั้นตนเองและชาวบ้านจึงได้พากันเดินทางมาร้องทุกข์เพื่อขอความช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เพื่อช่วยประสานไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อประสานต่อไปยังกระทรวงคมนาคมให้ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการวันเวนคืนสิ่งปลูกสร้างชดเชย ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินสปก.รวมทั้งค่าทดแทนอื่นๆของการก่อสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวให้เป็นธรรมและเหมาะสม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพะเยาได้เข้ารับเรื่องกับทางกลุ่มชาวบ้าน หลังจากนั้นจะได้นำเรื่องเสนออย่างผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาและประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ผู้ตรวจฯกระทรวงพาณิชย์ ลงตรังเยี่ยมแปลงปลูกพริกไทยตรัง-สุราชุมชน ผู้ผลิตต่อยอดสินค้า GI "พริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียน สู่มาตรฐาน EU organic…
- อำเภอตะกั่วทุ่งเลือกตำบลท่าอยู่ เดินหน้าขับเคลื่อนสู่ "ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
- ภาคธุรกิจเอกชนหอการค้าชัยภูมิชี้แนวทางรัฐบาลพลิกวิกฤตเศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤตโลก!
- ‼️เลือดหนึ่งหยด..มีค่า-ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วย,บาดเจ็บ‼️
นาย นันทิพัฒน์ วันศิริ เจ้าของร้านป้ายที่ได้รับผลกระทบกล่าวว่า ตนเองเป็นเจ้าของร้านป้ายและเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ทาง รฟท.คิดราคาไม่เป็นตารางวาเหมือนช่างทั่วไปแต่คิดเป็นตารางเมตรชึ่งในการก่อสร้างอาคารพาณิชย์จะสร้างคนเดียวไม่ได้ถ้าสร้างเดี่่ยวก็จะกลายเป็นตึกชึ่งจะไปผิดเงิ่อนใขของทางที่เวนคืนตนเองจึงอยากให้ทาง รฟท.ได้รับรู้ว่าเงินที่ได้จากการเวนคืนไม่สามารถนำเอาไปสร้างใหม่ได้เนื่องจากทาง รฟท.คิดวนราคาตึกหรืออาคารพานิชย์ที่รวมกันทำให้ชาวบ้านและเจ้าของอาคารได้รับผลกระทบอยากให้ทาง รฟท.มนทบทวนในการจ่ายเวนคืนที่ดินของชาวบ้านในครั้งนี้ด้วย
(มีเสียง)นายกัณตพัฒน์ นิธิธกรจารุวัชร์ แกนนำชาวบ้าน
สัมภาษณ์ นาย นันทิพัฒน์ วันศิริ เจ้าของร้านป้าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: