ราชบุรี จากกรณี น.ส.กิ๊ป ต้นน้ำเพชร อายุ 44 ปี ชาวบ้าน บ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นของพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน ได้เดินทางจากหมู่บ้านบางกลอย เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2566 เพื่อเข้ารับการรักษาอาการโรคไข้เลือดออก ที่โรงพยาบาลแก่งกระจาน แต่เนื่องด้วยความยากลำบากและระยะทางที่ห่างไกล ต้องใช้เวลา นานกว่า 3 ชั่วโมง จึงมาถึงโรงพยาบาลแก่งกระจาน แต่เมื่อมาถึง โรงพยาบาลแก่งกระจาน เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลแก่งกระจาน ได้เพียงแค่จ่ายยาแก้ปวด และให้กลับมาอีกครั้งในวันเวลาราชการ ซึ่งต่อมา น.ส.กิ๊ป ได้เดินทางมาตรวจรักษาอีกครั้ง ที่โรงพยาบาลแก่งกระจาน ในวันที่ 22 พ.ค. 2566 แต่มีอาการทรุดหนัก จนท้ายที่สุด ได้มีการส่งตัว ไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบุรีและเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ทำให้ในวันนี้ ( 14 มิ.ย.66) นายเกรียงไกร ชีช่วง ผู้ประสานงานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้ปรึกษาหารือกับนางอุบลวรรณ ความสว่าง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนราชบุรี มาตรา 50 (5) กรณีที่ น.ส.กิ๊ป ต้นน้ำเพชร แกนนำนักต่อสู้ด้านสิทธิชุมชนชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ซึ่งได้เข้ารับการรักษาโรคไข้เลือดออกที่หน่วยบริการสุขภาพแล้วเสียชีวิต โดยทางเครือข่ายฯได้รับทราบสถานการณ์จากครอบครัว สามี บุตร และญาติพี่น้องรวมไปถึงภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่ห่วงใยและกังวลต่อกรณีนี้ ด้วย น.ส.กิ๊ป ต้นน้ำเพชรเป็นทั้งแกนนำ และเป็นหลักของครอบครัวในการดูแลลูกๆ อีก 7 คน ที่ยังอยู่ในวัยเยาว์
ทางเครือข่ายจึงได้ประสานลงพื้นที่ติดตามข้อมูล และยื่นเรื่องผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 5 ราชบุรี โดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน และผู้อำนวยการกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับฟังการสะท้อนปัญหาของพื้นที่ชุมชนชาติพันธุ์ ที่มีสถานการณ์ที่เปราะบางหลายมิติ โดยเฉพาะประเด็นสุขภาพ ที่ยังมีหลายกรณีที่ต้องหาแนวทางร่วมกันแก้ไข ไม่ให้เกิดกรณีที่อ่อนไหวเช่นกรณีล่าสุด
การยื่นเรื่องขอรับการช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 จากสาเหตุการเสียชีวิตจากการใช้บริการที่หน่วยบริการนั้น ทางผู้แทนของครอบครัว คือ น.ส.จันทร ต้นน้ำเพชร (บุตรคนโต)ได้ยื่นเรื่องผ่านทางเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นายเกรียงไกร ชีช่วง ได้ประสานนำเอกสารไปส่งต่อหน่วยงานตามขั้นตอนต่อไป โดยอาศัยอำนาจ แลกเปลี่ยนปัญหาเป็นไปอย่างเข้าใจเพื่อมีแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีก ตามเจตนารมณ์ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ต้องให้ความสำคัญต่อทุกคน ทุกกลุ่มเครือข่ายประชากรเฉพาะ 9 ประเด็น
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: