X

ชาวเพชรบุรีมาทวงถามคดีนักการเมืองท้องถิ่นขุดดินในป่าสงวนออกมา ที่อัยการภาค 7

ราชบุรี   ในวันนี้ ( 8 ก.ย.65 ) ได้มีชาวบ้านในหมู่ 5 บ้านห้วยตาแกะ   ต.ท่าแลง  อ.ท่ายาง  จ.เพชรบุรี  กว่า 30 คน ซึ่งนำโดย นายจีรศักดิ์  เทศเกิด  ได้เดินทางมาที่สำนักงานอัยการภาค 7  จ.ราชบุรี  เพื่อสอบถามความคืบหน้าของคดีที่พนักงานสอบสวนส ภ.ท่ายาง  จ.เพชรบุรี  ได้ส่งสำนวนการสอบสวนในคดี ที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้  จ.เพชรบุรี  ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนักการเมืองท้องถิ่นที่เข้าไปขุดดิน ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ยางหัก – เขาปุ้ม  หมู่ 5  ต.ท่าแลง  อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี  ออกมา   และสำนวนการสอบสวนทั้งหมดถูกส่งมาให้ อธิบดีอัยการภาค 7  ได้เป็นผู้สั่งฟ้อง  โดยเหตุเกิดเมื่อ  23 มี.ค.64  ที่ผ่านมา

        โดยนายจีรศักดิ์  เทศเกิด   ตัวแทนชาวบ้านห้วยตาแกะ  ก็บอกว่า  ที่เดินทางมาวันนี้ก็เพื่อมาติดตามทวงถามความคืบหน้าในเรื่องที่นักการเมืองท้องถิ่นลักลอบขุดดินในป่าสงวนแห่งชาติ  ซึ่งมีการส่งเรื่องมาทางอธิบดีอัยการภาค 7  หลายเดือนแล้ว  ว่าทางอัยการมีการสั่งฟ้องผู้กระทำความผิดหรือยัง  หรือติดขัดในเรื่องใด  เนื่องจากเห็นว่าเวลานั้นผ่านมานานแล้ว   ซึ่งในชั้นสอบสวนนั้นชาวบ้านได้มาเป็นพยานและมาให้พนักงานสอบสวนของสภ.ท่ายาง  ได้ทำการสอบปากคำไปแล้วหลายปาก รวมทั้งมีหลักฐานภาพถ่ายในที่เกิดเหตุ  และบันทึกการตรวจสอบ  ตรวจยึดพื้นที่  ซึ่งมีหน่วยงานที่เข้าไปร่วมตรวจสอบได้ลงชื่อไว้ทุกหน่วยงาน แล้ว  หลังสอบเสร็จได้นำสำนวนมาส่งที่อัยการจ.เพชรบุรี ผ่านมาหลายเดือนเรื่องยังอยู่ชั้นอัยการ  จึงสงสัยว่าสุดท้ายเรื่องนี้จะมีการสั่งฟ้องหรือไม่  จนล่าสุดได้ไปถามที่อัยการ จ.เพชรบุรีว่าเรื่องนี้สุดท้ายจะสั่งฟ้องหรือไม่ ทางอัยการบอกว่า  ผู้ต้องหาได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมมาที่อธิบดีอัยการภาค 7 และอัยการจ.เพชรบุรีไม่มีอำนาจสั่งฟ้องได้    ส่วนในพื้นที่ก็พบว่ามีการติดป้ายสถานที่ส่วนบุคคลห้ามเข้า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้  มีนักการเมืองท้องถิ่นออกมาขัดขวางด้วย ตนได้ถามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่าทำแบบนี้ผิดไหม  เจ้าหน้าที่ป่าไม้บอกว่าผิดเต็มๆแต่เมื่อส่งสำนวนไปที่อัยการ ทำไมอัยการถึงยังนิ่งอยู่ เคยมีการไปร้องเรียนต่อนายกเทศบาลตำบลท่าแลง มีการให้เจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบพื้นที่และมีการติดป้ายให้หยุดการขุดตัก  สุดท้ายก็มีการแจ้งความดำเนินคดีกัน และเรื่องก็เงียบชาวบ้านยังถูกแจ้งความกลับด้วย ซึ่งเรายังร้องไปที่อัยการสูงสุด ไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ที่ทำเนียบรัฐบาล ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   รวมถึงยื่นพยานหลักฐาน ไปให้กรรมาธิการที่รัฐสภา มีการรับเรื่องพร้อมส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ สุดท้ายก็เงียบอีก ในมุมมองของชาวบ้านมันมีอิทธิพลที่มาคอยปิดกั้นอยู่หรือไม่ สิ่งที่พึ่งพาได้ตอนนี้คือ สื่อมวลชน เพราะมั่นใจว่าสื่อจะสามารถตีแผ่ความจริงให้ประชาชนได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้  ถ้านักการเมืองท้องถิ่นสามารถบุกรุกป่าสงวนได้โดยไม่ผิดกฎหมายก็ขอให้ชาวบ้านได้ไปทำประโยชน์บ้างใช้มาตรฐานเดียวกัน

    ตอนนี้ชาวบ้านโดนแจ้งข้อหาบุกรุกพื้นที่ ตอนนั้นตนเองไปพร้อมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตำรวจ รวมถึงชาวบ้าน  แต่ตนโดนข้อหาบุกรุก ข้อหาหมิ่นประมาท ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ คนเดียว ทุกคดีที่โดนตอนนี้เรื่องไปถึงศาลหมดแล้ว และจะขึ้นศาลวันที่ 13-14 ก.ย.นี้  คดีส่วนของชาวบ้านนั้นรวดเร็วมาก

           จากนั้นทางสำนักงานอัยการ ภาค 7 ได้ให้นายจีรศักดิ์  เทศเกิด ตัวแทนชาวบ้านเข้าไปพูดคุยสอบถามรายละเอียดที่เกี่ยวข้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงจึงเดินทางกลับออกมา พร้อมกล่าวว่า สรุปว่าอัยการไม่สั่งฟ้อง เนื่องจากทางผู้ต้องหาอ้างว่าได้ตักเพื่อทำการเกษตรและเอาดินมากองไว้ในพื้นที่ มีประจักษ์พยาน ทำให้อัยการเชื่อว่าเขาขุดเพื่อการเกษตรไม่ได้เอาไปขาย ส่วนที่ตนเองแย้งไปว่ามีชาวบ้านซื้อดินจากคนตักดินไป  ทางอัยการบอกว่ายังไม่ได้มีการพิสูจน์หลักฐานจากกองธรณีวิทยา แต่ในดินที่กองไว้เขาให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบว่าเป็นดินที่มาจากป่าสงวน  แต่ดินที่ชาวบ้านซื้อยังไม่ได้มีการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นถ้าเราตรวจสอบได้ว่าดินที่ชาวบ้านซื้อและจ่ายเงินให้เป็นดินที่มาจากป่าสงวนฯ สามารถนำหลักฐานตรงนี้ไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ภาค 7 ให้มีความเห็นแย้งไปที่อัยการ แล้วทำเรื่องไปที่อัยการสูงสุดให้สั่งฟ้องคดีนี้ได้ คดียังไม่จบซึ่งเท่ากับว่าชาวบ้านต้องไปตรวจสอบดิน จากป่าสงวนกับดินที่เอามาขายให้กับชาวบ้านมันเป็นดินตัวเดียวกันหรือไม่  ที่สำคัญมันลึกไปถึงการออกใบอนุญาต ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่ได้ออกใบอนุญาต แต่เป็นมติ ครม. ที่ออกมา ซึ่งยังไม่มีหนังสือ เป็นเพียงแค่คำร้องขอ ก่อนหน้านั้นว่าขอทำการเกษตร ผมสงสัยเจ้าหน้าที่ที่อนุมัติสิทธิทำประโยชน์ให้นายทุนซึ่งมีอาชีพค้าขายดิน ทำเกษตรตรงไหน  และยังเป็นนักการเมืองเป็นถึงรองนายก ทำไมถึงได้สิทธิถือครองที่ดินถึง 40 ไร่ แต่ชาวบ้านปกติ ไม่สามารถไปถือครองที่ดินแบบนั้นได้  ซึ่งหลักเกณฑ์ในการที่เจ้าหน้าที่อนุมัติหรือออกใบอนุญาตนั้น ใช้หลักเกณฑ์ตรงไหน จะได้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่วนเรื่องของ ครม.ยังงงว่าทุกเรื่องที่ชาวบ้านต้องติดตามเอง ดูเหมือนว่าน้ำหนักของชาวบ้านทำให้อัยการไม่เชื่อมากไปกว่าน้ำหนักฝั่งผู้ต้องหา และยังสงสัยสำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สอบพยานต่าง ๆ นั้นเวลาส่งสำนวนตรงกันหรือไม่ เพราะชาวบ้านไม่เคยเห็นว่าสำนวนที่ทำมาเป็นแบบไหน สรุปว่าวันนี้อัยการสั่งไม่ฟ้อง  และให้เราไปตามเรื่องที่ตำรวจภูธรภาค 7 หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ ต้องตรวจสอบดินที่ถมแล้วว่ามาจากป่าสงวนแห่งชาติ    สรุปว่าป่าไม้เป็นโจทก์ ส่วนคนที่หาหลักฐานต่าง ๆ เป็นชาวบ้าน เพราะป่าไม้มีการออกใบอนุญาต โดยเป็นป่าไม้คนเก่า ไม่ใช่คนปัจจุบันที่แจ้งดำเนินคดี คนเก่าทำไว้ พอคนใหม่มาก็ไม่รู้เรื่อง ตนเองยืนยันจะเรียกร้องความยุติธรรม และจะปกป้องผลประโยชน์ของแผ่นดิน และจะเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ เอาความจริงมายืนยันจนกว่าจะได้คนผิดมาลงโทษ

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สายชล โอชะขจร

สายชล โอชะขจร

ผู้สื่อข่าวราชบุรี