เทศบาลนครยะลา จับมือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมทุนก่อสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดิน เตรียมรองรับเป็น “เมืองอัจฉริยะ” ในอนาคต
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 61 เวลา 10.30 น. ที่บริเวณสี่แยก หน้าโรงพยาบาลยะลา นายเจษฎา จิตรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด โครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน บริเวณถนนสิโรรส ซึ่งโครงการดังกล่าวทางเทศบาลนครยะลา ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้) จังหวัดยะลา จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินบริเวณถนนสิโรรส ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร โดยนำระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าฝังลงใต้ดิน ระยะทางตั้งแต่สี่แยกโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ถึงบริเวณสามแยกตลาดสดรถไฟ โดยงบประมาณในการดำเนินการในครั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลงทุนงานด้านไฟฟ้า จำนวน 98 ล้านบาทเศษ และเทศบาลนครยะลา ลงทุนงานด้านโยธา จำนวน 92 ล้านบาทเศษ
นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า ทางเทศบาลนครยะลา ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ทำโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน ระยะที่ 1 โดยเริ่มจากหน้าโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ถึงบริเวณถนนพาดรถไฟ ระยะที่ 2 ก็จะเริ่มจากถนนพาดรถไฟ ไปจนสิ้นสุดถนนสิโรรส ย่านตลาดเก่า โดยโครงการนี้เพื่อความสวดงาม และความเป็นระเบียบ จากในอดีตที่จะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะนำลงใต้ดินทั้งหมด เพื่อสร้างความรู้สึกดีๆให้กับพี่น้อง
“เทศบาลนครยะลา ได้เป็น 1 ใน 5 เมืองน่าอยู่นำร่อง ของประเทศไทย เรามีผังเมืองที่สวยงาม ที่ถือว่าเป็นผังเมืองทีดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 23 ของโลก และเมื่อสามารถนำสายไฟลงดินได้จนเรียบร้อยนั้น ก็จะส่งผลให้เมืองมีความสวยงามมากขึ้น ซึ่งโครงการนี้ก็เป็นการร่วมทุนกันระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับทางเทศบาลนครยะลา โดยทางการไฟฟ้า ก็รับผิดชอบในเรื่องของไฟฟ้า ส่วนของเทศบาลนครยะลา ก็รับผิดชอบในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ที่ในอนาคตก็จะมีการลงทุนในเรื่องของข่ายการสื่อสาร เพื่อที่จะรองรับในเรื่องของเมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครยะลาด้วย” นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
นายพงษ์ศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาประมาณ 2 ปี ซึ่งเชื่อว่าน่าจะสามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลา แต่ก็หวังไว้ว่าทางการไฟฟ้าจะเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้น ภายใน 500-600 วัน ก็น่าจะดำเนินการได้ ส่วนปัญหาทางด้านการจราจรในช่วงการก่อสร้างนั้น การดำเนินการโครงการนี้ เป็นการก่อสร้างโดยไม่ต้องเปิดหน้าพื้นผิวถนน ดำเนินการเพียงขุดหลุม แล้วนำเครื่องเจาะคล้ายสว่าน เจาะลงใต้ดิน เพราฉะนั้นส่วนที่ ได้รับผลกระทบก็จะมีแค่บางจุดเท่านั้น เชื่อว่าจะเกิดผลกระทบจากการจราจรน้อยมาก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: