ราชบุรี ในวันนี้( 6 ธ.ค. 62 ) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าที่สวนปัญอิสรภาพ ซึ่งตั้งหมู่ที่ 8 ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ได้เกิดโรคระบาดปากเท้าเปื่อยวัว ควาย ที่เลี้ยงไว้ล้มป่วยกว่า 350 ตัว และได้ตายไปแล้ว 9 ตัว จึงเดินทางไปตรวจสอบ
พบนางสาวภัคจิรา หัตถกิจจำเริญ อายุ 52 ปี เจ้าของสวนปัญอิสรภาพ ก็เล่าให้ฟังว่า ได้เลี้ยงวัวและควายทั้งหมด 700 ตัวที่ได้รับการไถ่ชีวิตมาจากโรคฆ่าสัตว์ แยกการเลี้ยงดูแลเป็น 2 จุดใหญ่ ขณะนี้ล้มป่วยโรคปากเท้าเปื่อยในจุดที่ 2 ประมาณ 350 ตัว เหลือเพียง 5 ตัวเท่านั้นที่ยังไม่ติดโรค ได้ให้คนงานคัดแยก วัว ควาย ที่ล้มป่วยมารักษา เพื่อลดการแพร่ระบาด มีบางตัวอาการสาหัส ไม่ค่อยกินอาหาร ที่ปากเริ่มเน่า บริเวณกีบเท้าเริ่มมีหนอน เดินลำบาก ลุกเดินไม่สะดวก ที่ป่วยอาการสาหัสประมาณ 30 ตัว ได้แยกออกมารักษาพยาบาลอีกส่วนเพื่อรักษาทายา ฉีดยา ให้น้ำเกลือ รักษาตามอาการ โดยอาหารที่กินได้ตอนนี้จะให้กินกล้วยน้ำว้า เนื่องจากเจ็บปากไม่สามารถกินหญ้าหรือฟางแห้งได้ การเลี้ยงดูแลปล่อยเลี้ยงเป็นฝูงทำให้การแพร่ระบาดโรคเกิดเร็วมาก หลังจากทราบว่าติดโรคปากเท้าเปื่อยจึงรีบนำมาพักเลี้ยงสร้างเป็นที่พยาบาลชั่วคราวไว้อีกจุดหนึ่งทันที ทำให้ตอนนี้ วัว ควาย ป่วยตายไปแล้ว 9 ตัว ทางเจ้าหน้าที่ห้ามเคลื่อนย้าย จึงจำเป็นต้องให้ตัวที่ป่วยอยู่ที่เดิม
ทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ก็เข้ามาช่วยดูแล และนำยามาให้จำนวน 3 ลัง พร้อมให้คำแนะนำการดูแลรักษา นอกจากนี้ยังมาช่วยฉีดยาให้แก่สัตว์ที่ป่วยประมาณ 2 วัน ส่วนที่เหลือก็ต้องช่วยกันจับฉีดยารักษากันไป แต่ด้วยจำนวนการป่วยที่มีมาก ทำให้ขณะนี้มีปัญหาคือ เรื่องค่ายารักษาโรคที่จำเป็นต้องใช้จำนวนมาก วันหนึ่งต้องใช้ยาพ่น ยาฉีด เกี่ยวกับการรักษากีบ รักษาปาก ค่ายาที่ต้องใช้จ่ายประมาณวันละ 30,000 – 40,000 บาท หลังป่วยโรคดังกล่าวได้ซื้อยาค่ารักษมากว่า 20 วัน ไม่รู้จะทำอย่างไรดีแล้ว
สำหรับสัตว์ที่เลี้ยงดูแลทุกวันนี้เป็นสัตว์ที่ไปไถ่ชีวิตมาจากโรงฆ่าสัตว์ต่างๆ ทั่วประเทศ จนคลอดลูกออกมาก็เลี้ยงดูแลกันจนเติบโต แต่พอมีประกาศเรื่องโรคระบาดนั้น ได้หยุดการนำเข้ามาที่นี่ทันที แต่จะไปไถ่ชีวิตและฝากไว้ตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อฝากเลี้ยงไปก่อนที่จะมาที่นี่ ส่วนสาเหตุไม่ได้เกิดจากควายที่นำเข้ามาเพราะเว้นระยะห่างถึง 2 เดือน โดยโรคนี้เกิดจากการสัมผัสจากคนไปสัมผัสสัตว์ป่วย ทำให้โรคดังกล่าวลุกลามแพร่ขยายวงกว้างไปอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตด้วยอาการช็อก อาการแทรกซ้อนร่วมด้วย ไม่สามารถรักษาโรคนี้ได้นอกจากประคองอาการและไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นมา ส่วนใหญ่ควายที่ตายจะมีอายุน้อยไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงอยากได้ยารักษาโรคปากเท้าเปื่อยเพื่อเอามารักษาให้แก่สัตว์ที่กำลังป่วย นอกจากนี้ยังมียาสีม่วง ปูนขาว เกลือ กล้วยน้ำว้า ไว้ให้สัตว์ได้กินแทนอาหารอื่นเพราะปากมีอาการเน่า กินได้แค่กล้วยน้ำว้า เมื่อกินกล้วยแล้วก็จะใช้น้ำเกลือกลั้วปาก และนำยาสีม่วงไปทาบริเวณปาก คอ กีบเท้าเพื่อรักษาตามอาการ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง แม่ค้าร้านดังถูกหลอก อ้างเป็นเลขานายกฯสั่งข้าวกล่องช่วยน้ำท่วมสูญเงิน 3 พัน
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
สำหรับสวนปัญอิสรภาพนี้จะมีผู้ใจบุญคอยอุปถัมภ์อยู่ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ทำให้บางท่านไม่ค่อยได้ทำบุญทุกเดือนซึ่งก็เข้าใจปัญหาดี ซึ่งที่นี่เป็นที่เดียวที่เราไปไถ่ชีวิตมาแล้วก็จะนำมาเลี้ยงดู แม้จะประสบปัญหาโรคภัยต่างๆ ก็จะอยู่ดูแลเคียงข้างกันไปจนถึงที่สุด
หากผู้ใจบุญมีจิตศรัทธาอยากจะช่วยเหลือสัตว์ที่ป่วย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 096-9659265 หรือ บริจาคได้ที่ นางสาวภัคจิรา หัตถกิจจำเริญ ธนาคารกรุงเทพฯ สาขา ถนนศรีสุริยวงศ์ เลขที่ 530-0-48161-0 ธนาคารกรุงไทย สาขา ตลาดศรีเมืองราชบุรี เลขที่ 984-5-83304-7 พร้อมเพย์ 0969659265
ด้านนายสมพงษ์ พึ่งแย้ม ปศุสัตว์อำเภอปากท่อ ได้มีหนังสือประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มีข้อความว่าในท้องที่ ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ มีโค ป่วยด้วยโรคระบาด ชนิดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งโรคนี้เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่แพร่ระบาดในโค กระบือ แพะ แกะ สุกร จึงอาศัยอำนาจในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกาศให้หมู่ 9 ต.ทุ่งหลวง อ.ปากท่อ เป็นเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 22 ธันวาคม ห้ามมิให้มิให้ผู้ใดเคลื่อนย้าย โค กระบือ แพะ แกะ สุกร เข้า ออก หรือผ่านภายในเขตนั้น เมื่อพบเห็นสัตว์ดังกล่าวตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือป่วยด้วยอาการคล้ายคลึงกันในระยะห่างกันไม่เกิน 7 วัน ให้เจ้าของแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีสัตว์ป่วยตายให้เจ้าของควบคุมซากนั้นให้อยู่ ณ ที่สัตว์ตาย และห้ามมิให้เคลื่อนย้าย ชำแหละ หรือกระทำอื่นใดกับซากสัตว์นั้น โดยเจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของสัตวแพทย์ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตามทางเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอปากท่อ จ.ราชบุรี ได้ตั้งจุดสกัดด้วยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคปากเท้าเปื่อยกับยวดยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ผ่านเข้าออกบริเวณถนน ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 500 เมตร เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อไม่ให้แพร่กระจายออกไปยังพื้นที่อื่น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: