สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ กสทช.
จัดอบรมปฏิบัติงานข่าว:กรณีการชุมนุมทางการเมือง
นครปฐม – สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (TJA) ได้ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิบัติงานข่าว: กรณีชุมนุมทางการเมือง” เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะให้กับนักข่าวสื่อมวลชนและช่างภาพที่ต้องเข้าพื้นที่เพื่อรายงานสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีแนวโน้มความขัดแย้งรุนแรงและอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤติ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้น มีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บความสูญเสียทางร่างกายและทรัพย์สิน รวมถึงการตรวจสอบและจัดการกับข่าวปลอม (Fake News) การสกัดกั้นวาทกรรมที่เพิ่มความขัดแย้งให้กับสังคม การนำเสนอข่าวอย่างมืออาชีพภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณ โดยมีสื่อมวลชนทุกแขนงรวม 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที 26-27 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา
นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปฏิบัติงานข่าว: กรณีการชุมนุมทางการเมือง” ในครั้งนี้ ว่า ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสื่อมวลชนที่ต้องเข้าพื้นที่ เพื่อรายงานข่าวในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ที่มีแนวโน้มของความขัดแย้งรุนแรง นำไปสู่ภาวะวิกฤติ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบจากหลายฝ่าย อีกทั้งมีความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บและความสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันมีสาธารณภัยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้สื่อมวลชนต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและจัดการกับข่าวปลอม (Fake News) รวมทั้งการสกัดกั้นวาทกรรมที่เพิ่มความขัดแย้งให้กับสังคม ด้วยวิธีการนำเสนอข่าวอย่างมืออาชีพ ภายใต้กรอบจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อมวลชนด้วย ดังนั้น องค์ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานข่าวการชุมนุมทางการเมือง จึงถือได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่สื่อมวลชนต้องรับมือและปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถบรรลุเป้าหมายในการเข้าพื้นที่ทำข่าวได้และมีความปลอดภัย
ข่าวน่าสนใจ:
- เลขา รมต.กระทรวงทรัพย์ฯ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาช้างป่า จ.ปราจีนบุรี
- เทศบาลนครเชียงราย ร่วมกับ บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัด Countdown 2025 เทศกาลดนตรีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 68
- ชัยภูมิปล่อยแถวระดมกวาดล้างอาชญากรรมทุกรูปแบบช่วงคริสต์มาส-เทศกาลต้อนรับปีใหม่!
- ผบช.สตม.ปล่อยแถว ตม.ทั่วประเทศ กวาดล้างอาชญากรรมช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ 2568
นายจีรพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันวงการสื่อสารมวลชนได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้ว มีการเกิดขึ้นของสื่อใหม่ (New Media) เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ในขณะที่สื่อหลักรูปแบบเดิม ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จำเป็นต้องปรับตัวไปสู่การเป็นสื่อออนไลน์ในรูปแบบของการหลอมรวมสื่อ (Multi Media) ไปหมดแล้ว ซึ่งมีทั้งความรวดเร็วและความหลากหลาย
ดังนั้น การรายงานข่าวของสื่อมวลชนในภาคสนาม เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่เป็น Gate keeper หรือนายทวารข่าวสารด่านแรก จึงจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน และที่ได้ผู้รับข้อมูลข่าวสาร เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่อยู่ในพื้นที่ภาคสนาม ต้องสามารถปฏิบัติตนเองให้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัย และป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ การประเมินสถานการณ์ในระดับต่างๆ ก่อนเข้าพื้นที่ชุมนุมทางการเมือง
“สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ คำนึงถึงความสำคัญของประเด็นเหล่านี้ จึงจัดการอบรมโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ จริยธรรมในการนำเสนอข่าวการชุมนุมทางการเมือง ขึ้น เพื่อให้สื่อมวลชนที่ผ่านการอบรมสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ และเพื่อให้สื่อมวลชนไทย ทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อทุกแขนง ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ได้เพิ่มทักษะเรียนรู้เรื่องการทำข่าวในสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง การายงานข่าวอย่างรอบด้าน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่เพิ่มความขัดแย้ง”
การอบรมฯ ในครั้งนี้มีผู้สื่อข่าวและช่างภาพเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน และคาดหวังว่าผู้ที่เข้าอบรมจะได้มีทักษะและองค์ความรู้มากขึ้น สามารถรายงานข่าวได้อย่างมีจริยธรรม ไม่มีส่วนในการขยายความขัดแย้งในสังคม” เลขาธิการสมาคมนักข่าวฯ กล่าว
#นักข่าว #สื่อมวลชน #ช่างภาพ #ชุมนุมทางการเมือง #ทักษะ #รายงานข่าว #ความปลอดภัย #จริยธรรมสื่อ #จรรยาบรรณสื่อ #ความขัดแย้งในสังคม #วาทกรรมทางการเมือง #พื้นที่ความรุนแรง #อบรมเชิงปฏิบัติการ #กสทช #สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: