จากคำบอกเล่าของชาวชุมชนเล่าสืบต่อกันมาว่า “เกาะรัตนโกสินทร์” หมายถึงบริเวณเมืองเก่าชั้นในบนแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ อยู่ภายในระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาทางตะวันตก กับคลองหลอด(คลองคูเมืองเดิม)ทางตะวันออก ลักษณะคล้ายเกาะพื้นที่ 1.8 ตารางกิโลเมตร (1,125 ไร่) ถือเป็นสถานที่เริ่มต้นของ “ราชวงศ์จักรี”
เริ่มตั้งแต่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้าไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านท่าพระจันทร์ ท่าช้าง ท่าเตียน ถึงปากคลองตลาด แล้วย้อนกลับมาตามแนวคลองหลอดผ่านวัดราชประดิษฐ์ หลังกระทรวงกลาโหมหลังกระทรวงยุติธรรม ไหลออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า แบ่งเป็นชั้นนอกและชั้นใน
เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน อาณาเขตล้อมรอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) มีพื้นที่ 1.8 ตร.กิโลเมตร (1,125 ไร่) แขวงพระบรมมาหาราชวัง เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นนอกล้อมรอบด้วยคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) แม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศเหนือ คลองรอบกรุง (คลองบาลำพู-คลองโอ่งอ่าง) แม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศใต้ มีพื้นที่ 2.3 ตร.กิโลเมตร (1,438 ไร่) แขวงชนะสงคราม แขวงบวรนิเวศ แขวงสำราญราษฎร์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงวัดราชบพิธ แขวงตลาดยอด แขวงบูรพาภิรมย์
ชุมชนประกอบด้วย วัดบวรสถานสุทธาวาส ประดิษฐาน พระพุทธสิหิงส์ ณ “พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์” ภายในมี จิตกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ 1 เขียนภาพเทพชุมนุม ใกล้ๆ เป็น โรงราชรถ และหอประติมากรรมต้นแบบ จัดแสดงผลงานปั้นหล่องานประติมากรรม ต้นแบบรูปปั้นพ่อขุนรามคำแหง พระนางจามเทวี ฯลฯ
พระบรมมหาราชวัง และ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร (วัดโพธิ์) เป็นเสมือน มหาวิทยาลัย มีการเขียนพระชาดกห้าร้อย ห้าสิบพระชาติ ตำรายาโบราณ และท่าฤษีดัดตนไว้ที่ ศาลาราย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ต้องการศึกษาเกี่ยวกับตำรายา
ป้อมรอบกำแพงพระนคร เดิมมี 14 แห่ง ป้อมพระเมรุ, ป้อมยุคนธร, ป้อมมหาปราบ, ป้อมมหากาฬ, ป้อมหมูหลวง, ป้อมเสือทะยาน, ป้อมมหาไชย, ป้อมจักรเพชร, ป้อมผีเสื้อ, ป้อมมหฤกษ์, ป้อมมหายักษ์, ป้อมพระจันทร์, ป้อมพระอาทิตย์, ป้อมอิสินธร แต่ถูกรื้อออกไป เหลืออยู่ 2 แห่งที่มีสภาพสมบูรณ์คือ ป้อมพระสุเมรุ ตั้งอยู่ที่มุมกำแพงปากคลองบางลำพู และป้อมมหากาฬ อยู่บนกำแพงบริเวณสะพานผ่านฟ้า
การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านโบราณสถาน“เกาะรัตนโกสินทร์” เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่สะท้อนมิติทางสังคมไทยในอดีตสู่ปัจจุบัน อาหารการกินสินค้าก็สะท้อนภูมิปัญญาไทยในแต่ละท้องถิ่น ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย ภาพลักษณ์ที่ดีงามของไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: