ราชบุรี ในวันนี้( 18 ธ.ค. 62) ที่ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานแถลงผลงานการดำเนินการงานวิจัยที่บูรณาการพัฒนาปัจจัยการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดหวานบ้านคา โดยมี ผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช รักษาราชการแทนอธิการบดี ผศ.ดร.ชฎาพร โพคัยสวรรค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาและคณะอาจารย์ นักวิจัยร่วมเวที ร่วมให้การต้อนรับ
สำหรับภายในงานได้มีการนำผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จ มาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ศึกษา ทั้งหมด 7 เรื่อง คือ การขยายสายพันธุ์สัปปะรด การบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มคุณภาพ สูตรปุ๋ยที่เพิ่มความหวานให้สับปะรด การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดระยะเวลาการปลูก การจัดการหน่อพันธุ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เว็บแอพลิเคชั่นสำหรับวางแผนการผลิตและการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดราชบุรีสู่การเป็น smart farmer และแอพลิเคชั่นวัดความหวานผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สับปะรดหยี Energy Gel จากสับปะรด สบู่ ยาสีฟัน อีกด้วย ต่อมา ดร.พุทธพร พุ่มโรจน์ อาจารย์สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ได้นำคณะทีมพี่เลี้ยงจากหน่วยงาน สกสว. ลงพื้นที่ไปยังไร่แสนชมพู หมู่ 10 ต.บ้านคา เพื่อดูแปลงสาธิตสับปะรดที่เกี่ยวกับโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่ทำในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ตำบลบ้านคา ที่เกิดจากการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื้อ ,รูปแบบการจัดการน้ำ ที่เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดในแปลงตนเอง และการนำส่วนที่เหลือของสับปะรดมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้
ด้านนายระดม แสนชมพู ประธานกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กล่าวว่า ทางสถาบันราชภัฏจอมบึงส่งบุคลากรลงมา ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่โชคดี เพราะแปลงใหญ่ของเรารวมเกษตรกรแล้ว 40 กว่าราย พื้นที่300กว่าไร่ จะมีทั้งเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ยกตัวอย่างง่ายๆกรณีที่มาวิจัยกันตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นการขยายพันธุ์สับปะรด หรือการเอาส่วนเหลือจากสับปะรดมาทำอาหารสัตว์ หรือการให้ระบบน้ำ อาจจะคิดว่าระบบน้ำใครก็ให้ได้ แต่ตรงกันข้าม ผอ. ส่งลูกศิษย์ท่านมา ส่งลูกน้องมา การให้น้ำแบบประหยัดจะเห็นได้ทุกวันเลยว่า น้ำ เป็นสิ่งสำคัญ ตรงนี้อาจารย์ได้มาทำการทดลอง ส่วนการขยายพันธุ์ MD2 สัปปะรดพันธุ์ใหม่ ตรงนี้นักวิชาการบอกว่าบางครั้ง เราจะต้องนำพันธุ์ใหม่ๆเข้ามาในแปลงกันบ้าง โดยเฉพาะรสชาติและความต้องการของตลาด เพราะพันธุ์นี้สามารถเก็บไว้ได้นาน หรือบางครั้งบางปีที่ทุกคนทราบดีว่า3ปีครั้งแพง 3ปีครั้งถูก ทางราชภัฏก็นำนวัตกรรมใหม่ๆคือ เอาส่วนที่เหลือของสัปปะรดลูกเน่า ลูกเสีย มาทำเป็นอาหารสัตว์ ตรงนี้ก็ได้ประโยชน์ขึ้นมาอีกเยอะ ดังนั้นเป็นสิ่งที่ดีมากที่ เกษตรกรชาวบ้านคาโดยเฉพาะกลุ่มสัปปะรดแปลงใหญ่ของบ้านคา ที่ได้รับความสนับสนุนเอื้อเฟื้อจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง ทางเราชาวเกษตรกรอยากจะขอบคุณทางสถาบันและฝากทางสถาบันให้พัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: