ราชบุรี ในวันนี้(22 มิ.ย. 65) ที่ศูนย์กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน หมู่ที่ 6 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกษตรกรเพาะเห็ดหูหนูในหมู่บ้านเชิงสะพานได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อกว่า 15 ปี ที่ผ่านมา ได้มีนางกัญจนา ภัทรวนาคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสหกรณ์ พร้อมด้วยนายสุรินทร์ วทัญญู ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทีมงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายวีระ จันทร์ทอง สหกรณ์จังหวัดราชบุรี และ นายสละ นิ่มนวล ประธานคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน ให้การต้อนรับ นางอรพินท์ สพโชคชัย อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ และผู้แทนสำนักงาน ป.ย.ป. ซึ่งได้ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพื่อตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยทางกลุ่มได้นำเสนอผลงานเรื่อง “เห็ดหูหนู กู้วิกฤตแก้จน ชุมชนบ้านเชิงสะพาน” พร้อมทั้งรับชม VTR เรื่อง “เห็ดหูหนู กู้วิกฤตแก้จน ชุมชนบ้านเชิงสะพาน” นำเสนอผลงานโดยนายอภิชัย โพธิ์บัณฑิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ และนายบุญนำ มีชาลือ เหรัญญิก กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ดบ้านเชิงสะพาน พร้อมตอบข้อซักถามของคณะผู้ตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ หลังจากนั้น ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจกรรมและกรอบแนวทางนำเสนอในการรับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ จุดที่ 1 ณ บริเวณที่ทำการกลุ่มเกษตรกรฯ อาคารบรรจุและกระบวนการผลิตก้อนเห็ด โรงอบก้อนเห็ด และที่เก็บก้อนเห็ด พร้อมเยี่ยมชมกิจกรรม จุดที่ 2 ณ โรงเห็ดของสมาชิก โดยคณะผู้ตรวจประเมินได้ทำการเก็บเห็ด จากฟาร์มเห็ดอีกด้วย ในการดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
ภายหลังจากการดูผลงานเรื่อง เห็ดหูหนู กู้วิกฤตแก้จน ชุมชนบ้านเชิงสะพาน แล้วนางอรพินท์ สพโชคชัย อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับ ได้กล่าวว่า ดีใจที่ชาวชุมชนบ้านเชิงสะพานมีอาชีพที่มั่นคง สามารถปลูกเห็ดที่คุณภาพได้ และยังสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในชุมชนได้ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนมีงานทำ โดยเฉพาะสำหรับที่ไม่มีพื้นที่ในการทำโรงเรือนก็ยังสามารถรับจ้างทำเห็ด ทั้งการบรรจุใส่ถุง การกรีดก้อนเห็ด และการเก็บเห็ด ส่วนคนที่มีพื้นที่พอมีเงินก็สามารถสร้างโรงเรือนเพาะได้ ทำให้มีรายได้เพิ่ม ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีโอกาสในการที่จะฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาความยากจนได้ นอกจากทางกลุ่มจะสามารถนำเห็ดสดไปขายแล้ว ในอนาคตก็อยากจะให้ทางกลุ่มได้หาแนวทางในการแปรรูปเห็ดในรูปของอาหารต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องพึ่งนักวิจัยทางด้านอาหาร ในการที่จะเข้ามาดูว่าเห็ดนั้นจะสามารถนำไปแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร ส่วนอาหารที่ทางกลุ่มนำเห็ดมาแปรรูปบ้างแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ และมีรสชาติอร่อยที่ยังไม่เคยได้ชิมที่ไหนมาก่อน ซึ่งมีทั้งลาบเห็ดหูหนู แหนมเห็ดหูหนู ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่เพราะคนไทยนั้นเก่งในเรื่องของการดัดแปลงอาหาร
ข่าวน่าสนใจ:
- จัดกิจกรรม โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน พื้นที่ อ.คลองหาด
- "ตรังโมเดล" โกโก้สร้างรายได้ให้เกษตรกร กิโลกรัมละ 8 บาท ภาคเกษตร-เอกชนร่วมมือเปิดจุดรับซื้อ 11 แห่ง
- โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เพื่อเกษตรกรพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการบริการทางวิชาการและได้รับการแก้ปัญหาด้านการเกษตรอย่างครบวงจร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: