X

สวธ.ชี้แจงประเด็นดราม่า 77 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น

สวธ. ชี้แจงประเด็นดราม่า อาหารถิ่น 77 จังหวัด

หวัง “อนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน” ให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จัก “รสชาติที่หายไป” และกลับมาเป็นเมนูเชิดชูถิ่น

กรุงเทพฯ – นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ชี้แจงถึงประเด็นดราม่าอาหารประจำถิ่น หลังจากที่ สวธ. ได้ประกาศรายชื่อเมนูอาหารทั้ง 77 รายการ ของโครงการ “1 เมนู 1 จังหวัด” ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว แต่ทว่า อาหารบางรายการนั้น คนในท้องถิ่นอาจไม่รู้จัก

อธิบดี สวธ. กล่าาว่าโครงการฯ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์อาหารพื้นบ้านให้อยู่คู่กับอาหารไทย และคู่บ้านคู่เมืองของไทย  โดยรวบรวม “เมนูอาหารถิ่นที่กำลังจะเลือนหาย” และ “เมนูอาหารถิ่นที่หารับประทานได้ยาก” มายกระดับ พัฒนา สร้างสรรค์เป็นอาหารประจำจังหวัด และจะจัดทำเป็น “สำรับอาหารประจำภาคทั้ง 4 ภาค” เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้ และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารถิ่น ทั้งคาวและหวาน ซึ่งมีสรรพคุณหลากหลาย ทั้งด้านสุขภาพ โภชนาการ สมุนไพร ด้านวิธีการปรุง เคล็ดลับและประวัติความเป็นมา เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของอาหาร โดยต่อยอดจากวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรชุมชน

อย่างไรก็ตาม นี่คือสิ่งที่ตอบวัตถุประสงค์ของโครงการฯ  คือ  การค้นหาเมนู “รสชาติ…ที่หายไป” (The Lost Test)  และอยากให้ฟื้นกลับมา เมื่อคัดเลือกมาแล้ว ถือเป็นการปลุกกระแสทำให้คนในท้องถิ่นหันมาสนใจ และสร้างความเข้าใจในรากเหง้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดนั้น ๆ

การหยิบยกเมนูที่คนท้องถิ่นหรือคนในพื้นที่ไม่รู้จักขึ้นมา เป็นวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการทำให้คนรุ่นใหม่ได้พบกับ “รสชาติที่หายไป” หมายความว่า เมนูประจำถิ่นของแต่ละจังหวัดอาจไม่ได้มีชื่อเสียงในปัจจุบัน แต่เป็นการขุดคุ้ยเมนูที่เคยมีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ในอดีต ให้กลับมาเป็นเมนูเชิดชูถิ่นได้ในปัจจุบันนั่นเอง

สืบเนื่องจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรม “ 1 จังหวัด 1เมนูเชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทยรสชาติที่หายไป เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของอาหารไทย อาหารท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย รวบรวมองค์ความรู้ต่อยอดสมุนไพรไทยที่เป็นมรดกภูมิปัญญา ส่งเสริมความภาคภูมิใจ กระตุ้นให้เกิดการยกระดับอาหารไทยพื้นถิ่นสู่อาหารจานเด็ดที่ต้องชิม ผลักดันให้เป็นเมนูซอฟเพาเวอร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้หนุนเศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศ

และคณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเมนูอาหารที่แต่ละจังหวัดนำเสนอมาจังหวัดละ 3 เมนู และคัดเลือกให้เป็นเมนูตัวแทนจังหวัด จังหวัดละ 1 เมนู รวม 77 เมนู  อาทิ ข้าวตอกตั้ง  จ.กรุงเทพฯ , แกงมัสมั่นกล้วยไข่ จ.กำแพงเพชร , ยำไกน้ำของ จ.เชียงราย , ตำจิ้นแห้ง จ.เชียงใหม่, เมี่ยงจอมพล จ.ตาก, แกงแคไก่เมือง จ.น่าน, หลนปลาส้ม จ.พะเยา, น้ำพริกเม็ดบัวปลาย่าง จ.พิษณุโลก , ปิ้งไก่ข้าวเบือ จ.เพชรบูรณ์, น้ำพริกน้ำย้อย จ.แพร่, แก่งฮังเลลำไย จ.ลำพูน, ข้าวเปิ๊บ จ.สุโขทัย,  เมี่ยงตาสวด จ.นครพนม, เมี่ยงคำ (โคราช)  จ.นครราชสีมา , ตำเมี่ยงตะไคร้ ลำข่าสดใส่มดแดง จ.มุกดาหาร, อั่ว่กบ จ.ยโสธร, ส้าปลาน้ำโขง จ.เลย, ข้าวตอกน้ำกะทิทุเรียนนนท์ จ.นนทบุรี เป็นต้น

และหลังจากนี้จะรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อจัดพิมพ์ หนังสือ 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น  และจัดทำ โล่รางวัลมอบให้แก่จังหวัดและเกียรติบัตร มอบให้แก่ผู้เสนอรายการจากทุกจังหวัด รวมถึงจัดประชุมยกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย ระหว่างวันที่ 20 – 22 ก.ย. นี้ นอกจากนี้จะมีการจัดงานประกาศยกย่องสร้างการรับรู้ให้สังคมไทย และเผยแพร่ระดับนานาชาติต่อไป

#อาหารไทย #อาหารถิ่น #รสชาติไทย #ความเป็นไทย #ท่องเที่ยว #วิถีชุมชน #วิถีชีวิตความเป็นไทย #สมุนไพรไทย #สวธ  #กรมส่งเสริมวัฒนธรรม #กระทรวงวัฒนธรรม #มรดกภูมิปัญญา #มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ #วัฒนธรรม #อัตลักษณ์  #ซอฟเพาเวอร์ #softpower #เมนู #menu

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of รสวรรณภัทชก์ หงษ์สุวรรณ์

รสวรรณภัทชก์ หงษ์สุวรรณ์

ด้วยใจรักและผูกพันในการทำหน้าที่สื่อมวลชนหลากหลาย ทั้งสื่อรัฐและเอกชนมายาวนาน มุ่งมั่นสร้างสรรค์สาระสำคัญอันเป็นประโยชน์ นำเสนอข่าวที่มีคุณค่า ถูกต้อง รวดเร็วทันใจ เชื่อถือได้ “KIND BUT FIRM”