เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 22 มิ.ย. 61 นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอเมืองราชบุรี พร้อมกับ พ.ต.อ.อภิชาต พุทธบุญ ผกก.สภ.เมืองราชบุรี และนายจำนง จันทรวงศ์ ปลัดอำเภอเมืองราชบุรี ได้เข้าตรวจสอบที่บริเวณบริษัท มิราเคิล เลเธอร์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 159 หมู่ 9 ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงกับโรงงานว่า ไม่ทราบว่าเป็นโรงงานผลิตอะไร ถึงได้ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ประกอบกับมีแรงงานต่างด้าวซึ่งไม่ทราบว่าถูกกฎหมายหรือไม่จำนวนมาก ซึ่งผลการตรวจสอบพบแรงงานต่างด้าวจำนวนมากกำลังทำงานภายในโรงงาน จึงได้เข้าควบคุมตัวไว้ แต่มีบางส่วนหลบหนีไปได้ และสามารถควบคุมตัวมาสอบสวนจำนวน 43 คน แบ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมาร์ จำนวน 32 คน แรงงานชาวจีนอีก 11 คน ซึ่งแรงงานชาวจีนนั้นอ้างว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาดูกระบวนการทำงานของบริษัท เพื่อจะนำไปปรับใช้กับระบบอุตสาหกรรมในประเทศของตนเอง แต่ทางเจ้าหน้าที่นั้นไม่เชื่อ เนื่องจากพบว่ากำลังทำงานร่วมกับแรงงานชาวเมียนมาร์ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีเอกสารใดๆมาแสดงว่าเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
- กู้ภัยเร่งช่วยชีวิตหนุ่มขับรถกระบะตกคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ
- พาณิชย์ จ.สมุทรปราการ จัดงาน 'ปากน้ำโกอินเตอร์'ให้ชาว จ.ระยอง ชิมช้อปอย่างจุใจ
- หนุ่มควบจยย อัดเหล็กกั้นโค้งร่างกระเด็นถูกเหล็กกั้นโค้งบาดไส้ไหล
นอกจากนี้ยังเข้าตรวจสอบภายในโรงงานก็พบว่าโรงงานแห่งนี้มีการนำขยะพลาสติกที่มีส่วนประกอบของอุปกรณ์ อิเลคทรอนิคซึ่งมีทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พลาสติก และแผงไฟ ที่มีการคัดแยกแล้วและเตรียมคัดแยก ที่กองไว้และที่บรรจุในถุงบิ๊กแบ๊ครวมแล้วมากกว่าหนึ่งพันตัน โดยบางส่วนถูกนำมาบดอัดและทำเป็นเม็ดพลาสติกบางแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เชิญนายอารยะ เนตรวงษ์ หัวหน้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ราชบุรี ให้มาร่วมตรวจสอบ
โดยนายอารยะ ก็บอกว่าเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.61 ที่ผ่านมาได้เข้ามาทำการตรวจสอบที่โรงงานแห่งนี้แล้ว ซึ่งขอจดทะเบียน เมื่อ 22 ส.ค.59 เจ้าของชื่อนายวิโรจวัฒน์ ชื้อเจริญกุล เดิมเคยมีการขออนุญาตประกอบกิจการฟอกหนัง ทำหนังเทียม และมีการคัดแยกขยะ แต่ช่วงตรวจสอบก็พบว่ามีการนำขยะอิเลคทรอนิค เช่นพลาสติก มาทำการรีไซเคิล ซึ่งมีความผิดตามพรบ.โรงงาน ซึ่งประกอบกิจการผิดประเภท และจะต้องทำการตรวจสอบเรื่องของการนำเข้ามาว่าถูกต้องหรือไม่ และมีจำนวนเท่าไหร่ นอกจากนี้ได้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการไปแล้ว แต่มาวันนี้พบว่ายังมีการทำงานอยู่ ก็จะต้องดำเนินคดีต่อไปอีกเพราะฝ่าฝืนคำสั่ง ส่วนขยะพลาสติกที่พบนั้นกำลังให้ทางเจ้าของโรงงานนำเอกสารมาแสดงด้วย ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่พบใบอนุญาตในการนำขยะอิเลคทรอนิคเข้ามา และประกอบกิจการในส่วนของการบดอัดเม็ดพลาสติกโดยไม่ได้รับอนุญาติ จึงจะต้องแจ้งดำเนินคดีเพิ่มขึ้นไปอีก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: