ราชบุรี เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 25 ก.พ. 63 นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุขบวนรถไฟขบวนขนส่งสินค้าชนกับขบวนรถด่วนที่ 37 กรุงเทพฯ- สุไหงโกลก ที่บริเวณสถานีรถไฟปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย พร้อมสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวันเกิดเหตุ เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อสรุปสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวให้ชัดเจน มีการสอบถามพนักงานห้ามล้อรถไฟของขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37 กรุงเทพฯ – สุไหงโกลก ถึงวันเกิดเหตุอย่างละเอียด โดยพนักงานคนดังกล่าวได้ให้ข้อมูลว่าขบวนรถมีทั้งหมด 14 ตู้ มีตู้โดยสาร 9 ตู้ ส่วนอีก 5 ตู้เป็นตู้เสบียงสัมภาระ และตู้ทำการ วันเกิดเหตุนั่งทำงานอยู่รอรับเวร 2 อยู่ที่ตู้พนักงานอยู่ตู้ที่ 4 ส่วนผู้บาดเจ็บเป็นคนขับขบวนรถบรรทุกสินค้าที่วิ่งเข้ามา บาดเจ็บที่ข้อมือนอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล
ด้านนายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยขณะตรวจเยี่ยมจุดเกิดเหตุว่า การรถไฟฯ จะมีระเบียบอยู่ ถ้าปฏิบัติตามระเบียบจะลดอุบัติเหตุได้เยอะ เหตุการณ์ตรงนี้ไม่อยากให้เกิดซ้ำ ทางด้านปฏิบัติการไม่ว่าทางหน่วยปฏิบัติการเดินรถ ได้มีการสั่งการ และเนื่องจากการทำทางคู่ ซึ่งจำเป็นต้องทำเพื่อขยายเส้นทางให้วิ่งเร็วขึ้นจากทางใต้สู่กรุงเทพฯ จะทำเป็นช่วงๆ ในช่วงที่ทำจะมีการรื้อย้ายโครงข่ายบางโครงข่าย เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ เดิมมีระบบไฟสี พอทำทางคู่แล้ว ก็จะต้องย้ายสายออกตัดระบบไฟฟ้าออก ทำให้ไฟฟ้าจะใช้การไม่ได้ จึงจะต้องใช้ประแจไฟฟ้าไปใช้กับระบบไฟสีไม่ได้ ต้องใช้กับระบบแมนนวลแบบเดิม อย่างที่รู้กันทางการรถไฟ ฯเมื่อ 2541 ถูกจำกัดเรื่องคน จนถึงปัจจุบันนี้ ปี 63 แล้ว คนขาดอยู่มีผลพวงทำให้ประสิทธิภาพเราด้อยลง คนประจำสถานีมีไม่พอ พอระบบรื้อย้ายออกไปจึงต้องใช้คนเพิ่ม เดิมมีแค่นายสถานีและคนคุมประแจที่กลับประแจ พอวันนี้ที่กลับประแจจะกลับอยู่ที่สถานี แต่พอวันนี้ยกเลิกระบบมันต้องเอาคนคุมประแจไปที่ประแจด้านเหนือ หรือ ด้านใต้ แต่มีคนทำงานแค่คนเดียว ซึ่งถ้าจะให้วิ่งคงไม่ไหวด้วยระยะทางไกล ทางบริษัทจึงได้ส่งคนมาและมีการอบรม เพื่อให้เข้าใจระบบรถไฟและให้ไปทำงานอยู่คนละด้านทางเหนือและด้านใต้ คิดว่าตรงนี้อาจจะเป็นจุดอ่อนส่วนหนึ่งที่จะต้องมาทำความเข้าใจ ซึ่งคนนอกเวลาเข้ามาทำงานดูแลของคนรถไฟจะต้องเข้าใจร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะนายสถานีเป็นคนควบคุมต้องรับผิดชอบในการสั่งการ และคนที่เป็นคนของบริษัทที่มาช่วยดูแลอีกด้านของสถานีนั้น ก็จะต้องเคลียร์เรื่องการสั่งการให้ชัดเจน
ส่วนสาเหตุเป็นการสับรางเพราะชนกันในทางหลีก ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการ จะมีรายงานเบื้องต้นแบบฟอร์มเขตอันตราย และจะมีคณะกรรมการส่วนกลางมาสอบสวน และกรมขนส่งทางรางดูแลความปลอดภัยมาดูแล ส่วนโทษแล้วแต่เหตุการณ์ที่เกิด อย่างกรณีนี้ถือว่าโชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนหนึ่งเป็นพนักงานรถไฟที่บาดเจ็บและได้ไปเยี่ยมมาแล้ว
ขณะที่พนักงานที่สับรางตอนนี้ยังหาตัวไม่เจอ จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าเหตุการณ์เกิดอย่างไร เพราะคนที่ทำหน้าที่นั้นไม่รู้อยู่ที่ไหนตามที่เจ้าของพื้นที่รายงานมาให้ทราบ การรถไฟฯจะมีระเบียบอยู่ว่าถ้าเกิดเหตุแต่ละครั้งจะมีระเบียบชัดเจนว่าจะขนถ่ายผู้โดยสารไปปลายทางอย่างไร ใช้เวลากี่ชั่วโมง กรณีการคืนตั๋วถ้าผู้โดยสารไม่ประสงค์จะเดินทางต่อไปสามารถคืนตั๋วได้ทุกสถานี ส่วนกรณีนี้การรถไฟ ฯ รับผิดชอบออกค่ารักษาพยาบาล ค่าขนถ่ายผู้โดยสาร ส่วนค่าเสียหายนั้นอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดอยู่ เพราะตอนนี้ยังเคลียร์ไม่เสร็จ เมื่อรู้ว่าดำเนินการเสร็จวันไหนจึงจะทราบผลความเสียหายได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอโทษที่เปลี่ยนใจ นายกไก่หวั่นผิดคำพูดเคยลั่นหาก “ฉายแสง” ลงแข่งจะไม่ขอสู้
- ชาวสวิตฯ ร่ำไห้ ถูกแก๊งค์วัยรุ่นเจ้าถิ่น ทุบรถ รุมสกรัมยับ คาดปมจอดรถขวาง
- ส่อเค้าขั้วการเมืองเดือด อดีตกำนันควงปืนขู่ผู้ใหญ่บ้านหนีกระเจิงโร่แจ้งตำรวจ
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ ประกาศผลเลือกตั้ง "อัครเดช"รั้งแชมป์สมัย 7 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ปชช.สงสัยผู้ใช้สิทธิกับบัตรลงคะแนน เลขเขย่งถามสาเหตุ
ด้านมาตรการจะต้องเน้นไปที่คน เนื่องจากว่าวันนี้ พอมีเรื่องระบบไฟสี ระบบอาณัติสัญญาณที่ดี อุบัติเหตุก็น้อยลง แต่พอยกเลิกระบบกลับมาใช้ระบบแมนนวล ก็จะต้องให้ความระมัดระวังที่คนทำงาน ส่วนกรณีวันนั้นคนที่อยู่ในเหตุการณ์เป็นลูกจ้างของบริษัทที่มาดูแลให้ยังไม่ได้สอบถามรายละเอียดที่เกิดขึ้น ถ้าระบบเดิมดีอยู่แล้วก็จะไม่มีปัญหา แต่ขณะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายระบบเป็นทางคู่ จึงต้องระวังคนเพราะระบบที่ดีอยู่แล้วถูกหยุดไปชั่วคราว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: