X

เกษตรกรเลี้ยงกุ้งราชบุรีเฮ หลังกุ้งได้รับมาตรฐาน GI

ราชบุรี  หลังจากที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) เรื่อง กุ้งก้ามกรามบางแพราชบุรี  ลำดับที่ 5 ของ จ.ราชบุรีต่อจากสินค้ามะพร้าวน้ำหอมราชบุรี สับประรดบ้านคา  โอ่งมังกรราชบุรี และไชโป๊วโพธาราม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น

            ในวันนี้( 29 มิ.ย. 66 )ผู้สื่อข่าวได้ไปพูดคุยกับนายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ก็เปิดเผยว่า ถือเป็นข่าวดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทุกคนว่าตอนนี้กุ้งก้ามกรามได้รับการรับรอง GI เป็นข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้กับเกษตรกรว่ากุ้งก้ามกรามที่ราชบุรีมีรสชาติอร่อย สีสวย  โตเร็ว เนื้อแน่น มีคุณภาพดี พิสูจน์ได้ทางเชิงวิทยาศาสตร์ ทำให้ขายกุ้งได้ดีขึ้น ในต่างประเทศคิดว่าเป็นที่ต้องการที่อยากได้ของดี ให้เกษตรกรทุกคนเตรียมไปจดแจ้งการขึ้นทะเบียนกับประมงจังหวัดราชบุรีด้วย

             นอกจากนี้นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย ยังกล่าวถึง ความรู้สึกเรื่องกุ้งราชบุรี สามารถกลายเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อ.บางแพ  ซึ่งเดิมมีการเลี้ยงอยู่แล้วแต่ไม่เคยหยิบมาใช้ และไม่รู้ว่าจะใช้ได้อย่างไร รู้อย่างเดียวว่ากุ้งที่นี่เวลาขายได้ราคาที่แพงมากกว่าที่อื่นในไซร์ที่เท่ากันประมาณกิโลกรัมละ 15 – 20 บาท รู้เพียงเท่านั้น แต่พอมารู้ว่ามีเรื่องของ GI เป็นเรื่องของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทำให้รู้ว่าพื้นที่เลี้ยงไม่เหมือนที่อื่น เพราะว่าพื้นที่มีน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์  เมื่อก่อนประมาณ 30-40 ปี ชาวบ้านปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่า ทำกินอะไรไม่ได้ บางที่พอปลูกข้าวเลื่อนลอยเอาไว้เลี้ยงสัตว์ พอถึงปีน้ำจะท่วมที่ดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นท้องกระทะ จากสภาพพื้นที่ท้องกระทะทำให้เก็บสะสมแร่ธาตุต่างๆ หน้าดิน ตะกอนดินเอาไว้ พอมาเลี้ยงกุ้งแล้วปรากฎว่าแร่ธาตุที่อยู่ในดินเกิดเป็นผลดีต่อกุ้งก้ามกราม ผลผลิตต่อสัตว์น้ำทำให้สีสวย โตเร็ว รสชาติดี  ประกอบสายพันธุ์และเทคนิคการเลี้ยงของเราเข้าไปด้วยทำให้หลายอย่างสมบูรณ์ดีขึ้น มีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง

           ส่วนคุณภาพการผลิตนั้นทางกรมประมงได้จัดการดูเทคนิคการเลี้ยงทั้งหมดของเกษตรกรทั่วประเทศ ที่ผ่านมาตนเองได้ถอดบทเรียนคือเรื่อง การเลี้ยงกุ้งของตนเองให้เป็นเกษตรกรต้นแบบของประเทศ   จึงจะเอาบทเรียนนี้ไปเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรพร้อมตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อให้เป็นต้นแบบให้เกษตรกรอื่นๆได้ทำวัตถุดิบที่ออกมาจะได้ออกมาจะได้รวมตัวกันเพื่อการส่งออก และนำเรื่องของกุ้ง GI ให้เป็นที่ประจักษ์ว่ากุ้งของเรามีการเลี้ยงที่ดี พันธุ์ดี น้ำดีและพื้นที่ดีด้วย มองว่าน่าจะมีทิศทางที่ดีกว่าเดิมมากขึ้น  ตอนนี้พื้นที่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี  มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนอยู่กว่า 1,000 ราย เนื้อที่เกือบ 20,000 ไร่ เป็นพื้นที่มีการเลี้ยงกุ้งมากที่สุดของประเทศไทย  โดยเฉพาะพื้นที่ อ.บางแพ เป็นพื้นที่ท้องกระทะ แทบจะทั้งหมด ยืนยันว่าการเลี้ยงกุ้งทั้งหมดไม่ได้ใช้สารตกค้าง  โดยที่กรมประมงมาตรวจการผลิต วัตถุดิบต่างๆ ไม่มีสารตกค้าง

ส่วนเรื่อง GI มองว่าเกษตรกรได้รับประโยชน์มาก เนื่องจากกุ้งของเราพิสูจน์ทางอัตลักษณ์ได้ และได้รับการรับรองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา คิดว่าเป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภค  ตอนนี้ยังมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขนส่งด้วย คือ การขนส่งกุ้งเป็นโดยไม่ใช้น้ำในระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง  กุ้งไม่ตายไม่เกิดความเสียหายเฉพาะในประเทศ แต่หากไปในต่างประเทศจะต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง โดยการขนส่งทางเครื่องบิน  เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน  จีนตอนล่าง สามารถขนส่งได้  อีกอย่างคือการฟีชโดยไม่ทำลายเซล  ฟีชเป็นน้ำแข็งแล้วเอาออกมาจากที่ฟีชแล้วนำแช่น้ำ เพื่อให้น้ำแข็งละลายก็ยังทำให้กุ้งยังสดอยู่

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สายชล โอชะขจร

สายชล โอชะขจร

ผู้สื่อข่าวราชบุรี