ราชบุรี ในวันนี้( 12 เม.ย. 63 ) นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ซึ่งมีฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามชื่อ “ ประกอบฟาร์ม ” ตั้งอยู่เลขที่ 81/1 หมู่ 6 ต.ดอนใหญ่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี มีบ่อเลี้ยงกุ้งอยู่จำนวน 40 บ่อ เนื้อที่ 300 ไร่ มีการเลี้ยงกุ้งตัวผู้ล้วนหลายรุ่นหมุนเวียนสลับกันไป ลักษณะกุ้งจะตัวใหญ่เนื้อแน่น ช่วงที่ผ่านมาเคยส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยพื้นที่ราชบุรีถือเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งใหญ่ที่สุดในประเทศ สร้างรายได้มหาศาลให้แก่เกษตรกร แต่หลังจากเกิดสถานการณ์เชื้อโควิด -19 แพร่ระบาดหนักไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยถูกสั่งปิดการค้าการจำหน่ายสินค้าระหว่างประเทศสิ้นเชิง รวมทั้งร้านค้า ร้านอาหารทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ โรงแรมต่าง ๆ ทำให้ขณะนี้กุ้งที่เกษตรกรเลี้ยงไว้กำลังอยู่ในช่วงโตเต็มวัย ไม่สามารถส่งออกไปจำหน่ายได้ หากเกินกำหนดการเลี้ยงและยังคงปล่อยให้อยู่ในบ่อกุ้งก็จะกินกันเอง สร้างความเสียหายทำให้เกษตรกรขาดทุนทั่วประเทศ
โดยนายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายสมาคมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย เปิดเผยว่า พื้นที่ อ.บางแพ ประสบปัญหามากเรื่องการตลาดนำกุ้งออกไปขาย เนื่องจาก อ.บางแพมีพื้นที่เลี้ยงกุ้งเกือบ 2 หมื่นไร่ ผลผลิตที่ตกค้างอยู่ตอนนี้ไม่น่าต่ำกว่า 500 ตัน เกษตรกรกำลังประสบปัญหาลำบากมาก กรณีกุ้งถึงอายุที่ต้องจับส่งขายตลาด แต่กลับนำไปขายไม่ได้ นำไปขายตลาด บางแห่งไม่รับซื้อ หลายคนพยายามขายทางตลาดออนไลน์ แต่ก็มีปัญหาไม่ค่อยมีความรู้ คิดว่าหลังจากนี้ไปอาจจะมีเกษตรกรเหลืออยู่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 90 เปอร์เซ็นต์อาจสูญหายจากไป เนื่องจากมีเรื่องเงินทุนต่าง ๆ เช่น การใช้เงินจ่ายค่ากระแสไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงานลูกน้อง ค่าอาหาร และอื่น ๆ ทั้งที่มีกุ้งเลี้ยงอยู่ในบ่อแต่ขายไม่ได้ พอกุ้งก้ามกรามได้อายุครบ 4 เดือนแล้วไม่จับขายออก ก็จะเกิดปัญหากุ้งกินกันเองภายในบ่อ สุดท้ายก็จะเกิดปัญหาขาดทุน
จึงอยากวิงวอนผู้ที่มีอำนาจหรือผู้ที่เกี่ยวข้องประสานช่วยเหลือ อย่างบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด จะมีประจำอยู่ทุกจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดคอยดูแล แต่ละจังหวัดจะมีของดีประจำอยู่ซึ่งก็เหมือนกับกุ้งราชบุรี แต่ละที่ก็ไม่รู้ว่าจะไปพบเจอกันอย่างไรเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคของดีกัน ซึ่งหากนำบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด มารวมกันทุกจังหวัดและแลกเปลี่ยนสินค้าของดีซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรทั่วประเทศ อีกทั้งหากทางกระทรวงพาณิชย์รับหน้าที่เป็นกลไกในการช่วยเหลือครั้งนี้สามารถประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ คาดว่าเกษตรกรก็จะสามารถระบายสินค้าได้อย่างแน่นอน อย่างพื้นที่ภาคกลางตอนนี้มีกุ้งตกค้างไม่ต่ำกว่า 3,000 ตัน อีกทั้งค่ากระแสไฟฟ้าภาครัฐก็ไม่ได้ช่วยเหลือ เพราะว่ามีการขึ้นต้นด้วยเลข 3 เป็นเกษตรกรที่เป็นระดับกลางไม่มีการช่วยเหลืออะไรเลย หากสำนักงานพาณิชย์ช่วยประสานแต่ละจังหวัดของบริษัทประชารัฐแล้วให้ทางบริษัทประชารัฐเป็นผู้นำ พร้อมให้ส่วนราชการเป็นหน่วยงานเสริม คิดว่าจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ทั้งประเทศ
สำหรับราคากุ้งตอนนี้มีเกษตรกรหลายรายนำไปขายที่บริเวณแพมหาชัย จ.สมุทรสาครกันมาก กลายเป็นต้นทางที่จะต้องลดราคาขายลง มีเกษตรกรบางคนบอกว่าจะต้องเดินหน้าต่อไป คำนวนต้นทุนแล้วอย่างของที่ฟาร์มตนเองนั้น ไซซ์ 11-13 ตัว/กก. ขายอยู่ราคา 330 บาท แต่ลองส่งทางเดลิเวอร์รี่แล้วจะโดนค่าขนส่งราคา 100 บาท ทำให้ราคาปกติขณะนี้ต่อกิโลกรัมลดลงไปประมาณ 150 บาท ซึ่งไม่มีใครอยู่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้มีการขายคืนทุนกลับเข้ามาบ้าง และสามารถเลี้ยงกุ้งต่อไปอีกได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
สำหรับผู้ที่สนใจกุ้งสามารถติดต่อได้ที่ นางศิริวรรณ ทรัพย์ยอดแก้ว โทร 081- 7024769 หรือ ID line 032-29517
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: