X

เทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพกลางแปลง” ครั้งที่ 3 ชมฟรี 4-19 ม.ค.68

เทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพกลางแปลง” ครั้งที่ 3  เริ่มแล้ว

THACCA ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย กรุงเทพมหานคร หอภาพยนตร์ และ Happening mag

จัดเทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพกลางแปลง” ครั้งที่ 3 ภายใต้งาน Colorful Bangkok 2024 

จัดเต็มทั้งหนังกลางแปลง คอนเสิร์ต การเสวนา การออกบูทอาหารอร่อยประจำพื้นที่เขตของกรุงเทพมหานคร

การออกบูทของชาวกองถ่าย และนักสร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์อีกมากมาย

 

กรุงเทพฯ (4 มกราคม 2568)  สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA) ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย กรุงเทพมหานคร หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และ Happening mag จัดพิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพกลางแปลง” ครั้งที่ 3 ภายใต้งาน Colorful Bangkok 2024 โดยนายแพทย์ สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วย นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  รองศาสตราจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี  ยุคล ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ด้านภาพยนตร์ ละคร ซีรีย์ สารคดี และแอนิเมชั่น นางสาวลิปิการ์  กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม คุณชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย คุณมิณราญาพร  สำนองคำ ผู้อำนวยการเทศกาลกรุงเทพกลางแปลง และผู้แทนคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ทุกสาขา เข้าร่วมงาน ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ช่วงพิธีเปิดงาน คุณชูเกียรติ  ศักดิ์วีระกุล นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงาน จากนั้น รองศาสตราจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงการสนับสนุนพื้นที่จัดกิจกรรม นายประสพ  เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ และนายแพทย์สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ (ประธานในพิธี) กล่าวเปิดงาน

จากนั้นรับชม โชว์พิเศษจากภาพยนตร์” สัปเหร่อ” โดย ปรีชา  ปัดภัย พูดคุยกับทีมภาพยนตร์สัปเหร่อ ฉายภาพยนตร์สั้น “พิธีโล้ชิงช้า” โดย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ฉายภาพยนตร์ “สัปเหร่อ” และคอนเสิร์ตจาก Whal & Dolph การจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพกลางแปลง” ครั้งที่ 3 ในครั้งนี้เกิดขึ้นจาก ความร่วมมือ

ของหลายภาคส่วน ที่เล็งเห็นถึง ความสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ไม่เพียงแต่จะเป็นเครื่องมือในการ ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและเรื่องราวของประเทศไทยสู่สายตาชาวโลกแล้ว ยังเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ ประเทศอีกด้วย สำหรับกิจกรรมการชมภาพยนตร์กลางแปลง เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิม ที่เคยปฏิบัติมาก่อนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เป็นรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ แบบหนึ่งของคนในชุมชนเป็นทั้งเครื่องมือที่ให้ความบันเทิงและเครื่องมือในการควบคุมแนวคิดและการปฏิบัติของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการฉายภาพยนตร์กลางแปลงก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง เนื่องจากการขยายตัวของโรงฉายภาพยนตร์ที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า การเข้ามาของเทคโนโลยีของการฉายวีดิทัศน์ภายในครัวเรือนที่พักอาศัย และการขยายตัวของสตรีมมิ่งต่าง ๆ ส่งผลให้วัฒนธรรมการดูภาพยนตร์กลางแปลงเริ่มเลือนหายไป จากสังคมไทย และเพื่อเป็นการรื้อฟื้นภาพจำในอดีต จึงได้เกิดความร่วมมือในการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ “กรุงเทพกลางแปลง” ในครั้งนี้ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้ฟรี  ไม่มีค่าใช้จ่าย

กรุงเทพกลางแปลง เริ่มวันที่ 4 มกราคม จัดถึงวันที่ 19 มกราคม 2568 (ทุกวันเสาร์ อาทิตย์) กิจกรรมเริ่ม เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ฉายภาพยนตร์ 19.00 น. ต่อด้วยคอนเสิร์ตจากศิลปินมากมาย ตารางการฉายภาพยนตร์ อาทิ ลานคนเมืองฉายหนังกลางแปลง มีดังนี้ วันที่ 4 มกราคม สัปเหร่อ  วันที่ 5 มกราคม ทวิภพ (Director’s Cut) คลองผดุงกรุงเกษม  วันที่ 11 มกราคม Sea Sparkle วันที่ 12 มกราคม RedLife อาคารบันเทิง (สวนลุมพินี) วันที่ 18 มกราคม ดอยบอย วันที่ 19 มกราคม ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง และในแต่ละวันจะมีหนังสั้น และดนตรีจากศิลปินมากมาย ให้ชมอีกด้วย ผู้สนใจสามารถติดตามตารางฉายหนังยาว หนังสั้น และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ได้ที่เพจ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย https://www.facebook.com/thaifilmdirectorpage

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of รสวรรณภัทชก์ หงษ์สุวรรณ์

รสวรรณภัทชก์ หงษ์สุวรรณ์

ด้วยใจรักและผูกพันในการทำหน้าที่สื่อมวลชนหลากหลาย ทั้งสื่อรัฐและเอกชนมายาวนาน มุ่งมั่นสร้างสรรค์สาระสำคัญอันเป็นประโยชน์ นำเสนอข่าวที่มีคุณค่า ถูกต้อง รวดเร็วทันใจ เชื่อถือได้ “KIND BUT FIRM”